[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 251
ตติยปัณณาสก์
อันธกวินทวรรคที่ ๒
๒. ปัจฉาสมณสูตร
ว่าด้วยธรรมของผู้ควร และไม่ควรเป็นปัจฉาสมณะ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 251
๒. ปัจฉาสมณสูตร
ว่าด้วยธรรมของผู้ควร และไม่ควรเป็นปัจฉาสมณะ
[๑๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ไม่ควรพาไปเป็นปัจฉาสมณะ [ผู้ติดตาม] ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะย่อมเดินไปห่างนัก หรือใกล้นัก ๑ ย่อมไม่รับบาตร ที่ควรรับ ๑ ย่อมไม่ห้ามเมื่อพูดใกล้อาบัติ ๑ ย่อมพูดสอดขึ้นเมื่อกำลังพูดอยู่ ๑ เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่ เขลา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ไม่ควรพาไปเป็นปัจฉาสมณะ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 252
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ จึงควรพาไปเป็นปัจฉาสมณะ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะ ย่อมเดินไปไม่ห่างนัก ไม่ใกล้นัก ๑ ย่อมรับบาตรที่ควรรับ ๑ ย่อมห้ามเมื่อพูดใกล้อาบัติ ๑ ย่อมไม่พูดสอดขึ้นเมื่อกำลังพูดอยู่ ๑ เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่ ไม่เขลา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ควรพาไปเป็นปัจฉาสมณะ.
จบปัจฉาสมณสูตรที่ ๒
อรรถกถาปัจฉาสมณสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในปัจฉาสมณสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปตฺตปริยาปนฺนํ น คณฺหาติ ความว่า เมื่ออุปัชฌาย์หันกลับมายืนอยู่ จะถวายบาตรเปล่าของตน แล้วรับบาตรของท่านก็หาไม่ หรือไม่รับถือบาตรอุปัชฌาย์. บทว่า น นิวาเรติ ความว่า ไม่รู้ว่า คำนี้เป็นคำล่วงอาบัติ ถึงรู้ ก็มิได้ห้ามว่า ท่านขอรับ ควรจะกล่าวคำอย่างนี้. บทว่า กถํ โอปาเตติ ความว่า ตัดคำของท่าน สอดคำของตน. บทว่า ชโฬ แปลว่า เป็นคนเขลา. บทว่า เอฬมูโค ได้แก่ เป็นใบ้น้ำลายไหล.
จบอรรถกถา ปัจฉาสมณสูตรที่ ๒