นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
••• ... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ... ..•••
... สนทนาธรรมที่ ...
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)
พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ วันเสาร์ที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๐ คือ
อัปปิยสูตร
... จาก ...
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ เล่ม ๔ หน้า ๑
๑. อัปปิยสูตร
[๑] ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณ ฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ได้ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่สรรเสริญ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการ เป็นไฉน?
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มุ่งลาภ ๑ เป็นผู้มุ่งสักการะ ๑ เป็นผู้มุ่งความมีชื่อเสียง ๑ เป็นผู้ไม่มีหิริ ๑ เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๑ มีความปรารถนาลามก ๑ มีความเห็นผิด ๑
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการ เป็นไฉน?
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่เป็นผู้มุ่งลาภ ๑ไม่เป็นผู้มุ่งสักการะ ๑ ไม่เป็นผู้มุ่งความมีชื่อเสียง ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ มีความปรารถนาน้อย ๑ มีความเห็นชอบ ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจเป็นที่เคารพและเป็นที่สรรเสริญ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.
จบ อัปปิยสูตรที่ ๑.
อรรถกถาอัปปิยสุตรที่ ๑
ปิยสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อนวญฺญตฺติกาโม แปลว่า ผู้ประสงค์เพื่อเป็นผู้มีชื่อเสียง.
จบอรรถกถาอัปปิยสูตรที่ ๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความโดยสรุป
อัปปิยสูตร
(ว่าด้วยบุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก และ เป็นที่รัก)
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรม ๗ ประการ ซึ่งทำให้ภิกษุเป็นผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพสรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ (ผู้ประพฤติประเสริฐ) ได้แก่
๑. เป็นผู้มุ่งลาภ
๒. เป็นผู้มุ่งสักการะ
๓. เป็นผู้มุ่งความมีชื่อเสียง
๔. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๕. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ
๖. มีความปรารถนาลามก
๗. มีความเห็นผิด
และทรงแสดงธรรม ๗ ประการ ซึ่งทำให้ภิกษุเป็นผู้เป็นที่รัก ที่พอใจ เป็นที่เคารพสรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ ได้แก่
๑. ไม่มุ่งลาภ
๒. ไม่มุ่งสักการะ
๓. ไม่มุ่งความมีชื่อเสียง
๔. เป็นผู้มีหิริ
๕. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
๖. มีความปรารถนาน้อย
๗. มีความเห็นชอบ
ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
ความหมายของคำว่า บวช
หิริ และ โอตตัปปะ [ธรรมสังคณีปกรณ์]
หิริโอตตัปปะ เป็นธรรมคุ้มครองโลก
ความเป็นบรรพชิต ถ้ารักษาไม่ดี มีแต่จะทำให้เกิดโทษ
ภิกษุต้องอาบัติ ถ้าไม่ปลงต้องตกนรกหรือไม่
พระทำผิดวินัยสงฆ์รับโทษอย่างไร
ลักษณะของทิฏฐิ กับ ปัญญา
มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากความเป็นจริงของธรรม
... อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...
การศึกษาพระธรรมขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ เป็นผู้ละเอียด
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ