นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
••• ... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ... ..•••
... สนทนาธรรมที่ ...
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)
พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ วันเสาร์ที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ คือ
เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง
... จาก ...
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๔๓ - หน้าที่ ๘๔
๗. เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์ คนใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น เตน ภิกฺขุ โส โหติ" เป็นต้น.
พราหมณ์อยากให้พระศาสดาเรียกตนว่าภิกษุ
ได้ยินว่า พราหมณ์นั้น บวชในลัทธิภายนอกเที่ยวภิกษาอยู่ คิดว่า "พระสมณโคดม เรียกสาวกของตนผู้เที่ยวภิกษาว่า ภิกษุ,' การที่พระสมณโคดมเรียกแม้เราว่า ' ภิกษุ' ก็ควร." เขาเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลว่า "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ แม้ข้าพเจ้าก็เที่ยวภิกษาเลี้ยงชีพอยู่, พระองค์ จงเรียกแม้ข้าพเจ้าว่า 'ภิกษุ."
ลักษณะภิกษุ และ ผู้มิใช่ภิกษุ
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพราหมณ์นั้นว่า "พราหมณ์ เราหาเรียกว่า 'ภิกษุ' เพราะอาการเพียงขอ (เขาไม่) , เพราะผู้สมาทานธรรมอันเป็นพิษแล้วประพฤติอยู่ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า ภิกษุ ก็หามิได้, ส่วนผู้ใดเที่ยวไปด้วยพิจารณาสังขารทั้งปวง, ผู้นั้น ชื่อว่า เป็นภิกษุ" ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
บุคคล ชื่อว่า เป็นภิกษุ เพราะเหตุที่ขอกะคนพวกอื่น ก็หามิได้, บุคคล สมาทานธรรมอันเป็นพิษ ไม่ชื่อว่า เป็นภิกษุ ด้วยเหตุ เพียงเท่านั้น; ผู้ใด ในศาสนานี้ ลอยบุญและบาปแล้ว ประพฤติ พรหมจรรย์ ในโลก ด้วยการพิจารณาเที่ยวไป ผู้นั้นแล เราเรียกว่า ภิกษุ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา ความว่า ชื่อว่า เป็นภิกษุ เพราะเหตุสักว่าขอกะชนพวกอื่น ก็หามิได้. บทว่า วิสํ เป็นต้น ความว่า ผู้ที่สมาทานธรรม ไม่เสมอ หรือ ธรรมมีกายกรรมเป็นต้น อันมีกลิ่นเป็นพิษ ประพฤติอยู่ หาชื่อว่าเป็นภิกษุ ไม่. บทว่า โยธ เป็นต้น ความว่า ผู้ใดในศาสนานี้ ลอย คือ บรรเทาบุญและบาปแม้ทั้งสองนี้ ด้วยมรรคพรหมจรรย์ ชื่อว่า เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์. บทว่า สงฺขาย คือ ด้วยญาณ. บทว่า โลเก เป็นต้น ความว่า บุคคลรู้ธรรมแม้ทั้งหมดในโลก มีขันธโลกเป็นต้น อย่างนี้ว่า "ขันธ์เหล่านี้เป็นภายใน, ขันธ์เหล่านี้ เป็นภายนอก" เที่ยวไป, ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า 'ภิกษุ' เพราะเป็นผู้ทำลายกิเลสทั้งหลาย ด้วยญาณนั้นแล้ว.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง จบ.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
© ข้อความโดยสรุป ©
เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง
พราหมณ์ คนหนึ่ง บวชในลัทธิภายนอก เที่ยวภิกษา (คือ เที่ยวขอเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหาร) เกิดความคิดว่า แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ตรัสเรียกสาวกของพระองค์ผู้เที่ยวภิกษา ว่า เป็นภิกษุ อยากจะให้พระองค์ตรัสเรียกตนเองว่าเป็นภิกษุ บ้าง จึงเข้าไปเฝ้ากราบทูลเรื่องนี้แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสว่า เราหาเรียกว่า 'ภิกษุ' เพราะอาการเพียงขอเขาไม่, เพราะผู้สมาทาน (ถือเอา) ธรรมอันเป็นพิษแล้วประพฤติอยู่ ไม่ชื่อว่า เป็นภิกษุ, ส่วนผู้ใดเที่ยวไป ด้วยพิจารณาสังขารทั้งปวง ผู้นั้น ชื่อว่า เป็นภิกษุ (ตามข้อความที่ปรากฏในพระสูตร)
ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
ภิกษุ เป็นผู้ทำความดีในเพราะการขอ
ภิกษุต้องอาบัติ ถ้าไม่ปลงต้องตกนรกหรือไม่
อกุศลกรรมและอกุศลวิบาก
ความเป็นบรรพชิต ถ้ารักษาไม่ดี มีแต่จะทำให้เกิดโทษ
บรรพชิต คือ ผู้สละ
บรรพชิต ไม่ใช่คฤหัสถ์
คฤหัสถ์ควรทำอย่างไรเมื่อเห็นพระภิกษุประพฤติไม่เหมาะสม
ใครคือพระภิกษุ
สงสารพระภิกษุที่ไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัย
ไม่อนุโมทนากับภิกษุผู้ทุศีล
ถอดคำบรรยายธรรม-- ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง--
สังขารธรรม
... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...
การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ