ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความบางตอนจาก มงคลสูตร
พรรณนาคาถาว่าอเสวนาจ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสดับคำของเทพบุตรนั้น อย่างนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า อเสวนา จ พาลานํเป็นต้น. ในพระคาถานั้น บทว่า อเสวนา ได้แก่ การไม่คบ ไม่เข้าไปใกล้.
บทว่า พาลานํ ความว่า ชื่อว่าพาล เพราะเป็นอยู่ หายใจได้อธิบายว่า เป็นอยู่โดยเพียงหายใจเข้าหายใจออก ไม่เป็นอยู่โดยความเป็นอยู่ด้วยปัญญา. ซึ่งพาลเหล่านั้น. บทว่า ปณฺฑิตานํ ความว่า ชื่อว่าบัณฑิต เพราะดำเนินไป อธิบายว่า ดำเนินไปด้วยคติ คือความรู้ในประโยชน์ที่เป็นปัจจุบันและภายภาคหน้าซึ่งบัณฑิตเหล่านั้น. บทว่า เสวนาได้แก่ การคบ การเข้าใกล้ ความมีบัณฑิตนั้นเป็นสหาย มีบัณฑิตนั้น เป็นเพื่อน ความพรักพร้อมด้วยบัณฑิตนั้น. บทว่า ปูชาได้แก่ การสักการะ เคารพนับถือ กราบไหว้. บทว่า ปูชเนยฺยานํแปลว่า ผู้ควรบูชา.
[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 171
บทว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประมวลการไม่คบพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาผู้ที่ควรบูชา ๑ ทั้งหมดจึงตรัสว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตม. ท่านอธิบายว่า คำใดท่านถามว่า โปรดตรัสบอกมงคลอันอุดมเถิด ท่านจงถือคำนั้นว่า มงคลอันอุดม ในข้อนั้นก่อนนี้เป็นการพรรณนาบทแห่งคาถานี้.ส่วนการพรรณนาความแห่งบทนั้น พึงทราบดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสดับคำของเทพบุตรนั้นอย่างนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า อเสวนา จ พาลานํ เป็นต้น. ในคาถานั้น คาถามี ๔ คือ ปุจฉิตคาถาอปุจฉิตคาถาสานุสันธิกคาถาอนนุสันธิกคาถา.
บรรดาคาถาทั้ง ๔ นั้น คาถาที่ทรงถูกผู้ถามถามแล้ว จึงตรัสชื่อว่า ปุจฉิตคาถาได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ปุจฺฉามิตํโคตมภูริปญฺญกถํกโรสาวโกสาธุโหติท่านพระโคดม ผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินข้าพเจ้าขอถามท่าน สาวกทำอย่างไรจึงเป็นคนดี และประโยคว่า กถํนุตฺวํมาริสโอฆมตริท่านผู้นิรทุกข์ ท่านข้ามโอฆะอย่างไรเล่าหนอ.
คาถาที่พระองค์ไม่ได้ถูกถามแต่ตรัสโดยพระอัธยาศัยของพระองค์เองชื่อว่า อปุจฉิตคาถาได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ยํปเรสุขโตอาหุตทริยาอาหุทุกฺขโตคนอื่นๆ กล่าวสิ่งใดว่าเป็นสุข พระอริยะทั้งหลายกล่าวสิ่งนั้นว่าเป็นทุกข์. คาถาของพระพุทธะทั้งหลายแม้ทั้งหมด ชื่อว่า สานุสันธิกคาถาเพราะบาลีว่า สนิทานาหํภิกฺขเวธมฺมํเทเสสฺสามิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมมีนี้ท่านคือเหตุ ดังนี้. ที่ชื่อว่าอนสุสินธิคาถาคาถาไม่มีเหตุ ไม่มีในศาสนานี้ ก็บรรดาคาถาเหล่านี้ดังกล่าวมานี้ คาถามีชื่อว่า ปุจฉุตคาถาเพราะเป็นคาถาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกเทพบุตรทูลถามแล้วจึงตรัสตอบ. ก็คาถานี้ บอกคนที่ไม่ควรคบ ในคนที่ควรคบและไม่ควรคบ แล้วจึงบอกคนที่ควรคบ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ฉลาดรู้จักทาง รู้จักทั้งที่มิใช่ทาง ถูกถามถึงทาง จึงบอกทางที่ควรละเว้นเสียก่อนแล้ว ภายหลังจึงบอกทางที่ควรยึดถือไว้ว่า ในที่ตรงโน้นมีทางสองแพร่ง. ในทางสองแพร่งนั้น พวกท่านจงละเว้นทางซ้ายเสียแล้ว ยึดถือเอาทางขวาฉะนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นเสมือนบุรุษผู้ฉลาดในทางอย่างที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนติสสะคำว่าบุรุษผู้ฉลาดในทางนี้เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. จริงอยู่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นฉลาดรู้โลกนี้ฉลาดรู้โลกอื่นฉลาดรู้ถิ่นมัจจุฉลาดรู้ทั้งมิใช่ถิ่นมัจจุฉลาดรู้บ่วงมารฉลาดรู้ทั้งมิใช่บ่วงมาร. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสบอกถึงบุคคลที่ไม่ควรคบก่อน จึงตรัสว่า การไม่คบพาล การคบบัณฑิต ความจริงคนพาลทั้งหลายไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้เหมือนทางที่ควรละเว้น แต่นั้น ก็ควรคบ ควรเข้าใกล้แต่บัณฑิตเหมือนทางที่ควรยึดถือไว้. ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสมงคล จึงตรัสการไม่คบพาลและการคบบัณฑิตก่อน ขอชี้แจงดังนี้ เพราะเหตุที่พวกเทวดาและมนุษย์ยึดความเห็นว่ามงคลในสิ่งที่เห็นแล้วเป็นต้นนี้ ด้วยการคบพาล ทั้งการคบพาลนั้น ก็ไม่เป็นมงคล ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงติเตียนการสมคบกับคนที่มิใช่กัลยาณมิตร ซึ่งหักรานประโยชน์ทั้งโลกนี้และโลกหน้าและทรงสรรเสริญการสมาคมกับกัลยาณมิตร ซึ่งให้สำเร็จประโยชน์ในโลกทั้งสอง จึงตรัสการไม่คบพาลและการคบบัณฑิตก่อน แก่เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น.
สัตว์ทั้งหลายทุกประเภท ผู้ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถมีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า พาลในจำนวนพาลและบัณฑิตนั้น. พาลเหล่านั้น จะรู้ได้ก็ด้วยอาการทั้งสาม เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้.
พระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาลลักษณะของพาล ๓ เหล่านี้. อนึ่ง ครูทั้ง ๖ มีปูรณกัสสปเป็นต้น และสัตว์อื่นๆ เห็นปานนั้นเหล่านั้น คือ เทวทัตโกกาลิกะกฏโมทกะติสสขัณฑาเทวีบุตรสมุทททัตตะนางจิญจมาณวิกาเป็นต้น และพี่ชายของทีฆวิทะครั้งอดีตพึงทราบว่า พาล. พาลเหล่านั้น ย่อมยังตนเองและเหล่าคนที่ทำตามคำของตนให้พินาศด้วยทิฏฐิคตะความเห็นที่คนถือไว้ไม่ดี ดังเรือนที่ถูกไฟไหม้ เหมือนพี่ชายของทีฆวิทะ ล้มลงนอนหงาย ด้วยอัตภาพประมาณ ๖๐ โยชน์ หมกไหม้อยู่ในมหานรก อยู่ถึง พุทธันดร และเหมือนตระกูล ๕๐๐ ตระกูล ที่ชอบใจทิฏฐิความเห็นของพี่ชายของทีฆวิทะนั้น เข้าอยู่ร่วมเป็นสหายของพี่ชายของทีฆวิทะนั่นแหละ หมกไหม้อยู่ในมหานรกฉะนั้น. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายไฟลามจากเรือนไม้อ้อหรือเรือนหน้าย่อมไหม้แม้เรือนยอดซึ่งฉาบไว้ทั้ง ข้างนอก ข้างในกันลมได้ลงกลอนสนิทปิดหน้าต่างไว้เปรียบฉันใดดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยทุกชนิดย่อมเกิดเปรียบฉันนั้นเหมือนกันภัยเหล่านั้นทั้งหมดเกิดจากพาล ไม่เกิดจากบัณฑิต. อุปัทวะทุกอย่างย่อมเกิดฯลฯอุปสรรคทุกอย่างย่อมเกิดฯลฯ ไม่เกิดจากบัณฑิต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายดังนั้นแลพาลเป็นภัยบัณฑิตไม่เป็นภัย พาลอุบาทว์บัณฑิตไม่อุบาทว์พาลเป็นอุปสรรค บัณฑิตไม่เป็นอุปสรรคดังนี้.
อนึ่ง พาลเสมือนปลาเน่า ผู้คบพาลนั้น ก็เสมือนห่อด้วยใบไม้ที่ห่อปลาเน่า ย่อมประสบภาวะที่วิญญูชนทอดทิ้ง และรังเกียจ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ปูติมจฺฉํกุสคฺเคนโยนโรอุปนยฺติ กุสาปิปูตีวายนฺติเอวํพาลูปเสวนา. นรชนผู้ใดผูกปลาเน่าด้วยปลายหญ้าคาแม้หญ้าคาของของนรชนผู้นั้นก็มีกลิ่นเน่าฟุ้งไปด้วยการคบพาลก็เป็นอย่างนั้น.
อนึ่งเล่า เมื่อท้าวสักกะจอมทวยเทพประทานพร แก่กิตติบัณฑิต ก็กล่าวอย่างนี้ว่าพาลํนปสฺเสนสุเณนจพาเลนสํวเส พาเลนลฺลาปสลฺลาปํนกเรนจโรจเย. ไม่ควรพบพาลไม่ควรพึงไม่ควรอยู่ร่วมกับพาลไม่พึงทำการเจรจาปราศรัยกับพาลและไม่ควรชอบใจ.
ท้าวสักกะ ตรัสถามว่า กินฺนุเตอกรํพาโลวทกสฺสปการณํ เกนกสฺสปพาลสฺสทสฺสนํนาภิกงฺขสิ. ท่านกัสสปะทำไมหนอพาลจึงไม่เชื่อท่าน โปรดบอกเหตุมาสิเพราะเหตุไรท่านจึงไม่อยากเห็น พาลนะท่านกัสสปะ.
อกัตติบัณฑิตตอบ
อนยํนยติทุมฺเมโธอธุรายํนิยุญฺชติ ทุนฺนโยเสยฺยโสโหติสมฺมาวุตฺโตปกุปฺปติ วินยํโสนชานาติสาธุตสฺสอทสฺสนํ. คนปัญญาทรามย่อมแนะนำข้อที่ไม่ควรแนะนำ ย่อมประกอบคนไว้ในกิจที่มิใช่ธุระ การแนะนำเขาก็แสนยาก เพราะเขาถูกว่ากล่าวโดยดีก็โกรธ พาลนั้นไม่รู้จักวินัย การไม่เห็นเขาเสียได้ก็เป็นการดี. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงติเตียนการคบพาลโดยอาการทั้งปวงอย่างนี้ จึงตรัสว่าการไม่คบพาลเป็นมงคล
ถ้าพิจารณาโดยนัยปรมัตถธรรม ๔ ขณะใดที่จิตเป็น "อกุศล" ขณะนั้นชื่อว่าเป็น "คนพาล" ค่ะเพราะฉะนั้น ความเป็นคนพาลจึงไม่ใช่สิ่งที่น่ามีน่ายินดีน่าคบเลย ใช่มั้ยค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ