๓. อุปเนยยสูตร
โดย บ้านธัมมะ  28 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 36164

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 44

๓. อุปเนยยสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 44

๓. อุปเนยยสูตร

[๗] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ชีวิต คือ อายุมีประมาณน้อย ถูกต้อนเข้าไปเรื่อย เมื่อบุคคลถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงทำบุญทั้งหลายที่นำความสุขมาให้.

[๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ชีวิต คือ อายุมีประมาณน้อย ถูกต้อนเข้าไปเรื่อย เมื่อบุคคลถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 45

อรรถกถาอุปเนยยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุปเนยยสูตรที่ ๓ ต่อไป :-

บทว่า อุปนียติ ได้แก่ ย่อมสิ้นไปโดยรอบ ย่อมดับ หรือว่าย่อมมาถึง คือ ย่อมเข้าถึงมรณะโดยลำดับ.

อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ฝูงโคอันนายโคบาลย่อมต้อนไป ฉันใด ชีวิตนี้ ก็ฉันนั้น อันชราย่อมต้อนไปสู่สำนักแห่งความตาย.

บทว่า ชีวิตํ ได้แก่ ชีวิตินทรีย์.

บทว่า อปฺปํ แปลว่า เล็กน้อย คือ นิดหน่อย.

บัณฑิต พึงทราบความที่ชีวิตคือ อายุนั้นเป็นของน้อย โดยอาการ ๒ อย่าง คือ ชื่อว่าน้อย เพราะความที่ชีวิตนั้นเป็นไปกับด้วยรส คือ ความเสื่อมสิ้นไป และเพราะความที่ชีวิตนั้นประกอบด้วยขณะ คือ ครู่เดียว.

จริงอยู่ เพราะพระบาลีว่า โย ภิกฺขเว จิรํ ชีวติ โส วสฺสสตํ อปฺปํ วา ภิยฺโย แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดเป็นอยู่นาน บุคคลนั้นก็พึงเป็นอยู่ร้อยปี ต่ำกว่าบ้าง เกินกว่าบ้าง ดังนี้ จึงชื่อว่า น้อย เพราะความที่ชีวิตนั้นเป็นไปกับด้วยรส คือ ความเสื่อมสิ้นไป.

ก็เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ขณะแห่งชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อยมาก (เกินเปรียบ) คือ สักว่าเป็นไปเพียงจิตดวงเดียวเท่านั้น (ว่าโดยปรมัตถ์ ขณะมี ๓ คือ อุปาทขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ) จึงชื่อว่า น้อย เพราะความที่ชีวิตนามนั้นเป็นของเป็นไปกับด้วยขณะ.

อุปมาด้วยล้อแห่งรถ แม้เมื่อหมุนไป ย่อมหมุนไปโดยส่วนแห่งกงรถหนึ่งเท่านั้น แม้เมื่อหยุดอยู่ ก็ย่อมหยุดโดยส่วนแห่งกงรถหนึ่งนั่นแหละ ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปในขณะแห่งจิต


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 46

ดวงหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ครั้นเมื่อจิตดวงนั้นสักว่าแตกดับแล้ว ท่านก็เรียกว่า สัตว์ตายแล้ว เหมือนคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

อตีเต จิตฺตกฺขเณ ชีวิตฺถ น ชีวติ น ชีวิสฺสติ อนาคเต จิตฺตกฺขเณ น ชีวิตฺถ น ชีวติ ชีวิสฺสติ. ปจฺจุปฺปนฺเน จิตฺตกฺขเณ น ชีวิตฺถ ชีวติ น ชีวิสฺสติ.

ในขณะแห่งจิตอันเป็นอดีต บุคคลชื่อว่า เป็นอยู่แล้วมิใช่กำลังเป็นอยู่ มิใช่จักเป็นอยู่ ในขณะแห่งจิตอันเป็นอนาคต บุคคลชื่อว่า จักเป็นอยู่ มิใช่เป็นอยู่แล้ว มิใช่กำลังเป็นอยู่ ในขณะแห่งจิตอันเป็นปัจจุบัน บุคคลชื่อว่ากำลังเป็นอยู่ มิใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่จักเป็นอยู่.

ชีวิตํ อตฺตภาโว จ สุขทุกฺขา จ เกวลา เอกจิตฺตสมายุตฺตา ลหุโส วตฺตเต ขโณ.

ชีวิต อัตตภาพ สุขและทุกข์ทั้งหมด ประกอบด้วยจิตดวงเดียว ขณะของจิตนั้น ย่อมเป็นไปเร็วพลัน.

เย นิรุทฺธา มรนฺตสฺส ติฏฺมานสฺส วา อิธ สพฺเพปิ สทิสา ขนฺธา คตา อปฺปฏิสนฺธิยา.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 47

จิตเหล่าใด ของสัตว์ที่กำลังดำรงอยู่หรือกำลังตาย แตกดับไปแล้วในปวัตติกาลนี้ จิตเหล่านั้นทั้งหมด หาได้กลับมาเกิดอีกไม่ แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน.

อนิพฺพตฺเตน น ชาโต ปจฺจุปฺปนฺเนน ชีวติ จิตฺตภงฺคมโต โลโก ปญฺตฺติ ปรมตฺถิยา.

เพราะจิตไม่เกิด สัตว์โลกก็ชื่อว่าไม่เกิด เพราะจิตเกิดขึ้นเฉพาะหน้า สัตว์โลกก็ชื่อว่า เป็นอยู่ เพราะความแตกดับแห่งจิต สัตว์โลก จึงชื่อว่า ตายแล้ว นี้เป็นบัญญัติเนื่องด้วยปรมัตถ์.

บทว่า ชรูปนตสฺส อธิบายว่า เมื่อบุคคลเข้าถึงชราแล้ว หรือว่าเมื่อบุคคลถูกชราต้อนเข้าไปสู่สำนักแห่งความตาย.

บทว่า น สนฺติ ตาณา อธิบายว่า ใครๆ ชื่อว่าสามารถเพื่อจะให้ความป้องกัน คือ ให้ความปลอดภัย ให้เป็นที่พึ่งอาศัยได้ ย่อมไม่มี.

บทว่า เอตํ ภยํ ความว่า ภัยนี้มี ๓ อย่าง คือ การเข้าถึงความตายแห่งชีวิตินทรีย์ ความที่ชีวิตินทรีย์มีอายุเล็กน้อย และความที่ไม่มีเครื่องต้านทานของบุคคลผู้อันชราต้อนไปแล้ว อธิบายว่าเป็นที่ตั้งแห่งภัย (ภยวตฺถุ) คือ เป็นเหตุแห่งภัย (ภยการณํ).

บทว่า ปุญฺานิ กยิราถ สุขาวหานิ ได้แก่ วิญญูชนพึงทำบุญทั้งหลายอันนำความสุขมาให้ คือ อันให้ซึ่งความสุข.

ด้วยเหตุนี้นั้น เทวดาหมายเอารูปาวจรฌาน จึงถือเอาบุพเจตนา มุญจนเจตนา และอปรเจตนาแล้วกล่าวถึงบุญทั้งหลาย ด้วยสามารถ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 48

แห่งคำพหูพจน์. และถือเอาความชอบใจในฌาน ความใคร่ในฌาน และความสุขในฌานแล้ว จึงกล่าวว่า บุญทั้งหลายนำความสุขมาให้ ดังนี้.

ได้ยินว่า เทวดานั้น ได้มีความคิดว่า โอหนอ สัตว์ทั้งหลายเจริญฌานแล้ว มีฌานยังไม่เสื่อม กระทำกาละแล้ว พึงดำรงอยู่ในพรหมโลกตลอดเวลาอันยาวนาน คือ ประมาณ ๑ กัปบ้าง ๔ กัปบ้าง ๘ กัปบ้าง ๑๖ กัปบ้าง ๓๒ กัปบ้าง ๖๔ กัปบ้าง ดังนี้ เพราะตนเองเกิดในพรหมโลกที่มีอายุยาวนานจึงเห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้กำลังตาย กำลังเกิดที่มีอายุน้อยในเทวดาชั้นกามาวจรเบื้องต่ำ เช่นกับการตกลงแห่งเม็ดฝนพอถูกกระทบก็แตกไป เพราะฉะนั้น จึงกล่าวแล้วอย่างนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริว่า ก็เทวดานี้ ย่อมกล่าววัฏฏกถา (ถ้อยคำอันเป็นไปในวัฏฏะ) อันไม่เหมาะสม เมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏกถาแก่เทวดานั้น จึงตรัสพระคาถาที่ ๒.

บรรดาบทแห่งคาถาที่ ๒ เหล่านั้น บทว่า โลกามิสํ ได้แก่ โลกามิส ๒ อย่าง คือ ปริยายโลกามิส (โลกามิสที่เป็นเหตุ) นิปปริยายโลกามิส (โลกามิสที่ไม่เป็นเหตุ) วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ เรียกว่า ปริยายโลกามิส. ปัจจัย คือ เครื่องอาศัย ๔ อย่าง เรียกว่า นิปปริยายโลกามิส. ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาปริยายโลกามิส อันที่แท้ แม้นิปปริยายโลกามิสก็ควรในที่นี้เหมือนกัน.

บทว่า สนฺติเปกฺโข อธิบายว่ามุ่งอยู่ ต้องการอยู่ ปรารถนาอยู่ซึ่งสันติอันยั่งยืน กล่าวคือ พระนิพพาน.

จบอรรถกถาอุปเนยยสูตรที่ ๓