สัมมาสติ มิจฉาสติ วิตกเจตสิก
โดย Nacha  16 ต.ค. 2556
หัวข้อหมายเลข 23866

สวัสดีค่ะอาจารย์และกัลยาณมิตรทั้งหลาย ขอเรียนถามดังนี้นะคะ

หากการอ่านและฟังพระธรรมเนืองๆ มีผลให้วิตกเจตสิกในทางกุศลเกิดเพิ่มขึ้น สิ่งนี้เป็นเหตุให้เกิดสัมมาสติบ่อยขึ้นด้วยใช่ไหมคะ ส่วนการอ่านและฟังสิ่งที่ตรงกันข้ามกับพระธรรมก็จะเพิ่มวิตกเจตสิกในทางนั้นเพิ่มขึ้นใช่ไหมคะ และเป็นเหตุให้เกิดมิจฉาสติด้วยหรือเปล่าคะ แล้วการที่มิจฉาสติเกิดบ่อยๆ เนืองๆ จะทำให้สัมมาสติเกิดยากขึ้นหรือเปล่าคะ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 16 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิตกเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่ตรึก นึกคิด หรือ จรดในสภาพธรรม ซึ่งการคิดนึกเป็นไปของแต่ละคน ก็ตามการสะสมมาของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน ซึ่ง อาศัยสัญญา ความจำในเรื่องอะไรมาก ก็คิดนึกในเรื่องนั้นมาก ซึ่งก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยของการสะสมมาอย่างนั้น เช่น ผู้ที่อยู่กับกิจการงานประเภทนี้ เช่น การขายข้าวแกง โดยมากก็จะตรึกนึกคิดในเรื่องนั้น ที่เป็นเมนูอาหาร กับข้าวต่างๆ ซึ่งผู้ที่ไม่ได้ทำอาชีพนี้ แต่ ทำอย่างอื่น ก็ไม่ได้คิดในเรื่อง ข้าวแกงมาก เพราะ ไม่ได้มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ทีสมมติว่าเป็นข้าวแกง ไม่มีการเสพคุ้น สะสม สัญญา ความจำในเรื่องของข้าวแกง ก็คิดในเรื่องอื่นเป็นธรรมดา เช่่นเดียวกัน กับ การศึกษาธรรม หากเราย้อนไปในสมัยที่เราไม่สนใจธรรมเลย ไม่ได้ยิน ไม่ได้ฟังธรรมเลย ก็ไม่มีเหตุปัจจัยให้นึกคิดในเรื่องธรรม เพราะ ยังไม่มีเหตุัปัจจัยที่จะได้เสพคุ้น เมื่อเสพคุ้น จึงตรึกไปในเรือ่งนั้น แต่ ปัจจุบัน ได้มีโอกาสฟังธรรม ศึกษาธรรม ก็ทำให้ตรึกนึกคิดในทางธรรม เมื่อยังไม่ไ้ด้ศึกษาธรรม ก็ไม่คิดจะถามธรรมในเวป ก็สนใจทางอื่นๆ เพราะ เสพคุ้นกับเรื่องราวทางโลกก็ทำให้ วิตกตรึกไปตามเรื่องที่สนใจ ที่ไม่ใช่เรื่องธรรม แต่เมื่อได้ศึกษาธรรม สนใจธรรม ก็ตรึกนึกคิดในทางธรรมมากขึ้น จากที่ไม่คิดจะถามธรรม ก็คิดถามปัญหาธรรม คิดในทางธรรมมากขึ้น ตามการสะสมมาของความสนใจ สัญญาความเข้าใจ และ ที่ลืมไม่ได้ตามปัญญา ที่ได้เกิด เริ่มเข้าใจธรรมากขึ้น ครับ ซึ่ง ขณะที่ตรึกนึกคิดในเรื่องทางโลก ที่ไม่ใช่ธรรม แต่ ก็ต้องพิจารณาว่า เรื่องที่คิดนั้น จิตเป็นอย่างไร ถ้าไม่ใช่กุศลแล้ว คือ ไม่เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา เป็นอกุศลจิต ขณะนั้น มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ ตรึกไปในทางอกุศล และ ขณะนั้นไม่มีสติเกิดร่วมด้วย จึงเป็น มิจฉาสติ ที่ไม่มีสติเิดร่วมด้วยนั่นเอง

แต่ถ้าตรึกนึกคิด เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา เป็นไปในทางกุศล ธรรมดาแล้ว สติเจตสิกเกิดกับจิตที่เป็นจิตที่ดีทุกประเภท เพราะฉะนั้น ก็มีสติเกิดร่วมด้วย และ ขณะนั้นก็มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย ตรึกนึกคิดเป็นไปในทางกุศล สติทำหน้าที่ระลึกถูกระลึกที่จะให้ทาน รักษาศีล ระลึกถึงพระะรรมที่พระุพุทธเจ้าทรงแสดง ครับ และ ขณะที่สติปัฏฐานเกิดที่เป็นปัญญาระดับสูง รู้ความจริงของสภาพธรรม ขณะนั้น ก็มี สติและปัญญา และ สติทำหน้าที่ เป็นสัมมาสติ ในขณะนั้น ครับ

เพราะฉะนั้น อาศัย การเสพคุ้น ในพระธรรมที่พระุพทธเจ้าทรงแสดง เปรียบเหมือนการคบกัลยยาณมิตรที่ดี คือ พระธรรม ก็ย่อม ตรึก นึกคิดเป็นไปในพระพะรรมมากขึ้นอันอาศัยปัญญาที่เจริญขึ้น คือ สัมมาทิฏฐิ ย่อมเป็นปัจจัย ให้ สัมมาสังกัปปะ คือ ความคิดถูก เจริญขึ้น ตามไปด้วย ครับ เพราะฉะนั้น พระธรรมมีค่า สำหรับผู้ที่ศึกษาและ สนใจ ไม่ควรละเลยโอกาสที่จะศึกษา พราะ ชีวิตทีไ่ด้เกิดเป็นมนุษย์ หาได้ยากการได้พบพระธรรมก็ยาก ชีวิตนี้ก้น้อยนัก ควรแบ่งเวลา ในการศกึษาพระธรรม เพื่อการเจริญขึ้นของกุศล และ ปัญญา ครับ

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 2    โดย j.jim  วันที่ 16 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย khampan.a  วันที่ 16 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การฟังพระธรรมเป็นเหตุให้ปัญญาความเข้าใจถูกเห็นถูกเจริญขึ้น และเพราะมีการฟังพระธรรม จึงทำให้มีการคิไตร่ตรองตรองในพระธรรมที่ได้ยินได้ฟังมาแล้วแม้ในขณะนั้นจะไม่ได้ฟังก็ตาม เพราะคงไม่มีใครจะฟังพระธรรมตลอด ๒๔ ชั่วโมง ความเข้าใจพระธรรมจะเป็นเครื่องอุปการะเกื่อกูลให้มีความประพฤติเป็นไปในทางที่ดี่ที่ถูกที่ควรคิดดี ทำดี พูดดีคล้อยตามความเข้าใจที่ค่อยๆ เจริญขึ้นกล่าวได้ว่าความเข้าใจพระธรรมเป็นที่พึ่งทุกระดับขั้นจนสามารถดับกิเลสได้เลยทีเดียว แต่ถ้าเสพคุ้นกับอย่างอื่นมี่ไม่ใช่พระธรรมคำสอนก็จะตรงกันข้ามเลยไม่ทำให้ความดีเจริญขึ้น แต่อาจทำให้ถึงกับมีความเห็นผิดไปจากความเป็นจริงของธรรมได้ เพราะฉะนั้น จะประมาทไม่ได้เลยครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ...


ความคิดเห็น 4    โดย wannee.s  วันที่ 16 ต.ค. 2556

สัมมาสติ คือ การระลึกถูก ระลึกเป็นไปในทาน ศีล ภาวนา ค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย ทรงศักดิ์  วันที่ 16 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 6    โดย Nacha  วันที่ 17 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย peem  วันที่ 6 ธ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ