จิต เป็น"ธาตุรู้" หรือ สภาพรู้ เพราะฉะนั้น เวลาที่จะ "รู้ลักษณะของจิต" ขณะนั้นไม่ใช่รู้ "ลักษณะของอารมณ์"
เมื่อจิตสามารถ รู้อารมณ์ได้ทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทาง ก็แล้วแต่ว่า ขณะนั้นจิตกำลังมีอะไรเป็นอารมณ์ แต่ว่า "สติสัมปชัญญะ" จะรู้ "ลักษณะของธาตุรู้" คือ จิตกำลังรู้สิ่งนั้น ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะไม่มี "อารมณ์" ปรากฏ แต่ว่าขณะนั้น ไม่ได้สนใจที่จะรู้ ในลักษณะของอารมณ์ (ของจิตเห็น ... ได้ยิน)
เพราะฉะนั้น ลักษณะของจิต จึงเป็น "ธาตุรู้" ซึ่งเป็นธาตุรู้ทาง "มโนทวาร" เท่านั้น ซึ่งขณะนั้น จะไม่มีสิ่งอื่นเจือปน. ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าจิตจะรู้อะไรก็ตาม ขณะไหนก็ตาม ผู้ที่สามารถจะ "ประจักษ์" ลักษณะของธาตุรู้ ย่อมสามารถที่จะเข้าถึง "ลักษณะของธาตุรู้" ซึ่งกำลังทำกิจนั้นๆ ได้.
บรรยายโดย อาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์
จากหนังสือ "ธรรมาภิสมัย" โดย "กลุ่มกอบัว"
เริ่มต้น จิตเป็นอกุศลก็รู้ว่าจิตเป็นอกุศล จิตเป็นกุศลก็รู้ว่าจิตเป็นกุศล และรู้ความต่างกันของขณะที่หลงลืมสติกับมีสติต่างกันอย่างไร
สติปัฏฐานระลึกรู้สภาพธัมมะที่เป็นจิตได้ ขณะนั้นรู้ลักษณะของจิตเท่านั้น แต่ไม่ได้รู้ลักษณะของ อารมณ์ของจิตนั้นเพราะ สติระลึกได้ทีละลักษณะ ขณะที่สติระลึกรู้สภาพธรรมที่เป็นจิต จิตเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน สติปัฏฐานมีอารมณ์เป็นปรมัตถธรรม
ขออนุโมทนา
ยังไม่เคยเกิด สติ ขั้นสติปัฏฐานเลยค่ะ อีกซักเมื่อไหร่ ... จึงจะเกิด
สติ ขั้นสติปัฏฐานเกิดเมื่อมีเหตุเพียงพอ คือ ความเข้าใจที่มั่นคง
"ความเข้าใจที่มั่นคง" เกิดจาก "สัญญาที่มั่นคง"
"สัญญาที่มั่นคง" เกิดจาก การฟังที่มั่นคง การฟังที่มั่นคงจะเป็นปัจจัยให้ปัญญาเจริญขึ้น ค่อยๆ สะสมความเข้าใจ
"ปรมัตถธรรม" เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความรู้ ความรู้ ความเข้าใจ
"ปรมัตถธรรม" เป็นปัจจัยให้ "สติปัฏฐาน" เกิด เพราะสติปัฏฐานมีปรมัตถธรรม เป็นอารมณ์
ขออนุโมทนา ครับ
สติปัฏฐานจะเกิดต่อเมื่อได้ฟังธรรมจนเข้าใจเป็นสัญญาความจำที่มั่นคงจรดเยื่อในกระดูกว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมะ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ค่ะ
จากความเห็นที่ ๔
การเจริญสติปัฏฐานขึ้นอยู่กับปัญญาที่สะสมต่างกันของแต่ละคน จะช้า หรือเร็วจะน้อยหรือบ่อย จะหลงลืมเมื่อไร จะระลึกรู้สภาพธรรมใดกำหนดกะเกณฑ์วันเวลาไม่ได้เลย ไม่เช่นนั้น ความเป็นตัวตนก็จะแทรกเข้ามาทันที คอยหลอกให้คิดว่าเป็นสติอยู่เสมอ ทั้งๆ ที่ไม่ใช่
ขั้นแรกอาจเกิดความคิดน้อมไป ตรึกไปในสภาพธรรมนั้นๆ ก่อน ที่สำคัญคือ ต้องเป็นผู้ตรงจริงๆ ไม่ควรบังคับสติ เพราะสภาพธรรมเป็นอนัตตา ถ้าสติไม่เกิด สิ่งที่เกิดก็ต้องเป็นไปในทางอกุศล ซึ่งเป็นสิ่งที่สติสามารถระลึกได้ พอสติเกิด ไม่ควรหลงไหลไปกับสภาพธรรมที่นานๆ ครั้ง สติจะเกิดระลึกขึ้นทางทวารใดทวารหนึ่ง เพราะธรรมะนั้นเกิดขึ้นให้ปัญญาได้ศึกษาเพื่อละซึ่งอกุศลทั้งปวง ครับ
ขออนุโมทนา
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ