คำว่า ภิกษุพึงมีสติเว้นรอบ ความว่า ภิกษุพึงมีสติเว้นรอบ คือ
พึงมีสติเดิน พึงมีสติยืน พึงมีสตินั่ง พึงมีสตินอน พึงมีสติก้าวไปข้างหน้า
๑. ขุ. สุ. ๒๕/ข้อ ๓๖๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 37
พึงมีสติถอยกลับ พึงมีสติแลดู พึงมีสติเหลียวดู พึงมีสติคู้เข้า พึงมีสติ
เหยียดออก พึงมีสติทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร พึงมีสติเที่ยวไป พึง
มีสติอยู่ คือ เป็นไป เปลี่ยนแปลง รักษา บำรุง เยียวยา ให้เยียวยา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงมีสติเว้นรอบ.เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าภิกษุไม่พึงติดใจในกามทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัวฉลาดในธรรมทั้งปวง พึงมีสติเว้นรอบ.
[๙๙] พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค)
ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแล้วแก่เทวดาและมนุษย์หลายพัน
ผู้มีฉันทะร่วมกัน มีประโยคร่วมกัน มีความประสงค์ร่วมกัน มีความ
อบรมวาสนาร่วมกัน กับอชิตพราหมณ์นั้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา และจิตของอชิตพราหมณ์นั้น พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น หนังเสือ
ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้า ลักจั่น น้ำ ผม และหนวดของอชิตพราหมณ์
หายไปแล้ว พร้อมด้วยการบรรลุอรหัต. อชิตพราหมณ์นั้น เป็นภิกษุ
ครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร เพราะการปฏิบัติ
ตามประโยชน์ นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า ประกาศว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้า
พระองค์เป็นสาวก ดังนี้.
จบอชิตมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑
ขออนุโมทนา