๖. เรื่องภิกษุชาวเมืองปาฐา [๕๐]
โดย บ้านธัมมะ  25 ก.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 34833

[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 192

๖. เรื่องภิกษุชาวเมืองปาฐา [๕๐]


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 41]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 192

๖. เรื่องภิกษุชาวเมืองปาฐา [๕๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ ๓๐ รูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "มุหุตฺตมปิ เจ วิญฺญู" เป็นต้น.

ภิกษุสมาทานธุดงค์

ความพิสดารว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมคราวแรกในชัฎแห่งป่าไร่ฝ้าย (กัปปาสิกวัน) แก่สหาย ๓๐ นั้น (ภัททวัคคิยกุมาร) ผู้แสวงหาหญิงอยู่ ในกาลนั้น สหายทั้งหมดเทียว ถึงความเป็นเอหิภิกขุ เป็นผู้ทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์ สมาทานธุดงค์ ๑๓ ประพฤติอยู่โดยล่วงไปแห่งกาลนาน เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแม้อีก ฟังอนมตัคค (๑) ธรรมเทศนา บรรลุพระอรหัตแล้ว ณ อาสนะนั้นนั่นเอง.

ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภาว่า "น่าอัศจรรย์หนอ ภิกษุเหล่านี้ รู้แจ้งธรรมพลันทีเดียว" พระศาสดา ทรงสดับกถานั้นแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ภิกษุเหล่านี้เป็นนักเลง เป็นสหายกันประมาณ ๓๐ คน ฟังธรรมเทศนาของสุกรชื่อ มหาตุณฑิละ ในตุณฑิลชาดก (๒) รู้แจ้งธรรมได้ฉับพลันทีเดียว สมาทานศีล ๕ แล้ว เพราะอุปนิสัยนั้นนั่นเอง เขาเหล่านั้น จึงบรรลุพระอรหัต ณ อาสนะที่ตนนั่งแล้วทีเดียวในกาลบัดนี้" ดังนี้แล้ว เมื่อ


(๑) สํ. นิทาน. ๑๖/๒๐๒. (อนมตคฺโค แปลว่า มีที่สุดเบื้องต้นอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้ คือสงสารมีเบื้องต้นเบื้องปลายกำหนดไม่ได้).

(๒) ขุ. ชา. ฉักก. ๒๗/๒๐๐. อรรถกถา. ๕/๗๘.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 193

จะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า.

๖. มุหุตฺตมปิ เจ วิญฺญู ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ ขิปฺปํ ธมฺมํ วิชานาติ ชิวฺหา สูปรสํ ยถา.

"ถ้าวิญญูชน เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิต แม้ครู่เดียว เขาย่อมรู้แจ้งธรรมได้ฉับพลัน เหมือนลิ้น รู้รสแกงฉะนั้น".

แก้อรรถ

พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า.

ถ้าวิญญูชน คือว่าบุรุษผู้บัณฑิต เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตอื่น แม้ครู่เดียว เขาเรียนอยู่ สอบสวนอยู่ ในสำนักบัณฑิตอื่นนั้น ชื่อว่าย่อมรู้แจ้งปริยัติธรรมโดยพลันทีเดียว แต่นั้น เขาให้บัณฑิตบอกกัมมัฏฐานแล้ว เพียรพยายามอยู่ในข้อปฏิบัติ เป็นบัณฑิต ย่อมรู้แจ้งแม้โลกุตรธรรมพลันทีเดียว เหมือนบุรุษผู้มีชิวหาประสาทอันโรคไม่กำจัดแล้ว พอวางอาหารลงที่ปลายลิ้นเพื่อจะรู้รส ย่อมรู้รส อันต่างด้วยรสเค็มเป็นต้นฉะนั้น.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเป็นอันมาก บรรลุพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุชาวเมืองปาฐา จบ.