๑๓. วิโมกขสูตร
โดย บ้านธัมมะ  2 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 39630

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 606

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

จาลวรรคที่ ๒

๑๓. วิโมกขสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 606

๑๓. วิโมกขสูตร

[๑๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๘ ประการนี้ ๘ ประการ เป็นไฉน คือ บุคคลผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ ประการนี้ ๑ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ในภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๒ คนที่น้อมใจว่า งาม นี้เป็น วิโมกข์ประการที่ ๓ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ได้ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุ อากาสานัญจายตนะ โดยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด นี้เป็น วิโมกข์ประการที่ ๔ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดย ประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนะ โดยมนสิการว่า วิญญาณ ไม่มีที่สุด นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๕ เพราะล่วงวิญญาสัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญาตนะ โดยมนสิการว่า ไม่มีอะไรหน่อยหนึ่ง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๖ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๗ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ นี้เป็นวิโมกข์ประการ ที่ ๘ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๘ ประการนี้แล.

จบ วิโมกขสูตรที่ ๑๓


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 607

อรรถกถาวิโมกขสูตรที่ ๖

วิโมกขสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า วิโมกฺขา ความว่า ชื่อว่าวิโมกข์เพราะสภาวะอะไร เพราะสภาวะที่พ้นยิ่ง. ก็คือว่า สภาวะที่พ้นยิ่ง นี้คืออะไร? คือ สภาวะที่พ้นยิ่ง ด้วยดีจากธรรมอันเป็นข้าศึก และสภาวะที่พ้นยิ่ง ด้วยดี จากอำนาจความยินดียิ่งในอารมณ์. ท่านอธิบายไว้ว่า ความ เป็นไปในอารมณ์ เพราะสภาวะที่ปราศจากความระแวงสงสัย โดย ความไม่ยึดมั่น เหมือนทารกนอนปล่อยตัวบนตักบิดา ฉะนั้น. แต่ ความหมายนี้ ไม่มีในวิโมกข์หลัง มีในวิโมกข์ก่อนทั้งหมด.

ในบทว่า รูปี รูปนานิ ปสฺสติ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- รูปคือ รูปฌานที่ให้เกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจ นีลกสิณเป็นต้น ในอารมณ์ ทั้งหลายมีผมเป็นต้นในภายใน รูปฌานนั้นมีแก่ภิกษุนั้น เหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่ารูปี ผู้มีรูปฌาน. บทว่า พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ความว่า ภิกษุผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป มีนิลกสิณเป็นต้น แม้ที่มี ในภายนอกด้วยฌานจักษุ ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง รูปาวจรฌานทั้ง ๔ ของบุคคลผู้ให้ฌานเกิดในกสิณทั้งหลาย อัน มีที่ตั้งทั้งภายในและภายนอก. บทว่า อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺี ความว่า ผู้ไม่กำหนดรูปในภายใน อธิบายว่า ไม่ให้รูปาวจรฌานเกิดขึ้น ในอารมณ์มีผมเป็นต้นของตน. ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง แสดงรูปาวจรฌานของบุคคลผู้กระทำบริกรรมในภายนอกแล้ว ให้ฌานเกิดขึ้นในภายนอกนั่นเอง. ด้วยคำว่า สุภนฺเตว อธิมุตฺโต โหติ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 608

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงฌานในวรรณกสิณมีนีลกสิณเป็นต้น อันบริสุทธิ์ด้วยดี. ในคำว่า สุภนฺเตว "งาม" ความผูกใจว่า "งาม" ย่อมไม่มีในภายในอัปปนาก็จริง ถึงอย่างนั้น ภิกษุใดกระทำสุภกสิณ ที่บริสุทธิ์ดีให้เป็นอารมณ์อยู่ เพราะเหตุที่ภิกษุนั้นจะต้องถูกท่าน พูดว่าเป็นผู้น้อมใจไปว่า "งาม" ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงทำ เทศนาไว้อย่างนั้น

แต่ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะ เป็นผู้น้อมใจไปว่างามนั้นอย่างไร? ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุ ในศาสนานี้ มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง ฯลฯ อยู่. เพราะความที่ตนเป็นผู้เจริญเมตตา สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ไม่ น่าเกลียด. มีจิตสหรคตกับกรุณา มุทิตา และอุเบกขา แผ่ไป ตลอดทิศหนึ่ง ฯลฯ อยู่. เพราะความที่ตนเจริญ (กรุณา มุทิตาและ) อุเบกขา สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ไม่น่าเกลียด. ท่านเป็นผู้ชื่อว่าน้อมใจ ไปว่า งาม ด้วยอาการอย่างนี้

คำใดที่จะพึงกล่าวในคำว่า สพฺพโส รูปสญฺานํ ดังนี้เป็นต้น คำนั้นทั้งหมดได้กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นแล. บทว่า อยํ อฏฺโม วิโมกฺโข ความว่า นี้ ชื่อว่าเป็นวิโมกข์ที่ ๘ เพราะสละ คือ เพราะปล่อยขันธ์ทั้ง โดยประการทั้งปวง.

จบ อรรถกถาวิโมกขสูตรที่ ๖