[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 828
ทุติยปัณณาสก์
อานิสังสวรรคที่ ๕
๗. ปฐมอโนทิสสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์ ทําให้เกิดอนิจจสัญญา ๖ ประการ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 828
๗. ปฐมอโนทิสสูตรที่ ๑
ว่าด้วยอานิสงส์ ทำให้เกิดอนิจจสัญญา ๖ ประการ
[๓๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัด ในสังขารทั้งปวง แล้วยังอนิจจสัญญา ให้ปรากฏ อานิสงส์ ๖ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่า สังขารทั้งปวงจักปรากฏ โดยความเป็นของไม่มั่นคง ๑ ใจของเราจักไม่ยินดีในโลกทั้งปวง ๑ ใจของเราจักออกจากโลกทั้งปวง ๑ ใจของเราจักน้อมไปสู่นิพพาน ๑ สังโยชน์ทั้งหลายของเรา จักถึงการละได้ ๑ และเราจักเป็นผู้ประกอบด้วย สามัญธรรมชั้นเยี่ยม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณา เห็นอานิสงส์ ๖ ประการ นี้แล เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัด ในสังขารทั้งปวง แล้วยังอนิจจสัญญา ให้ปรากฏ.
จบปฐมอโนทิสสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 829
อรรถกถาปฐมอโนทิสสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในปฐมอโนทิสสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อโนธึ กริตฺวา ความว่า ไม่ทำให้มีขอบเขต คือ เขตแดน อย่างนี้ว่า สังขารมีประมาณเท่านี้แหละ ไม่เที่ยง นอกจากนี้ไป ไม่ใช่ไม่เที่ยง (คือเที่ยง). บทว่า อนวฏฺิตโต ความว่า เว้นจากฐานะ (เหตุที่เป็นไปได้) เพราะความเป็นของไม่มั่นคง อธิบายว่า จักเป็นสภาวธรรมแตกดับไป แล้ว จึงหยุด. บทว่า สพฺพโลเก ควานว่า ในโลกทั้งสิ้น ได้แก่ ในธาตุทั้ง ๓. บทว่า สามญฺเน ความว่า โดยความเป็นสมณะ อธิบายว่า ได้แก่ พระอริยมรรค.
จบอรรถกถา ปฐมอโนทิสูตรที่ ๗