[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 436
อรรถกถาสูตรที่ ๙
ประวัติพระกุมารกัสสปเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 32]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 436
อรรถกถาสูตรที่ ๙
ประวัติพระกุมารกัสสปเถระ
ในสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า จิตฺตกถิกานํ ได้แก่ ผู้กล่าวธรรมได้วิจิตร. จริงอยู่ พระเถระเมื่อจะกล่าวธรรมแก่คนคนเดียวก็ดี สองคนก็ดี ก็ประดับด้วยอุปมาและเหตุเป็นอันมากให้เขารู้ จึงกล่าวว่า เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงเป็นยอดของภิกษุสาวก ผู้กล่าวธรรมได้วิจิตร ปัญหากรรมของท่านมีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้.
แท้จริง ท่านพระกุมารกัสสปนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิในเรือนสกุล ในกรุงหงสวดี เจริญวัย กำลังฟังธรรมกถาของพระทศพล เห็นพระศาสดา ทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้กล่าวธรรมได้วิจิตร จึงกระทำกุศลกรรมให้ยิ่งยอดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ครั้งศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้าเสื่อมลง เป็นภิกษุรูปหนึ่งระหว่างภิกษุ ๗ รูป กระทำสมณธรรมบนยอดเขา มีศีลไม่เสื่อม จุติจากภพนั้นแล้ว บังเกิดในเทวโลก เสวยสมบัติอยู่พุทธันดรหนึ่ง ครั้งพระศาสดาของพวกเรา ก็เกิดในครรภ์ของหญิงสาวแห่งสกุลคนหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ ก็หญิงสาวแห่งสกุลนั้น อ้อนวอนบิดามารดาก่อนแต่ไม่ได้บรรพชา ครั้นไปอยู่เรือนแห่งสกุล (มีสามี) ก็ตั้งครรภ์ แต่ตัวเองไม่รู้ จึงบอกกล่าวสามี (ขอบรรพชา) สามีอนุญาตแล้ว ก็บรรพชา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 437
ในสำนักภิกษุณี. เหล่าภิกษุณีเห็นครรภ์นางเติบโตขึ้นมา จึงพากันไปถามพระเทวทัต. พระเทวทัตนั้นก็กล่าวว่า นางไม่เป็นสมณะ เหล่าภิกษุณีจึงพากันไปทูลถามพระทศพล. พระศาสดาก็ทรงมอบเรื่องให้พระอุบาลีเถระ. พระเถระให้เชิญเหล่าสกุลชาวกรุงสาวัตถี และนางวิสาขาอุบาสิกามาช่วยตรวจชำระ ก็กล่าวว่านางมีครรภ์มาก่อน (บวช) บรรพชาของนางจึงไม่เสีย. พระศาสดาได้ประทานสาธุการรับรองแก่พระเถระว่า อธิกรณ์อุบาลีวินิจฉัยชอบแล้ว. ภิกษุณีนั้นคลอดบุตรประพิมประพาย คล้ายรูปทองของพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงรับเด็กนั้น โปรดให้ชุบเลี้ยง พระราชทานนามว่า กัสสป ต่อมาทรงชุบเลี้ยงเติบโตแล้ว ก็พาไปฝากยังสำนักพระศาสดา โปรดให้บรรพชา. แต่เพราะท่านบวชเวลายังเป็นเด็กรุ่น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงเรียกกัสสปมา จงให้ผลไม้หรือของขบฉันอันนี้แก่กัสสป พวกภิกษุสงสัยก็ทูลถามว่า กัสสปองค์ไหน พระเจ้าข้า. ตรัสว่ากุมารกัสสป กัสสปองค์เด็กนะสิ. เพราะได้รับขนานนามอย่างนี้ ตั้งแต่นั้นมา ท่านก็ถูกเรียกว่า กุมารกัสสป แม้ในเวลาที่ท่านแก่เฒ่าแล้ว. อีกนัยหนึ่ง คนทั้งหลายจำหมายท่านว่า กุมารกัสสป เพราะเหตุที่เป็นบุตรชุบเลี้ยงของพระราชาก็มี. ตั้งแต่บวชแล้ว ท่านทำงานเจริญวิปัสสนา และเล่าเรียนพระพุทธวจนะ.
ครั้งนั้น ท่านมหาพรหม ผู้กระทำสมณธรรมบนยอดเขากับพระเถระนั้น บรรลุอนาคามิผล บังเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาสนั้น ระลึกถึงในสมัยนั้น เห็นพระกุมารกัสสป คิดว่า สหายของเรากำลังลำบาก ในการเจริญวิปัสสนา จำเราจักไปแสดงทางแห่ง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 438
วิปัสสนาแก่เธอ กระทำอุบายให้บรรลุมรรคผล ดังนี้แล้ว ดำรงอยู่ในพรหมโลก นั่นแล แต่งปัญหา ๑๕ ข้อ แล้วไปปรากฏ ในสถานที่อยู่ของพระกุมารกัสสปเถระ ต่อจากเวลาเที่ยงคืน พระเถระเห็นแสงสว่าง จึงถามว่า ใครอยู่ที่นั่น. มหาพรหมตอบว่า เราคือพรหม ผู้การทำสมณธรรมกับท่านมาแต่ก่อน บรรลุอนาคามิผลแล้วบังเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส พระเถระถามว่า ท่านมาด้วยการงานอะไรเล่า. มหาพรหมบอกปัญหาเหล่านั้น เพื่อแสดงเหตุที่ตนมา แล้วกล่าวว่า ท่านจงเล่าเรียนปัญหาเหล่านี้ เมื่ออรุณขึ้นก็จงเข้าไปเฝ้าพระตถาคต ถวายบังคมแล้วทูลถาม. ด้วยว่าเว้นพระตถาคตเสีย ผู้อื่นที่สามารถกล่าวแก้ปัญหาเหล่านี้ ไม่มีดอก แล้วก็กลับพรหมโลกตามเดิม. วันรุ่งขึ้น แม้พระเถระก็เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทูลถามปัญหา โดยทำนองที่มหาพรหมกล่าวไว้. พระศาสดาทรงตอบปัญหาให้พระกุมารกัสสปเถระ บรรลุพระอรหัต. พระเถระเล่าเรียนโดยทำนองที่พระศาสดาตรัสไว้ ไปป่าอันธวัน เจริญวิปัสสนาแก่กล้า (สำนวนท่านว่า ให้วิปัสสนาตั้งท้อง) ก็บรรลุพระอรหัต. ตั้งแต่นั้นมา ท่านเมื่อจะกล่าวธรรมกถาแก่บริษัท ๔ มากก็ดี ไม่มากก็ดี ประดับด้วยอุปมาและเหตุทั้งหลาย จึงกล่าวเสียอย่างวิจิตรทีเดียว. ครั้งนั้น เมื่อท่านแสดงสูตรประดับประดา ด้วยปัญหา ๑๕ ข้อ แก่พระยาปายาสิ พระศาสดาทรงทำพระสูตรนั้น ให้เป็นอัตถุปปัตติต้นเรื่อง จึงทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดเหล่าภิกษุสาวก ผู้กล่าวธรรมได้วิจิตรในพระศาสนา นี้แล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ ๙