[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 147
๙. พาลบัณฑิตสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 147
๙. พาลบัณฑิตสูตร
[๔๖๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดํารัสแล้ว.
[๔๖๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลักษณะ เครื่องหมาย เครื่องอ้าง ว่าเป็นพาลของคนพาลนี้มี ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลในโลกนี้มักคิดความคิดที่ชั่ว มักพูดคําพูดทีชั่ว มักทําการทําที่ชั่ว ถ้าคนพาลจักไม่เป็นผู้คิดความคิดที่ชั่ว พูดคําพูดที่ชั่ว และทําการทําที่ชั่ว บัณฑิตพวกไหนจะพึงรู้จักเขาได้ว่า ผู้นี้เป็นคนพาล เป็นอสัตบุรุษ เพราะคนพาลมักคิดความคิดที่ชั่ว มักพูดคําพูดที่ชั่วและมักทําการทําที่ชั่ว ฉะนั้น พวกบัณฑิตจึงรู้ได้ว่า นี้เป็นคนพาล เป็นอสัตบุรุษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแล ย่อมเสวยทุกข์โทมนัส๓ อย่างในปัจจุบัน.
[๔๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนพาลนั่งในสภาก็ดี ริมถนนรถก็ดี ริมทางสามแพร่งก็ดี ชนในที่นั้นๆ จะพูดถ้อยคําที่พอเหมาะพอสมแก่เขา ถ้าคนพาลมักเป็นผู้ทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มีปกติตั้งอยู่ในความประมาทเพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ในเรื่องที่ชนพูดถ้อยคําที่พอเหมาะพอสมแก่เขานั้นแล คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า สภาพเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเราก็ปรากฏในสภาพเหล่านั้นด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมเสวยทุกข์ โทมนัสข้อที่หนึ่งนี้ในปัจจุบัน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 148
ว่าด้วยกรรมกรณ์ ๒๖ อย่าง
[๔๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก คนพาลเห็นราชาทั้งหลายจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิด คือ
๑. โบยด้วยแส้
๒. โบยด้วยหวาย
๓. ตีด้วยตะบองสั้น
๔. ตัดมือ
๕. ตัดเท้า
๖. ตัดทั้งมือทั้งเท้า
๗. ตัดหู
๘. ตัดจมูก
๙. ตัดทั้งหูทั้งจมูก
๑๐. หม้อเคี่ยวน้ำส้ม (วางก้อนเหล็กแดงบนศรีษะ)
๑๑. ขอดสังข์ (ถลกหนังศรีษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์)
๑๒. ปากราหู (เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือนปากราหู)
๑๓. มาลัยไฟ (เอาผ้าพันตัวราดนำ้มันแล้วจุดไฟ)
๑๔. คบมือ (เอาผ้าพันมือราดนำ้มันแล้วจุดไฟต่างคบ)
๑๕. ริ้วส่าย (ถลกหนังออกเป็นริ้วๆ ตั้งแต่คอถึงข้อเท้าแล้วให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลง)
๑๖. นุ่งเปลือกไม้ (ถลกหนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอว ทำเหมือนนุ่งผ้าคากรอง)
๑๗. ยืนกวาง (สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าแล้วเสียบหลาวทั้ง ๕ ทิศ เอาไฟเผา)
๑๘. เกี่ยวเหยื่อเบ็ด (ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมา)
๑๙. เหรียญกษาปณ์ (เฉือนเนื้อออกเป็นแว่นๆ เหมือนเหรียญกษาปญ์)
๒๐. แปรงแสบ (เฉือนหนัง เนื้อ เอ็นออกเหลือไว้แต่กระดูก)
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 149
๒๑. กางเวียน (เสียบให้ติดดินแล้วจับหมุนรอบๆ)
๒๒. ตั่งฟาง (ทุบกระดูกให้แหลกแล้วจับผมขย่อนๆ ให้เนื้อรวมกันเป็นกองแล้วตั้งไว้เหมือนตั่งทำด้วยฟางสำหรับเช็ดเท้า)
๒๓. ราดด้วยน้ำมันเดือดๆ
๒๔. ให้สุนัขทึ้ง
๒๕. ให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็นๆ
๒๖. ตัดศีรษะด้วยดาบ.
ในขณะที่เห็นนั้น คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เพราะเหตุแห่งกรรมชั่วปานใดแล ราชาทั้งหลายจึงจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิด คือโบยด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ก็สภาพเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเราก็ปรากฏในสภาพเหล่านั้นด้วย ถ้าแม้ราชาทั้งหลายรู้จักเราก็จะจับเราแล้วสั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิด คือ โบยด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็นๆ บ้าง ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมเสวยทุกข์โทมนัสข้อที่สองแม้นี้ในปัจจุบัน
ว่าด้วยพาลเสวยทุกข์ในปัจจุบัน
[๔๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก กรรมลามกที่คนพาลทําไว้ในก่อน คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมปกคลุมครอบงําคนพาลผู้อยู่บนตั่ง หรือบนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น เปรียบเหมือนเงายอดภูเขาใหญ่ ย่อมปกคลุม ครอบงําแผ่นดินในสมัยเวลาเย็น ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล กรรมลามกที่คนพาลทําไว้ในก่อน คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงําคนพาลผู้อยู่บนตั่ง หรือบนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 150
ในสมัยนั้น คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ทําความดี ไม่ได้ทํากุศล ไม่ได้ทําเครื่องป้องกันความหวาดกลัวไว้ ทําแต่ความชั่ว ทําแต่ความร้ายทําแต่ความเลว ละโลกนี้ไปแล้ว จะไปสู่คติของคนที่ไม่ได้ทําความดี ไม่ได้ทํากุศล ไม่ได้ทําเครื่องป้องกันความหวาดกลัวไว้ ซึ่งทําแต่ความชั่ว ความร้ายและความเลว เป็นกําหนด คนพาลนั้นย่อมเศร้าโศก ลําบากใจ คร่ําครวญ ร่ําไห้ ทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมเสวยทุกข์โทมนัสข้อที่สามนี้แลในปัจจุบัน.
[๔๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแลประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงอบาย ซึ่งเขาพูดหมายถึงนรกนั่นแลโดยชอบ พึงกล่าวได้ว่าเป็นสถานที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจส่วนเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพียงเท่านี้แม้จะเปรียบอุปมาจนถึงนรกเป็นทุกข์ ก็ไม่ใช่ง่ายนัก.
[๔๗๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาจเปรียบอุปมาได้หรือไม่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ อาจเปรียบได้ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพวกราชบุรุษจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแสดงแต่พระราชาว่า ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจรประพฤติผิดต่อพระองค์. ขอพระองค์โปรดลงอาชญาที่ทรงพระราชประสงค์แก่มันเถิด พระราชาทรงสั่งการนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถิด พวกท่านจงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนี้ในเวลาเช้า พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนั้นในเวลาเช้า ครั้นเวลากลางวัน พระราชาตรัสถามอย่างนี้ว่า พ่อมหาจําเริญ บุรุษนั้นเป็นอย่างไร พวกราชบุรุษกราบทูลว่า ขอเดชะ ยังเป็นอยู่อย่างเดิมพระเจ้าข้า พระราชา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 151
ทรงสั่งการนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถิด พวกท่านจงเอาหอกร้อยเล่มแทงมันในเวลากลางวัน พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนั้นในเวลากลางวัน ครั้นเวลาเย็น พระราชาตรัสถามอย่างนี้ว่า พ่อมหาจําเริญ บุรุษนั้นเป็นอย่างไร พวกราชบุรุษกราบทูลว่า ขอเดชะ ยังเป็นอยู่อย่างเดิมพระเจ้าข้าพระราชาทรงสั่งการนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถิด พวกท่านจงเอาหอกร้อยเล่มแทงมันในเวลาเย็น พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนั้น ในเวลาเย็น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นถูกแทงด้วยหอกสามร้อยเล่ม พึงเสวยทุกข์โทมนัสเหตุที่ถูกแทงนั้น บ้างหรือหนอ.
ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้น ถูกแทงด้วยหอกแม้เล่มเดียว ก็เสวยทุกข์โทมนัสเหตุที่ถูกแทงนั้นได้ ป่วยการกล่าวถึงหอกตั้งสามร้อยเล่ม.
[๔๗๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหยิบแผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่เราถือนี้กับภูเขาหลวงหิมพานต์ อย่างไหนหนอแลใหญ่กว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่ทรงถือนี้มีประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบภูเขาหลวงหิมพานต์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้ความนับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแลทุกข์โทมนัสที่บุรุษถูกแทงด้วยหอกสามร้อยเล่มเป็นเหตุกําลังเสวยอยู่นั้น เปรียบเทียบ ทุกข์ของนรกยังไม่ถึงแม้ความนับ ยังไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ยังไม่ถึงแม้การเทียบกันได้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 152
ว่าด้วยการจองจํา ๕ ประการ
[๔๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะให้คนพาลนั้นกระทําเหตุชื่อการจองจํา ๕ ประการคือ ตรึงตะปูเหล็กแดงที่มือข้างที่ ๑ ข้างที่ ๒ ที่เท้าข้างที่ ๑ ข้างที่ ๒ และที่ทรวงอกตรงกลาง คนพาลนั้น จะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในนรกนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะจับคนพาลนั้นขึงพืดแล้วเอาผึ่งถาก คนพาลนั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบอยู่ในนรกนั้นและยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะจับคนพาลนั้นเอาเท้าขึ้นข้างบนเอาหัวลงข้างล่างแล้วถากด้วยพร้า คนพาลนั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในนรกนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะเอาคนพาลนั้นเทียมรถแล้วให้วิ่งกลับไปกลับมาบนแผ่นดินทีมีไฟติดทั่ว ลุกโพลงโชติช่วง คนพาลนั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในนรกนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะให้คนพาลนั้นปีนขึ้นปีนลงซึ่งภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ที่มีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง คนพาลนั้น จะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในนรกนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะจับคนพาลนั้น เอาเท้าขึ้นข้างบนเอาหัวลงข้างล่าง แล้วพุ่งลงไปในหม้อทองแดงที่ร้อนมีไฟติดทั่ว ลุกโพลง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 153
โชติช่วง คนพาลนั้นจะเดือดเป็นฟองอยู่ในหม้อทองแดงนั้น เขาเมื่อเดือดเป็นฟองอยู่ จะพล่านขึ้นข้างบนครั้งหนึ่งบ้าง พล่านลงข้างล่างครั้งหนึ่งบ้างพล่านไปด้านขวางครั้งหนึ่งบ้าง จะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในหม้อทองแดงนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะโยนคนพาลนั้น เข้าไปในมหานรก ก็มหานรกนั้นแล
มีสี่มุมสี่ประตูแบ่งไว้โดยส่วนเท่ากันมีกําแพงเหล็กล้อมรอบครอบไว้ด้วยแผ่นเหล็ก พื้นของนรกใหญ่นั้น ล้วนแล้วด้วยเหล็กลุกโพลงประกอบด้วยไฟแผ่ไปตลอดร้อยโยชน์รอบด้านประดิษฐานอยู่ทุกเมื่อ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเรื่องนรกแม้โดยอเนกปริยายแล เพียงเท่านี้จะกล่าวให้ถึงกระทั่งนรกเป็นทุกข์ไม่ใช่ทําได้ง่าย.
[๔๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉานจําพวกมีหญ้าเป็นภักษา สัตว์เดียรัจฉานเหล่านั้น ย่อมใช้ฟันและเล็มกินหญ้าสด ก็เหล่าสัตว์เดียรัจฉานจําพวกมีหญ้าเป็นภักษา คืออะไร คือ ม้า โค ลา แพะ เนื้อ หรือแม้จําพวกอื่นๆ ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่มีหญ้าเป็นภักษา ดูก่อนภิกษุทั้งหลายคนพาลนั้นนั่นแลผู้กินอาหารด้วยความติดใจรสในเบื้องต้นในโลกนี้ ทํากรรมลามกไว้ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว. ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์จําพวกที่มีหญ้าเป็นภักษาเหล่านั้น.
ว่าด้วยสัตว์เดียรัจฉาน
[๔๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉานจําพวกมีคูถเป็นภักษา สัตว์เดียรัจฉานเหล่านั้น ได้กลิ่นคูถแต่ไกลๆ แล้วย่อมวิ่งไปด้วยหวังว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 154
จักกินตรงนี้ เปรียบเหมือนพวกพราหมณ์เดินไปตามกลิ่นเครื่องบูชาด้วยตั้งใจว่า จักกินตรงนี้ จักกินตรงนี้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉานจําพวกมีคูถเป็นภักษา สัตว์เดียรัจฉานเหล่านั้นได้กลิ่นคูถแต่ไกลๆ แล้ว ย่อมวิ่งไปด้วยหวังว่า จักกินตรงนี้ จักกินตรงนี้ก็เหล่าสัตว์เดียรัจฉานจําพวกมีคูถเป็นภักษา คืออะไรคือไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขป่า หรือแม้จําพวกอื่นๆ ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่มีคูถเป็นภักษา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแลผู้กินอาหารด้วยความติดใจรสในเบื้องต้นในโลกนี้ ทํากรรมลามกไว้ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์จําพวกมีคูถเป็นภักษาเหล่านั้น.
[๔๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉานจําพวกเกิดแก่ตายในที่มืด ก็เหล่าสัตว์เดียรัจฉานจําพวกเกิดแก่ตายในที่มืด คืออะไร คือตั๊กแตน บุ้ง ไส้เดือน หรือแม้จําพวกอื่นๆ ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เกิดแก่ตายในที่มืด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแลผู้กินอาหารด้วยความติดใจรสในเบื้องต้นในโลกนี้ ทํากรรมลามกไว้ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์จําพวกเกิดแก่ตายในที่มืด.
[๔๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉาน จําพวกเกิดแก่ตายในน้ำ ก็เหล่าสัตว์เดียรัจฉานจําพวกเกิดแก่ตายในน้ำ คืออะไร คือ ปลา เต่า จรเข้ หรือแม้จําพวกอื่นๆ ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เกิดแก่ตายในน้ำ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแลผู้กินอาหารด้วยความติดใจรสในเบื้องต้นในโลกนี้ทํากรรมลามกไว้ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์จําพวกเกิดแก่ตายในน้ำ.
[๔๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉานจําพวกเกิดแก่ตายในของโสโครก ก็เหล่าสัตว์เดียรัจฉานจําพวกเกิดแก่ตายในของโสโครก คือ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 155
อะไร คือ เหล่าสัตว์จําพวกที่เกิดแก่ตายในปลาเน่าก็มี ในศพเน่าก็มี ในขนมกุมาสเน่าก็มี ในน้ำครําก็มี ในหลุมโสโครกก็มี หรือแม้จําพวกอื่นๆ ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เกิดแก่ตายในของโสโครก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นและผู้กินอาหารด้วยความติดใจรสในเบื้องต้นในโลกนี้ ทํากรรมลามกไว้ในโลกนี้เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์จําพวกเกิดแก่ตายในของโสโครก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเรื่องกําเนิดสัตว์เดียรัจฉานแม้โดยอเนกปริยายแล เพียงเท่านี้ จะกล่าวให้ถึงกระทั่งกําเนิดสัตว์เดียรัจฉานเป็นทุกข์ไม่ใช่ทําได้ง่าย.
ว่าด้วยบุรุษโยนทุ่น
[๔๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษโยนทุ่นมีบ่วงตาเดียวไปในมหาสมุทร ทุ่นนั้นถูกลมตะวันออกพัดไปทางทิศตะวันตก ถูกลมตะวันตกพัดไปทางทิศตะวันออก ถูกลมเหนือพัดไปทางทิศใต้ ถูกลมใต้พัดไปทางทิศเหนือ มีเต่าตาบอดอยู่ในมหาสมุทรนั้น ล่วงไปร้อยปีจึงจะผุดขึ้นครั้งหนึ่งดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เต่าตาบอดตัวนั้นจะพึงเอาคอสวมเข้าที่ทุ่นมีบ่วงตาเดียวโน้นได้บ้างไหมหนอ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์เจริญ ถ้าจะเป็นไปได้บ้างในบางครั้งบางคราว ก็โดยล่วงระยะกาลนานแน่นอน.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอดตัวนั้นจะพึงเอาคอสวมเข้าที่ทุ่นมีบ่วงตาเดียวโน้นได้ ยังจะเร็วกว่า เรากล่าวความเป็นมนุษย์ที่คนพาลผู้ไปสู่วินิบาตคราวหนึ่งแล้วจะพึงได้ ยังยากกว่านี้ นั้น เพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 156
ทั้งหลาย เพราะในตัวคนพาลนี้ไม่มีความประพฤติธรรม ความประพฤติสงบการทํากุศล การทําบุญ มีแต่การกินกันเอง การเบียดเบียนคนอ่อนแอ.
[๔๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแล ถ้าจะมาสู่ความเป็นมนุษย์ในบางครั้งบางคราว ไม่ว่ากาลไหนๆ โดยล่วงระยะกาลนาน ก็ย่อมเกิดในสกุลต่ํา คือ สกุลคนจัณฑาล หรือสกุลพรานล่าเนื้อ หรือสกุลคนจักสาน หรือสกุลช่างรถ หรือสกุลคนเทขยะ เห็นปานนั้น ในบั้นปลาย อันเป็นสกุลคนจน มีข้าวน้ำและโภชนาหารน้อย มีชีวิตเป็นไปลําบาก ซึ่งเป็นสกุลที่จะได้ของกิน และเครื่องนุ่งห่มโดยฝืดเคืองและเขาจะมีผิวพรรณทราม น่าเกลียดชัง ร่างม่อต้อ มีโรคมาก เป็นคนตาบอดบ้าง เป็นคนง่อยบ้าง เป็นคนกะจอกบ้าง เป็นคนเปลี้ยบ้าง ไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องตามประทีป เขาจะประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นแล้วเมื่อตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก.
[๔๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนนักเลงการพนัน เพราะเคราะห์ร้าย ประการแรกเท่านั้น จึงต้องเสียลูกบ้าง เสียเมียบ้าง เสียสมบัติทุกอย่างบ้าง ยิ่งขึ้นไปอีก ต้องถึงถูกจองจํา เคราะห์ร้ายของนักเลงการพนันที่ต้องเสียไปดังนั้น เพียงเล็กน้อย ที่แท้แลเคราะห์ร้ายอันใหญ่หลวงกว่านั้น คือ เคราะห์ที่คนพาลนั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว ตายไป เช้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ภูมิของคนพาลครบถ้วนบริบูรณ์.
[๔๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลักษณะ เครื่องหมาย เครื่องอ้างว่าเป็นบัณฑิตของบัณฑิตนี้มี ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบัณฑิตในโลกนี้มักคิดความคิดที่ดี มักพูดคําพูดที่ดี มักทําการทําที่ดี ถ้า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 157
บัณฑิตจักไม่เป็นผู้คิดความคิดที่ดี พูดคําพูดที่ดี และทําการทําที่ดี บัณฑิตพวกไหนจะพึงรู้จักเขาได้ว่าผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นสัตบุรุษ เพราะบัณฑิตมักคิดความคิดที่ดี มักพูดคําพูดที่ดี และมักทําการทําที่ดี ฉะนั้น พวกบัณฑิตจึงรู้ด้วยว่า ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นสัตบุรุษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นนั่นแล ย่อมเสวยสุขโสมนัส ๓ อย่างในปัจจุบัน.
ว่าด้วยบัณฑิตเสวยสุขในปัจจุบัน
[๔๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าบัณฑิตนั่งในสภาก็ดี ริมถนนรถก็ดี ริมทางสามแพร่งก็ดี ชนในที่นั้นๆ จะพูดถ้อยคําที่พอเหมาะพอสมแก่เขา ถ้าบัณฑิตเป็นผู้ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากเหตุเป็นที่ทั้งความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ในเรื่องที่ชนพูดถ้อยคําที่พอเหมาะพอสมแก่เขานั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า สภาพเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเราก็ปรากฏในสภาพเหล่านั้นด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสข้อที่หนึ่งนี้ในปัจจุบัน.
[๔๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอันยังมีอีก บัณฑิตเห็นพระราชาทั้งหลายจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิด คือ
๑. โบยด้วยแส้
๒. โบยด้วยหวาย
๓. ตีด้วยตะบองสั้น
๔. ตัดมือ
๕. ตัดเท้า
๖. ตัดทั้งมือทั้งเท้า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 158
๗. ตัดหู
๘. ตัดจมูก
๙. ตัดทั้งหูทั้งจมูก
๑๐. หม้อเคี่ยวน้ำส้ม
๑๑. ขอดสังข์
๑๒. ปากราหู
๑๓. มาลัยไฟ
๑๔. คบมือ
๑๕. ริ้วส่าย
๑๖. นุ่งเปลือกไม้
๑๗. ยืนกวาง
๑๘. เกี่ยวเหยื่อเบ็ด
๑๙. เหรียญกษาปณ์
๒๐. แปรงแสบ
๒๑. กางเวียน
๒๒. ตั่งฟาง
๒๓. น้ำมันเดือด
๒๔. ให้สุนัขทึ้ง
๒๕. ให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็นๆ
๒๖. ตัดศีรษะด้วยดาบ.
ในขณะที่เห็นนั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เพราะเหตุแห่งกรรมชั่ว ปานใดแล พระราชาทั้งหลายจึงจับโจรผู้ประพฤติผิดมา แล้วสั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิด คือโบยด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง สภาพ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 159
เหล่านั้นไม่มีอยู่ในเรา และเราก็ไม่ปรากฏในสภาพเหล่านั้นด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสข้อที่สองนี้ในปัจจุบัน.
[๔๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอันยังมีอีก กรรมงามที่บัณฑิตทําไว้ในก่อน คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงําบัณฑิตผู้อยู่บนตั่ง หรือบนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น เปรียบเหมือนเงายอดภูเขา ย่อมปกคลุม ครอบงําแผ่นดินในสมัยเวลาเย็น ฉันใดดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล กรรมงามที่บัณฑิตทําไว้ในก่อนคือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงําบัณฑิตผู้อยู่บนตั่ง หรือบนเตียงหรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ทําความชั่ว ไม่ได้ทําความร้าย ไม่ได้ทําความเลว ทําแต่ความดี ทําแต่กุศล ทําแต่เครื่องป้องกันความหวาดกลัวไว้ ละโลกนี้ไปแล้ว จะไปสู่คติของตนที่ไม่ได้ทําความชั่ว ไม่ได้ทําความเลว ทําแต่ความดี ทําแต่กุศล ทําแต่เครื่องป้องกันความหวาดกลัวไว้เป็นกําหนด บัณฑิตนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลําบากใจไม่คร่ําครวญ ไม่ร่ําไห้ทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสข้อที่สามดังนี้ในปัจจุบัน.
[๔๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นนั่นแลประพฤติสุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงสุดซึ่งเราพูดหมายถึงสวรรค์นั้นแลโดยชอบ พึงกล่าวได้ว่าเป็นสถานที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจส่วนเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพียงเท่านี้แม้จะเปรียบอุปมาจนถึงสวรรค์เป็นสุขก็ไม่ใช่ง่ายนัก.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 160
[๔๘๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาจเปรียบอุปมาได้หรือไม่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ อาจเปรียบได้ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการและความสัมฤทธิผล ๔ อย่าง จึงเสวยสุขโสมนัสอัน มีสิ่งประกอบนั้นเป็นเหตุได้ พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการเป็นไฉน.
ว่าด้วยจักรแก้ว
[๔๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชามหากษัตริย์ในโลกนี้ผู้ทรงได้มูรธาภิเษกแล้ว ทรงสรงสนานพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถในดิถีที่ ๑๕ ซึ่งวันนั้นเป็นวันอุโบสถ เมื่อประทับอยู่ในพระมหาปราสาทชั้นบน ย่อมปรากฏจักรแก้วทิพ (จักรรัตน) มีกําตั้งพัน พร้อมด้วยกงและดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ครั้นทอดพระนครแล้วได้มีพระราชดําริดังนี้ว่า ก็เราได้สดับมาดังนี้แล พระราชาพระองค์ใด ผู้ทรงได้มูรธาภิเษกแล้ว ทรงสรงสนานพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถในดิถีที่ ๑๕ ซึ่งวันนั้น เป็นวันอุโบสถ เมื่อประทับอยู่ในพระมหาปราสาทชั้นบน ย่อมปรากฏจักรแก้วทิพมีกําตั้งพัน พร้อมด้วยกงและคุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง พระราชานั้น ย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิหรือหนอ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต่อนั้น พระองค์เสด็จลุกจากราชอาสน์ ทรงจับพระเต้าน้ำด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงหลั่งรดจักรแก้วด้วยพระหัตถ์ขวา รับสั่งว่าจงพัดผันไปเถิดจักรแก้วผู้เจริญ จักรแก้วผู้เจริญจงพิชิตให้ยิ่งเถิด ลําดับนั้นจักรแก้วนั้นก็พัดผันไปทางทิศตะวันออก พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรง-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 161
คินีเสนาก็เสด็จตามไป จักรแก้วประดิษฐานอยู่ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิก็เสด็จเข้าประทับ ณ ประเทศนั้น พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออก เข้ามาเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทูลอย่างนี้ว่า เชิญเสด็จเถิด มหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราช ข้าแต่มหาราช แผ่นดินนี้เป็นของพระองค์ ขอพระองค์จงครอบครองเถิด พระเจ้าจักพรรดิรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านทุกคนไม่ควรฆ่าสัตว์ ไม่ควรลักทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ไม่ควรประพฤติผิดในกาม ไม่ควรพูดเท็จ ไม่ควรดื่มน้ำเมา และท่านทั้งหลายจงครอบครองบ้านเมืองกัน ตามสภาพที่เป็นจริงเถิด บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออกเหล่านั้นแล ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าจักรพรรดิ ต่อนั้น จักรแก้วนั้นได้พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศตะวันออกแล้วกลับ ขึ้นพัดผันไปทิศใต้ ฯลฯ พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศใต้แล้วกลับขึ้นพัดผันไปทิศตะวันตก ฯลฯ พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศตะวันตก แล้วกลับขึ้นพัดผันในทิศเหนือพระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จตามไปจักรแก้วประดิษฐานอยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิก็เสด็จเข้าประทับ ณ ประเทศนั้น พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาบรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือเข้ามาเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แล้วทูลอย่างนี้ว่า เชิญเสด็จเถิด มหาราชพระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราช ข้าแต่มหาราช แผ่นดินนี้เป็นของพระองค์ขอพระองค์จงครอบครอง พระเจ้าจักรพรรดิตรัสสั่งอย่างนี้ว่า ท่านทุกคนไม่ควรฆ่าสัตว์ไม่ควรลักทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ไม่ควรประพฤติผิดในกาม ไม่ควรพูดเท็จ จะไม่ควรดื่มน้ำเมา และท่านทั้งหลายจงครอบครองบ้านเมืองกันตามสภาพที่เป็นจริงเถิด บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือเหล่านั้นแล ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าจักรพรรดิ ก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแลจักรแก้วนั้นพิชิตยิ่งตลอดแผ่นดินมีสมุทรเป็นขอบเขต แล้วกลับมาสู่ราชธานี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 162
เดิม ประดิษฐานอยู่เป็นเสมือนลิ่มสลักพระทวารภายในพระราชวังของพระเจ้าจักรพรรดิทําให้งดงามอย่างมั่นคงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏจักรแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.
[๔๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อมปรากฏมีช้างแก้ว เป็นช้างหลวงชื่ออุโบสถ เผือกทั่วสรรพางค์กาย มีที่ตั้งอวัยวะทั้งเจ็ดถูกต้องดี มีฤทธิ์เหาะได้ ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรเห็นแล้ว ย่อมมีพระราชหฤทัยโปรดปรานว่า จะเป็นยานช้างที่เจริญหนอ พ่อมหาจําเริญ ถ้าสําเร็จการฝึกหัด ต่อนั้น ช้างแก้วันนี้จึงสําเร็จการฝึกหัดเหมือนช้างอาชาไนยตัวเจริญ ที่ฝึกปรือเป็นเวลานาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองช้างแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า เสด็จเวียนรอบปฐพีมีสมุทรเป็นขอบเขตแล้ว เสด็จกลับมาราชธานีเดิมทรงเสวยพระกระยาหารเช้าได้ทันเวลา ดูก่อนภิกษุทั้งหลายย่อมปรากฏช้างแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.
[๔๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อมปรากฏมีม้าแก้ว เป็นอัศวราชชื่อวลาหก ขาวปลอด ศีรษะดําเหมือนกาเส้นผมสลวยเหมือนหญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะได้ ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรเห็นแล้ว ย่อมมีพระราชหฤทัยโปรดปานว่า จะเป็นยานม้าที่เจริญหนอ พ่อมหาจําเริญ ถ้าสําเร็จการฝึกหัด ต่อนั้น ม้าแก้วนั้นจึงสําเร็จการฝึกหัดม้าอาชาไนยตัวเจริญ ที่ฝึกปรือดีแล้วเป็นเวลานาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองม้าแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า เสด็จเวียนรอบปฐพีมีสมุทรเป็นขอบเขตแล้ว เสด็จกลับมาราชธานีเดิม ทรงเสวยพระกระยาอาหารเช้าได้ทันเวลา ดูก่อนภิกษุทั้งหลายย่อมปรากฏม้าแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 163
ว่าด้วยมณีแก้ว
[๔๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อมปรากฏมีมณีแก้ว เป็นแก้วไพฑูรย์ งามโชติช่วง แปดเหลี่ยม อันเจียระไนไว้อย่างดี มีแสงสว่างแผ่ไปโยชน์หนึ่งโดยรอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมาแล้ว. พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองมณีแก้วนั้น จึงสั่งให้จตุรงคินีเสนายกมณีขึ้นเป็นยอดธง แล้วให้เคลื่อนพลไปในความมืดทึบของราตรี ชาวบ้านที่อยู่รอบๆ พากัน ประกอบการงานด้วยแสงสว่างนั้น สําคัญว่าเป็นกลางวันดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏมณีแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.
[๔๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อมปรากฏมีนางแก้วรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความงามแห่งผิวพรรณอย่างยิ่ง ไม่สูงนัก ไม่ต่ํานัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดํานัก ไม่ขาวนัก ล่วงผิวพรรณของมนุษย์ แต่ยังไม่ถึงผิวพรรณทิพย์ มีสัมผัสทางกายปานประหนึ่งสัมผัสปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย นางแก้วนั้น มีตัวอุ่นในคราวหนาว มีตัวเย็นในคราวร้อน มีกลิ่นดังกลิ่นจันทน์ฟุ้งไปแต่กาย มีกลิ่นดังกลิ่นอุบลฟุ้งไปแต่ปาก นางแก้วนั้นมีปกติคนก่อนนอนที่หลัง คอยฟังคําบรรหาร ประพฤติถูกพระทัย ทูลปราศรัยเป็นที่โปรดปรานต่อพระเจ้าจักรพรรดิ และไม่ประพฤติล่วงพระเจ้าจักพรรดิแม้ทางใจ ไฉนเล่า จะมีประพฤติล่วงทางกายได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏนางแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.
[๔๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อมปรากฏมีแต่คฤหบดีแก้ว ผู้มีจักษุเพียงดังทิพย์เกิดแต่วิบากของกรรมปรากฏ ซึ่งเป็นเหตุให้มองเห็นทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของ ทั้งที่ไม่มีเจ้าของได้ เขาเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ พระองค์จงทรงเป็นผู้ขวนขวาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 164
น้อยเถิดข้าพระองค์จักทําหน้าที่การคลังให้พระองค์ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองคฤหบดีแก้วนั้น จึงเสด็จลงเรือพระที่นั่งให้ลอยล่องกระแสน้ำกลางแม่น้ำคงคา แล้วตรัสสั่งกะคฤหบดีแก้วดังนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี ฉันต้องการเงินและทอง คฤหบดีแก้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้นโปรดเทียบเรือเข้าฝังข้างหนึ่งเถิด พระเจ้าจักรพรรดิตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ฉันต้องการเงินและทองตรงนี้แหละ ทันใดนั้น คฤหบดีแก้วจึงเอามือทั้ง ๒ หย่อนลงในนํา ยกหม้อเต็มด้วยเงินและทองขึ้นมา แล้วกราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิดังนี้ว่า ข้าแต่มหาราช พอหรือยังเพียงเท่านี้ ใช้ได้หรือยังเพียงเท่านี้ บูชาได้หรือยังเพียงเท่านี้ พระเจ้าจักรพรรดิจึงตรัสสั่งอย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี พอละ ใช้ได้แล้วบูชาได้แล้วเพียงเท่านี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏคฤหบดีแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.
ว่าด้วยปริณายกแก้ว
[๔๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อมปรากฏปริณายกแก้ว ปริณายกนั้นเป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา สามารถถวายข้อแนะนําให้พระองค์ทรงบํารุงผู้ที่ควรบํารุง ทรงถอดถอนผู้ที่ควรถอดถอน ทรงแต่งตั้งผู้ที่ควรแต่งตั้ง เขาเข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จักสั่งการถวาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏปริณนายกแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระจ้าจักรพรรดิย่อมทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ประการนี้ พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผล ๔ อย่างเป็นไฉน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 165
[๔๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิในโลกนี้ย่อมทรงพระศิริโฉมงดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความงามแห่งพระฉวีวรรณอย่างยิ่งเกินมนุษย์อื่นๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อแรกดังนี้.
[๔๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงพระชนมายุยืน ทรงดํารงอยู่นานเกินมนุษย์อื่นๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๒ ดังนี้.
[๔๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อมเป็นผู้มีพระโรคาพาธน้อย ไม่ทรงลําบาก ทรงประกอบด้วยพระเตโชธาตุย่อยพระกระยาหารสม่ําเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เกินมนุษย์อื่นๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๓ ดังนี้.
[๕๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักพรรดิย่อมทรงเป็นที่รักใคร่ พอใจ ของพราหมณ์และคฤหบดีเหมือนบิดาเป็นที่รักใคร่พอใจของบุตรฉะนั้น พราหมณ์และคฤหบดีก็เป็นที่โปรดปราน พอพระราชหฤทัยของพระเจ้าจักรพรรดิ เหมือนบุตรเป็นที่รักใคร่พอใจของบิดา ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาออกประพาสพระราชอุทายาน ทันทีนั้น พราหมณ์และคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระองค์แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะขอพระองค์อย่ารีบด่วน โปรดเสด็จโดยอาการที่พวกข้าพระองค์ได้ชมพระบารมีนานๆ เถิด แม้พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงสั่งสารถีว่า ดูก่อนสารถี ท่านอย่ารีบด่วน จงขับไปโดยอาการที่ฉันได้ชมบรรดาพราหมณ์และคฤหบดีนานๆ เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๔ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 166
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผล ๔ อย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้น เป็นไฉน พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ และความสัมฤทธิผล ๔ อย่างดังนี้พึงเสวยสุขโสมนัสอันมีสิ่งประกอบนั้นเป็นเหตุบ้างไหมหนอ.
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยแก้วแม้ประการหนึ่งๆ ก็ทรงเสวยสุขโสมนัสอันมีแก้วประการนั้น เป็นเหตุได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงแก้วทั้ง ๗ ประการ และความสัมฤทธิผลทั้ง ๔ อย่าง.
ว่าด้วยความสุขของพระเจ้าจักรพรรดิ
[๕๐๑] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหยิบแผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่เราถือนี้กับภูเขาหลวงหิมพานต์ อย่างไหนหนอแลใหญ่กว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่ทรงถือนี้มีประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบภูเขาหลวงหิมพานต์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้ความนับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้.
พ. ดูก่อนภิกษุทั่งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล พระเจ้าจักรพรรดินี้ทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการและความสัมฤทธิผล ๔ อย่าง ย่อมทรงเสวยสุขโสมนัสอันมีสิ่งประกอบนั้นเป็นเหตุได้ สุขโสมนัสนั้นเปรียบเทียบ สุขอันเป็นทิพย์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้การนับ ย่อมไม่เข้าถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 167
[๕๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นนั่นแล ถ้ามาสู่ความเป็นมนุษย์ ในบางครั้งบางคราวไม่ว่ากาลไหนๆ โดยล่วงระยะกาลนาน ก็ย่อมเกิดในสกุลสูง คือ สกุลกษัตริย์มหาศาล หรือสกุลพราหมณ์มหาศาล หรือสกุลคฤหบดีมหาศาล เห็นปานนั้นในบั้นปลาย อันเป็นสกุลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ และทรัพย์ธัญญาหารอย่างเพียงพอ และเขาจะเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความงามแห่งผิวพรรณอย่างยิ่ง มีปกติได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องตามประทีป เขาจะประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ครั้นแล้วเมื่อตายไปจะเช้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
ว่าด้วยภูมิของบัณฑิตครบบริบูรณ์
[๕๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนนักเลงการพนัน เพราะฉวยเอาชัยชนะได้ประการแรกเท่านั้น จึงบรรลุโภคสมบัติมากมาย การฉวยเอาชัยชนะของนักเลงการพนันที่บรรลุโภคสมบัติมากมายได้นั้นแล เพียงเล็กน้อยที่แท้แล การฉวยเอาชัยชนะใหญ่หลวงกว่านั้น คือ การฉวยเอาชัยชนะที่บัณฑิตนั้น ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต แล้วตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์นั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ภูมิของบัณฑิตครบถ้วนบริบูรณ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบพาลบัณฑิตสูตร ที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 168
อรรถกถาพาลบัณฑิตสูตร
พาลบัณฑิตสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลลกฺขณานิ (ลักษณะของคนพาล) ความว่า ที่ชื่อว่าพาลลักขณะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องกําหนด คือเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าผู้นี้เป็นคนพาล. พาลลักษณะเหล่านั้นแหละ ท่านเรียกว่า พาลนิมิต เพราะเป็นเหตุแห่งการหมายรู้ว่า ผู้นั้นเป็นคนพาล. เรียกว่า พาลาปทาน เพราะคนพาลประพฤติไม่ขาด. บทว่า ทุจฺจินฺติตฺจินฺตี (มักคิดความคิดที่ชั่ว) ความว่า ธรรมดาคนพาลแม้เมื่อคิดย่อมคิดแต่เรื่องชั่วๆ ด้วยอํานาจอภิชฌา พยาบาทและความเห็นผิดฝ่ายเดียว. บทว่า ทุพฺภาสิตภาสี (มักพูดคำพูดที่ชั่ว) ความว่า แม้เมื่อพูด ก็พูดแต่คําชั่วๆ ต่างโดยวจีทุจริตมีมุสาวาทเป็นต้น. บทว่า ทุกฺกฏกมฺมการี (มักทำการทำที่ชั่ว) ความว่า แม้เมื่อทําก็ทําจําเพาะแต่กรรมชั่วๆ ด้วยสามารถแห่งกายทุจริต มีปาณาติบาต เป็นต้น.
บทว่า ตตฺร เจ (ในที่นั้นๆ ) ได้แก่ในบริษัทที่คนพาลนั่งแล้วนั้น. บทว่า ตชฺชํ ตสฺสารุปฺปํ (ที่พอเหมาะพอสมแก่กรรมชั่วนั้น) ความว่า จะพูดด้วยถ้อยคําที่พอเหมาะแก่เขา คือเหมาะสมแก่เขา อธิบายว่า ได้แก่ถ้อยคําที่ปฏิสังยุตด้วยโทษ ทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน และสัมปรายิกภพของเวรทั้ง ๕. บทว่า ตตฺร (ในเรื่องที่พูดกันนั้น) ได้แก่ถ้อยคําที่พูดถึงกันอยู่นั้น.บทว่า พาลํ (คนพาล) เป็นต้น เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ.
บทว่า โอลมฺพนฺติ (ย่อมแผ่ไป) ความว่า ย่อมเข้าไปตั้งอยู่. สองบทที่เหลือเป็นไวพจน์ของ บทว่า โอลมฺพนฺติ นั้น ลักษณะคนพาลเหล่านั้น ย่อม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 169
ปรากฏโดยอาการที่การแผ่ไปเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า ปวิยา โอลมฺพนฺติ (ย่อมแผ่ไป... แผ่นดิน) ได้แก่แผ่ไปบนพื้นดิน สองบทที่เหลือก็เป็นไวพจน์ของบทนั้นแหละ. ก็ข้อนั้นเป็นอาการที่แผ่ไป. บทว่า ตตฺร ภิกฺขเว พาลสฺส (ภิกษุทั้งหลายในสมัยนั้น คนพาล) ความว่า เมื่อปรากฏการณ์นั้นมาถึง แต่นั้นคนพาลย่อมมีความคิดอย่างนี้.บทว่า เอตทโวจ (ได้กราบทูลดังนี้... ดังนี้) ความว่า ภิกษุผู้ฉลาดในอนุสนธิคิดว่าใครๆ ไม่สามารถจะทําข้ออุปมาของนรกได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ตรัสไว้ แต่ตรัสว่า มิใช่ของที่ทําได้โดยง่าย และถึงจะทําได้ง่ายก็ไม่มีผู้สามารถจะทําได้ เอาเถิด เราจะทูลเชิญให้พระทศพลทรงกระทําข้ออุปนาดังนี้ แล้วได้กล่าวคํานี้ว่า เอตํ สกฺกภนฺเต (ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาจเปรียบเทียบได้ไหม) ดังนี้.
บทว่า หเนยฺยุํ (แทง) ความว่า พึงฆ่าแบบแทงซ้ำสองครั้งในที่เดียวกัน ไม่ให้ถึงตาย โดยวิธีแทงซ้ำแล้วก็ไป. เพราะฉะนั้นโจรนั้นจึงมีปากแผลถึง ๒๐๐แห่ง. แม้บทที่มีจํานวนยิ่งไปกว่านี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ปาณิมตฺตํ (ขนาดเท่าฝ่ามือ) ได้แก่ มีขนาดเพียงตั้งอยู่ในฝ่ามือ. บทว่า สงฺขํปิ น อุเปติ (ย่อมไม่ถีงแม้การนับ) แปลว่า ไม่ถึงขนาดที่พอจะนับได้. บทว่า กลฺลภาคมฺปิ (แม้ส่วนแห่งเสี้ยว) ความว่า ไม่ถึงขั้นที่ควรจะกล่าวว่า เข้าถึงเสี้ยวที่ร้อย เสี้ยวที่พัน หรือเสี้ยวที่แสน. บทว่า อุปนิธํปิ (แม้การเทียบกันได้) ได้แก่ ไม่ถึงการเข้าไปเปรียบเทียบ คือไม่มีแม้แต่คนที่เหลียวมอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโยขีลํ (ตะปูเหล็ก) ความว่า จะให้สัตว์นรกผู้มีอัตภาพ ๓ คาวุตนอนหงายบนแผ่นโลหะที่ลุกโพลง เอาหลาวเหล็กประมาณเท่าลําตาลสอดเข้าไปในมือข้างขวา ในมือซ้ายเป็นต้น ก็ทําอย่างนั้น แล้วให้นอนคว่ําบ้าง นอนตะแคงขวาบ้าง ตะแคงซ้ายบ้าง โดยลงโทษเหมือนอย่างที่นอนหงายแล้วลงโทษแบบเดียวกัน. บทว่า สํเวสิตฺวา (จับ... ขึงพึด) ความว่า นายนิรยบาลจะจับสัตว์นรก ผู้มีอัตภาพ ๓ คาวุตให้นอนบนแผ่นโลหะที่ลุกโพลง.บทว่า กุารีหิ (เอาขวาน) ความว่า จะถากด้วยผึ่งใหญ่ขนาดครึ่งหลังคาเรือน. โลหิต
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 170
จะไหลเป็นน้ำ โลหิตจะพลุ่งขึ้นจากแผ่นดินเป็นเปลวไฟจดถึงที่ๆ เขาถากแล้ว.ทุกข์อย่างใหญ่หลวงจะเกิดขึ้น และเมื่อจะถากก็ถากทําให้เป็นเส้นบรรทัดถากออกเป็น ๘ เสี่ยงบ้าง ๖ เสี่ยงบ้าง ดุจถากฟืน. บทว่า วาสีหิ (ด้วยพร้า) ได้แก่ มีดที่มีประมาณเท่ากระด้งขนาดใหญ่. เมื่อถากด้วยมีดเหล่านั้น ก็ถากตั้งแต่หนังไปจนถึงกระดูก อวัยวะที่ถากออกแล้วๆ ย่อมกลับตั้งอยู่ตามปกติ. บทว่า รเถโยเชตฺวา (เทียมรถแล้ว) ความว่า เทียมรถที่ลุกโพลงโดยประการทั้งปวง พร้อมทั้งเชือกคู่ช่วงล้อ ธูป และปฏัก. บทว่า มหนฺตํ (ลูกใหญ่) ได้แก่ มีประมาณเท่าเรือนยอดขนาดใหญ่. บทว่า อาโรเปนฺติ (ให้... ปีนขึ้น) ความว่า นายนิรยบาลจะโบยด้วยค้อนเหล็กที่ลุกโพลงแล้วบังคับให้สัตว์นรกปีนขึ้น. บทว่า สกิํปิ อุทฺธํ (ขึ้นข้างบนครั้งหนึ่งบ้าง) ความว่า เขาจะพล่านขึ้นข้างบนบ้าง ข้างล่างบ้าง ด้านขวางบ้าง เหมือนเมล็ดข้าวสารที่เขาใส่ไปในหม้อข้าวที่กําลังเดือดพล่าน.
บทว่า ภาคโส มิโต (จัดไว้โดยเป็นส่วนๆ) ได้แก่แบ่งแยกไว้เป็นส่วนเท่าๆ กัน. บทว่า ปริยนฺโต (ล้อมรอบ) แปลว่า ล้อมรอบ. บทว่า อยสา (ด้วยแผ่นเหล็ก) ความว่า ข้างบนครอบไว้ด้วยแผ่นเหล็ก. บทว่า สมนฺตา โยชนสตํ ผริตฺวา ติฏติ (แผ่ไปตลอดร้อยโยชน์รอบด้าน) ความว่าแผ่ไปแล้วอย่างนี้ ตั้งอยู่ เหมือนนัยน์ตาของผู้ที่ยืนมองดูอยู่ในที่ไกลประมาณ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ จะทะเล้นออกมาเหมือนลูกกลมๆ ทั้งคู่. บทว่า น สุกรํ อกฺขาเนน ปาปุณิตุํ (เปรียบเทียบกันด้วยการบอกกล่าวได้ไม่ง่าย) มีอธิบายว่า แม้ถึงจะกล่าวพรรณนาไปตั้ง ๑๐๐ ปีพันปี จนถึงทีสุดว่า ขึ้นชื่อว่านรกเป็นทุกข์แม้อย่างนี้ ไม่ใช่เป็นของที่ทําได้โดยง่าย. บทว่า ทนฺตุลฺเลหกํ (ให้ฟันและเล็ม) แปลว่า ใช้ฟันและเล็บอธิบายว่า ถอนขึ้นด้วยฟัน. บทว่า รสาโท (ผู้กินอาหารด้วยความติดใจรส) ได้แก่ บริโภคด้วยติดใจในรส โดยความอยากในรสอาหาร. บทว่า อฺมฺขาทิกา (มีแต่สัตว์นรกที่กินกันเอง) แปลว่า มีแต่การกินกันเอง. บทว่า ทุพฺพณฺโณ (มีผิวพรรณทราม) แปลว่า มีรูปทราม. บทว่า ทุทฺทสิโก (น่าเกลียดชัง) ได้แก่มีรูปน่าเกลียดชังดุจยักษ์ที่เขาปั้นไว้เพื่อหลอกให้เด็กกลัว. บทว่า โอโกฏิมโก (ร่างม่อต้อ) ได้แก่ เป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 171
ร่างเตี้ย คอสั้น ท้องพลุ้ย. บทว่า กาโณ (เป็นคนตาบอด) ได้แก่ เป็นคนตาบอดข้างเดียวหรือตาบอดสองข้าง. บทว่า กุณี (เป็นคนง่อย) ได้แก่ คนที่มือด้วนข้างหนึ่ง หรือมีมือด้วนสองข้าง. บทว่า ปกฺขหโต (เป็นคนเปลี้ย) แปลว่า เป็นคนง่อยเปลี้ย. บทว่า โส กาเยน (คนพาลนั้นประพฤติกายทุจริต) เป็นต้นนี้ ท่านปรารภไว้เพื่อแสดงถึงการเข้าไปผูกพันกับความทุกข์ของสัตว์นรกนั้น. บทว่า กลิคฺคเหน (เพราะความเคราะห์ร้าย) แปลว่า ด้วยความพ่ายแพ้. บทว่า อธิพนฺธํ นิคจฺ เฉยฺย (ต้องถึงถูกจองจำ) ความว่า เพราะสมบัติทุกอย่างเป็นจํานวนมากของผู้แพ้ยังไม่พอให้ผู้ชนะ ฉะนั้นเขาจึงต้องถูกจองจําอีกด้วย. บทว่า เกวลา ปริปูราพาลภูมิ (เป็นภูมิของคนพาลครบถ้วนบริบูรณ์) ความว่า คนพาลบําเพ็ญทุจริต ๓ อย่าง บริบูรณ์แล้ว ย่อมบังเกิดในนรก แต่ด้วยเศษแห่งกรรมที่เหลือในนรกนั้น แม้เขาจะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็ต้องเกิดในตระกูลต่ําทั้ง ๕ และถ้ายังทําทุจริต ๓ อีก ก็ต้องบังเกิดในนรก ทั้งหมดนี้เป็นพื้นของคนพาลอย่างสมบูรณ์.
บทมีอาทิว่า ปณฺฑิตลกฺขณานิ (ลักษณะของบัณฑิต) พึงทราบโดยทํานองดังกล่าวแล้วนั้นแหละ. ก็บททั้งหลายมีอาทิว่า สุจินฺติตจินฺตี (มักคิดความคิดที่ดี) ในนิเทศนี้พึงประกอบเข้าด้วยสามารถแห่งมโนสุจริตเป็นต้น. บทว่า สีสนหาตสฺส (ทรงสรงสนานพระเศียร) ได้แก่ทรงสนานพระเศียรด้วยน้ำหอม. บทว่า อุโปสถิกสฺส (ทรงรักษาอุโบสถ) ได้แก่ทรงสมาทานองค์อุโบสถแล้ว. บทว่า อุปริปาสาทจรคตสฺส (ประทับอยู่ในพระมหาประสาทชั้นบน) แปลว่า เมื่อประทับอยู่ในมหาปราสาทชั้นบน คือทรงเสวยสุธาโภชน์เสด็จเข้าสู่ห้องอันมีสิริ บนพื้นอันโอ่โถง เบื้องบนมหาปราสาททรงรําพึงถึงศีลทั้งหลายอยู่.
เล่ากันว่า ครั้งนั้น พระราชา พอรุ่งเช้าก็สละพระราชทรัพย์หนึ่งแสนถวายมหาทานสนานพระเศียรด้วยคันโธทก ครั้งละ ๑๖ หม้อ เสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ทรงเฉวียงบ่าด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์ นั่งขัดสมาธิบนพระที่บรรทมอันมีสิริชั้นบนปราสาทประทับ นั่งรําพึงถึงกองบุญคือ ทาน ความข่มใจและความสํารวมของพระองค์. นี้เป็นธรรมดาของพระเจ้าจักรพรรดิทั้งปวง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 172
เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิเหล่านั้น กําลังพิจารณาถึงกองบุญอยู่นั่นเองทิพยจักรรัตนะมีบุญกรรมมีประการดังกล่าวแล้วเป็นปัจจัย มีฤดูเป็นสมุฏฐาน มีลักษณะคล้ายกับก้อนแก้วมณีสีเขียวก็ปรากฏขึ้นดุจแหวกพื้นน้ำมหาสมุทรขึ้นมาทางปาจีนทิศ อุปมาดังจะทําห้วงนภากาศให้งดงาม. ก็จักรัตนะนั้น ท่านเรียกว่า เป็นทิพย์ เพราะประกอบไปด้วยอานุภาพอันเป็นทิพย์. ขึ้นชื่อว่าสหัสสาระเพราะมีกําตั้งพัน ชื่อว่า สนาภิกํ สเนมิกํ (พร้อมทั้งกงและดุม) เพราะประกอบไปด้วยกงและดุม. ชื่อว่า สพฺพาการปริปูรํ (บริบูรณ์ด้วยเครื่องประกอบทุกอย่าง) เพราะบริบูรณ์ไปด้วยอาการทุกอย่าง.
พึงทราบวินัยในอาการเหล่านั้นดังต่อไปนี้ ชื่อว่า จักรรัตนะ เพราะเป็นจักรและเป็นทั้งรัตนะด้วยอรรถว่ายังความยินดีในเกิด. ก็ดุมของจักรรัตนะที่ท่านกล่าวว่า พร้อมไปด้วยดุมนี้นั้น ล้วนแล้วไปด้วยแก้วอินทนิล. ก็ตรงกลางดุมนั้น มีช่องสําเร็จด้วยเงินงามผุดผาดเหมือนการยิ้มสรวลของมีระเบียบฟันสะอาดแนบสนิทดี. และล้อมไปด้วยแผ่นเงินทั้งสองด้าน. คือทั้งด้านนอกและด้านในดุจมณฑลแห่งดวงจันทร์ที่มีช่องตรงกลางฉะนั้น. ก็ในที่ซึ่งแผ่นเงินแวดวงไปด้วยดุมและช่องเหล่านั้น ปรากฏว่ามีรอยเขียนที่กําหนดไว้ในฐานที่เหมาะสม ได้ถูกจัดไว้แล้วเป็นอย่างดี นี้เป็นความบริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่างของดุมแห่งจักรรัตนะนั้นก่อน.
ก็จักรรัตนะที่ท่านกล่าวว่ามีซี่ตั้งพัน ประกอบไปด้วยซี่เหล่าใด ซี่เหล่านั้นสําเร็จด้วยรัตนะ ๗ สมบูรณ์ด้วยรัศมี ดุจรัศมีแห่งดวงอาทิตย์. แม้ซี่เหล่านั้นก็ปรากฏว่าได้จําแนกไว้แล้วเป็นอย่างดีเหมือนกัน เช่นลายเขียนที่เขียนเป็นหม้อน้ำแก้วมณีเป็นต้น. นี้เป็นความบริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่างของซี่ทั้งหลายแห่งจักรรัตนะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 173
ก็จักรรัตนะที่ท่านกล่าวว่าพร้อมด้วยกง ประกอบไปด้วยกงใด กงนั้นสําเร็จแก้วประพาฬ มีสีแดงบริสุทธิ์น่ารัก เหมือนจะเย้ยกลุ่มรัศมีแห่งดวงอาทิตย์ที่กําลังทอแสงฉะนั้น.
ก็ที่ต่อของกงนั้น เป็นแผ่นทองชมพูนุทสีแดงมีชื่อเสียงน่าชื่นชมและมีลายเขียนเป็นวงกลมปรากฏว่า ท่านจัดแจงไว้แล้วเป็นอย่างดี นี้เป็นความบริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่างของดุม แห่งทิพยจักรรัตนะนั้น.ก็ด้านหลังมณฑลของดุมแห่งทิพยจักรรัตนะ มีไม้สําเร็จด้วยแก้วปะพาฬ เหมือนหลอดไม้อ้อที่มีช่องข้างใน ประดับเป็นวงกลมๆ อยู่ที่กําข้างละสิบๆ ไม้สําเร็จด้วยแก้วประพาฬใด เวลาลมพัดโชยจะเปล่งเสียงไพเราะก่อให้เกิดความรัญจวนใจ เพลิดเพลิน เหมือนเสียงของดนตรีมีองค์ ๕ ที่บรรเลงโดยศิลปินผู้เชี่ยวชาญฉะนั้น. ก็ไม้สําเร็จด้วยแก้วประพาฬนั้นแหละ. มีเศวตฉัตรอยู่ข้างบน มีพวงดอกโกสุมรวมกลุ่มเป็นระเบียบทั้งสองด้าน ด้วยประการดังพรรณนามานี้ จึงมีสีหบัญชรสองด้าน ภายในกําแห่งดุมทั้งสองของทิพยจักรรัตนะอันแวดวงไปด้วยกง ที่เข้าไปเสริมความสง่างามด้วยไม้สําเร็จด้วยแก้วประพาฬหนึ่งร้อย สําหรับทรงไว้ซึ่งเศวรฉัตรหนึ่งร้อย มีพวงโกสุมปกคลุมเป็นระเบียบถึงสองร้อยเป็นบริวาร ซึ่งมีกลุ่มแห่งแก้วมุกดาทั้งสองห้อยย้อยอยู่ ดูประหนึ่งจะงามเกินความงามตามธรรมชาติของอากาศคงคา มีสิริด้วยกลุ่มแสงจันทร์วันเพ็ญที่สาดแสงไปประมาณชั่วลําตาล สุดลงด้วยกลุ่มผ้ากําพลสีแดงเหมือนแสงพระอาทิตย์อ่อนๆ จักรทั้ง ๓ ปรากฏว่าเหมือนหมุนไปพร้อมๆ กัน โดยการหมุนผัดผันไปในอากาศพร้อมด้วยจักรรัตนะ. นี้เป็นความบริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง โดยประการทั้งปวงของจักรรัตนะนั้น.
ก็เมื่อพวกมนุษย์บริโภคอาหารมื้อเย็น ตามปกติเสร็จแล้วนั่งบนอาสนะ.ที่เขาปูไว้ บนประตูเรือนของตนๆ สนทนากันอยู่ถึงเหตุการณ์เรื่องราวตามที่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 174
เป็นไป เมื่อหมู่ทารกผู้ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ําเกินไป (รุ่นเยาว์) กําลังเล่นอยู่ในถนนและทางสี่แพร่งเป็นต้น ทิพยจักรรัตนะนั้นแล ก็เดินทางมุ่งหน้ามายังราชธานี ประดุจเข้าไปส่งเสริมความงาม กิ่งไม้ยอดไม้ เพิ่มบรรยากาศจนสุดบริเวณในไพรสณฑ์ ชวนให้หมู่สัตว์เงี่ยโสดสดับด้วยเสียงอันไพเราะ ฟังได้ไกลถึง ๑๒ โยชน์ ชวนให้มองโดยมีแสงสีรุ่งเรืองเป็นเหตุให้เกิดรัศมีมีประการต่างๆ เห็นได้ไกลโยชน์หนึ่ง ดุจประกาศบุญญานุภาพแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ.
ครั้นจักรรัตนะนั้น ส่งสําเนียงไปทั่วป่านั่นเอง คนเหล่านั้นครุ่นคิดอยู่ว่า เสียงนี้มาแต่ไหนหนอ ต่างก็แหงนดูไปทางทิศบูรพา ต่างคนต่างพูดกันอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงดูสิ่งอัศจรรย์ทุกๆ คืนพระจันทร์เพ็ญขึ้นดวงเดียว แต่วันนี้ขึ้นสองดวง ก็ดวงจันทร์ทั้งคู่นี้ เคลื่อนคล้อยขึ้นไปสู่นภากาศโดยมุ่งไปทางทิศบูรพา อุปมาเหมือนพญาหงส์ทั้งคู่ ร่อนอยู่ในนภากาศฉะนั้น. อีกพวกหนึ่งกล่าวค้านว่า สหายท่านพูดอะไร พระจันทร์สองดวงขึ้นพร้อมกันท่านเคยเห็นที่ไหนบ้าง นั่นคือพระอาทิตย์ผู้ทรงไว้ซึ่งรัศมีอันแผดกล้า มีสีแดงเหลืองโผล่ขึ้นมาแล้วมิใช่หรือ อีกพวกหนึ่ง กล่าวถากถางเยาะเย้ยพวกนั้นว่า ท่านเป็นบ้าไปแล้วหรือ พระอาทิตย์เพิ่งจะตกไปเดี๋ยวนี้เองมิใช่หรือ พระอาทิตย์นั้น จะขึ้นตานพระจันทร์เพ็ญดวงนี้ได้อย่างไร แต่นี่จะต้องเป็นวิมานของท่านผู้มีบุญคนหนึ่ง จึงรุ่งเรืองไปด้วยแสงสว่างแห่งรัตนะมิใช่น้อย. คนเหล่านั้นแม้ทั้งหมดต่างฝ่ายต่างเห็นไปคนละอย่าง คนพวกหลังจึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกท่านทั้งหลายพูดเพ้อเจ้อให้มากเรื่องไปทําไม นั่นไม่ใช่พระจันทร์เพ็ญ ไม่ใช่ควงอาทิตย์ ไม่ใช่วิมานของเทพ ที่แท้สิริสมบัติเห็นปานนี้ มิได้เกิดขึ้นเพื่อสิ่งเหล่านั้น แต่สิ่งนั้นชะรอยจักเป็นจักรรัตนะ.
เมื่อการเจรจาโต้เถียงยังดําเนินไปอยู่เช่นนี้ จักรรัตนะนั้นก็ละจันทมณฑลมุ่งตรงมา. แต่นั้นเมื่อคนเหล่านั้นพูดกันว่า จักรรัตนะนี้ บังเกิดขึ้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 175
เพื่อใครหนอแล ก็มีผู้พูดขึ้นว่า จักรรัตนะนี้มิได้เกิดขึ้นแก่ผู้ใดใครอื่น มหาราชของพวกเราทั้งหลายทรงบําเพ็ญความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิสมบูรณ์แล้ว จักรรัตนะนี้บังเกิดเป็นคู่บุญบารมีของพระองค์แน่นอน.
ลําดับนั้น ทั้งมหาชนกลุ่มนั้น ทั้งคนอื่นๆ ที่มองเห็น ทุกๆ คน ก็เดินตามจักรรัตนะไปเรื่อยๆ. แม้จักรรัตนะนั้นก็เวียนรอบพระนครไปจนสุดกําแพงที่เดียว เจ็ดรอบ เหมือนหนึ่งจะประกาศให้คนทั่วไปรู้ข้อที่ตนลอยมาเพื่อเป็นสมบัติของพระราชาพระองค์เดียว กระทําประทักษิณภายในพระราชวังของพระราชาแล้ว ประดิษฐานอยู่ในที่คล้ายสีหบัญชรด้านทิศอุดรของพระราชวัง เหมือนถูกไม้สลักขัดไว้ เพื่อให้มหาชนบูชาด้วยเครื่องสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้นได้โดยสะดวก.
ก็เมื่อทิพยจักรรัตนะนั้น ตั้งอยู่ด้วยประการฉะนั้นแล้ว พระราชาธิบดีเห็นกองรัศมี มีพระทัยปรารถนาที่จะทอดพระเนตรชมฉัตรแก้วที่เข้าไปทางช่องแห่งสีหบัญชร กระทําให้ภายในปราสาทรุ่งเรืองด้วยรัศมีแก้ว ก่อให้เกิดความยินดีมีประการต่างๆ แม้หมู่ชนที่ห้อมล้อม ก็พากันกราบทูลมูลเหตุแห่งจักรรัตนะนั้น ด้วยถ้อยคําล้วนแต่น่ารัก กาลนั้นพระราชาธิบดีมีพระวรกายท่วมล้นไปด้วยปิติปราโมทย์อย่างแรงกล้า มีพระอุตสาหะละเสียซึ่งบัลลังก์ทรงอุฏฐานการจากอาสนะ เสด็จไปสู่ที่ใกล้สีหบัญชรทอดพระเนตรเห็นจักรแก้วแล้วจึงทรงจินตนาการว่า ก็เราได้ยินคําโบราณท่านเล่ามาว่า ฯลฯ ดังนี้เป็นอาทิ.เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้วจึงทรงมีพระดําริว่า ฯลฯ เราพึงได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิแน่นอนดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส โหติ ราชา จกฺกวตฺติ (พระราชาย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์) ความว่าถามว่าพระราชาย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 176
ตอบว่า ด้วยเหตุเพียงจักรรัตนะเหาะขึ้นสู่อากาศ เพียงองคุลีหนึ่งก็ได้สององคุลีก็ได้.
บัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงข้อที่พระราชาพึงการทําในวิธีปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จึงตรัสคำมีอาทิว่า อถ โข ภิกฺขเว (ภิกษุทั้งหลาย จากนั้น) ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏายาสนา (เสด็จลุกจากราชอาสน์) ได้แก่ ทรงลุกจากอาสนะที่ประทับนั่งเสด็จมาใกล้จักรรัตนะ. บทว่า สุวณฺณภิงฺคารํ คเหตฺวา (ทรงจับพระเต้าน้ำ) ความว่า ทรงยกสุวรรณภิงคาร มีช่องคล้ายงวงช้าง ทรงจับเต้าน้ำด้วยพระหัตถ์ซ้าย (ทรงหลั่งรดจักรแก้วด้วยพระหัตถ์ขวา) รับสั่งว่า จงพัดผันไปเถิดจักรแก้วผู้เจริญ จงมีชัยชนะอย่างผู้ยิ่งใหญ่เถิดจักรแก้วผู้เจริญ. บทว่า อนฺวเทว ราชา จกฺกวตฺติสิทฺธึ จาตุรงฺคินิยา เสนาย (พระเจ้าจักรพรรดิ์พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาก็เสด็จตามไป) ความว่า ก็ในขณะที่พระราชาทรงหลั่งน้ำ มุ่งความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แล้วรับสั่งว่า จงมีชัยชนะอย่างผู้ยิ่งใหญ่เถิดจักรแก้วผู้เจริญนั่นแหละ จักรแก้วก็ลอยขึ้นสู่เวหาส พัดผันไป. พระราชานั้นย่อมได้ชื่อว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิตลอดเวลาที่จักรแก้วพัดผันไป. ก็เมื่อจักรแก้วพัดผันไปแล้ว พระราชาผู้กําลังติดตามจักรแก้วนั้นไปเรื่อยๆ ก็เสด็จขึ้นสู่ยานอัน ประเสริฐของพระเจ้าจักรพรรดิ เหาะขึ้นสู่เวหาสด้วยประการฉะนี้.
ลําดับนั้น คนผู้เป็นบริวาร และข้าราชการในราชสํานักของพระองค์ต่างก็ถือฉัตรและจามรเป็นต้น ถัดจากนั้นไปก็ถึงกลุ่มอิสรชนจําเดิมแต่อุปราชเสนาบดี พรั่งพร้อมไปด้วยกําลังทัพของพระองค์ที่ตกแต่งเครื่องสนาม (ผูกสอด) มีเสื้อเกราะและเกราะ ๖ ประการเป็นนี้ ประดับด้วยธงชัย ธงแผ่นผ้าที่ยกขึ้นโชติช่วงพร้อมไปด้วยแสงสีที่นํามาประดับหลายสิ่งหลายประการ ต่างเหาะขึ้นสู่เวหาสห้อมล้อมพระราชาเพียงผู้เดียว. ก็เพื่อจะสงเคราะห์ประชาชนพวกพนักงานของพระราชา จึงป่าวประกาศไปทั่วทุกถนนในพระนครว่า พ่อแม่ทั่งหลาย จักรแก้วเกิดแล้วแก่พระราชาของพวกเรา พวกท่านจงรีบจัดแจงแต่ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 177
ตัวตามฐานานุรูปของตนๆ เร่งมาประชุมกันเถิด. ก็มหาชนต่างละการงานทุกอย่างที่ต้องทําตามปกติ ถือเครื่องสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น ประชุมกันแล้ว ตามเสียงแห่งจักรแก้วนั่นแหละ แม้มหาชนทั้งหมดนั้น ก็เหาะขึ้นสู่เวหาส แวดล้อมพระราชาพระองค์เดียว คือผู้ใดประสงค์จะเดินทางร่วมไปกับพระราชา ผู้นั้นก็ไปทางอากาศ ด้วยประการฉะนี้. จึงมีบริษัทมาประชุมกันทั้งด้านยาว ด้านกว้างประมาณ ๑๒ โยชน์ ในบริษัทนั้นไม่มีแม้แต่คนเดียวที่จะมีอวัยวะพิกลพิการ หรือนุ่งห่มเศร้าหมอง พระราชาจึงมีบริวารที่สะอาดธรรมดาบริษัทของพระเจ้าจักรพรรดิเดินทางไปทางอากาศ เหมือนบริษัทของวิทยาธร ย่อมเป็นเช่นกับรัตนะที่เกลื่อนกล่นอยู่บนพื้นแก้วอินทนิล เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจาตุรงคินีเสนา ก็เสด็จตามไป
แม้จักรรัตนะนั้นก็พัดผันไป โดยอากาศประเทศ ไม่สูงเกินไป อยู่ในระดับยอดไม้ สามารถให้คนหมายรู้ได้ว่า นั่นพระราชา นั่นอุปราช นั่นเสนาบดี อุปมาเหมือนคนที่ต้องการดอกไม้ ผลไม้ หรือใบไม้ ยืนอยู่ที่พื้นดินก็สามารถจะเก็บเอาสิ่งของเหล่านั้นได้โดยสะดวก. ผู้ใดประสงค์จะไปในอิริยาบถใด มียืนเป็นต้น ผู้นั้นก็ไปได้โดยอิริยาบถนั้น. ส่วนผู้ที่จะสนใจในศิลปะมีจิตรกรรมเป็นต้น ต่างก็ดําเนินธุรกิจของตนๆ ไปได้ในอากาศนั้น. ที่พื้นดินเคยดําเนินธุรกิจอย่างใด ในอากาศก็สามารถดําเนินธุรกิจทุกอย่างได้ฉันนั้นจักรรัตนะนั้น พาบริษัทของพระเจ้าจักรพรรดิ เลาะลัดเขาสิเนรุราชไปทางด้านซ้ายผ่านพื้นมหาสมุทรไปจนถึงกรุงบุพวิเทหะ ประมาณได้ ๘,๐๐๐ โยชน์.จักรรัตนะนั้นประดิษฐานอยู่บนอากาศ เหมือนถูกลิ่มสลักไว้เบื้องบนภูมิภาคทีเหมาะแก่การชุมนุมของบริษัทกว้าง ๑๒ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๓๖ โยชน์หาอุปกรณ์ทําอาหารได้สะดวก สมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำมีพื้นที่สะอาดราบเรียบน่ารื่นรมย์ กาลนั้น มหาชนลงแล้วโดยสัญญาณนั้นทํากิจทุกอย่าง เช่นอาบน้ำ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 178
บริโภคอาหารเป็นต้น อยู่กันตามใจชอบ. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าจักรแก้วประดิษฐานอยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิก็เสด็จเข้าประทับณ ประเทศนั้น พร้อมด้วยจาตุรงคินีเสนา.
ก็เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จเข้าไปประทับอยู่อย่างนี้ พระราชาในประเทศนั้นๆ พอได้สดับว่าจักรมาแล้ว ก็สั่งประชุมพลนิกายไม่เตรียมรบ ก็ในระหว่างที่จักรรัตนะเกิดขึ้นแล้วนั้นแล ไม่มีผู้ใดจะกล้าหยิบอาวุธขึ้นต่อสู้พระราชาโดยหมายเป็นข้าศึก. นี่เป็นอานุภาพของจักรรัตนะ.
ก็ด้วยอานุภาพของจักร อริราชศัตรูของพระราชาพระองค์นั้น ย่อมถึงความสงบไปโดยไม่เหลือ ด้วยเหตุนั้นเองจักรของพระราชาธิบดีพระองค์นั้น จึงเรียกว่า อรินทมะ.
เพราะฉะนั้น พระราชาเหล่านั้นทุกๆ พระองค์ ต่างก็ถือเอาสมบัติที่สมควรแก่สิริราชสมบัติของตนๆ น้อมเศียรสยบองค์พระเจ้าจักรพรรดิ กระทําการบูชาพระบาทของพระองค์ ด้วยวิธีปราบดาภิเษกด้วยแสงสว่างแห่งแก้วมณีที่พระโมฬีของตน ถึงการยอมจํานนด้วยกล่าวคําเป็นต้นว่า เชิญเสด็จเถิดมหาราชดังนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคําเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออก เข้ามาเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทูลอย่างนี้ว่า เชิญเสด็จเถิดมหาราช พระองค์มาดีแล้ว มหาราช แผ่นดินนี้เป็นของพระองค์ ขอพระองค์จงทรงปกครองเถิด ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า สฺวาคตํ แปลว่า เสด็จมาดี. มีอธิบายว่า เมื่อพระราชาพวกหนึ่งเสด็จมา ชาวประชาโศกเศร้า เมื่อเสด็จไปชาวประชาชื่นชม เมื่อพระราชา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 179
บางพระองค์เสด็จมา ชาวประชาชื่นชม เมื่อเสด็จไป ชาวประชาโศกเศร้า พระองค์เป็นเสมือนพระราชาประเภทหลัง คือเมื่อเวลาเสด็จมา ชาวประชาชื่นชม เวลาเสด็จไป ประชาชนโศกเศร้า เพราะฉะนั้น การเสด็จมาของพระองค์จึงชื่อว่า เสด็จมาดี. ก็เมื่อพวกเจ้าประเทศราชกราบทูลเช่นนี้แล้ว แม้พระเจ้าจักรพรรดิก็มิได้ตรัสว่า พวกท่านต้องส่งบรรณาการแก่เรา ตลอดเวลาเท่านี้ปี ทั้งไม่ทรงริบสมบัติของคนหนึ่งๆ ไปให้อีกคนหนึ่ง แต่ทรงเข้าไปกําหนดอกุศลกรรมบถมีปาณาติบาตเป็นต้น ด้วยปัญญาอันสมควรแก่ภาวะที่พระองค์เป็นธรรมราชา ทรงแสดงธรรมด้วยพระสุระเสียงอันน่ารัก น่าชอบใจโดยนัยเป็นต้นว่า ขึ้นชื่อว่า ปาณาติบาตนี้ ใครส้องเสพ เจริญทําให้มากย่อมเป็นไปเพื่อนรก แล้วประกาศพระโอวาทมีอาทิว่า ไม่ควรฆ่าสัตว์ดังนี้.ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระเจ้าจักรพรรดิตรัสสั่งอย่างนี้ว่า ท่านทุกคนไม่ควรฆ่าสัตว์ ฯลฯ ท่านทั้งหลายจงครอบครองบ้านเมืองตามที่เห็นควรเถิดดังนี้.
ถามว่า ก็พระราชาทุกพระองค์ยอมรับโอวาทนี้ของพระราชาธิบดีหรือ.
ตอบว่า พระราชาทุกพระองค์ไม่รับโอวาทนี้ของพระพุทธองค์มาก่อน จักรับโอวาทของพระราชาอย่างไรได้ เพราะฉะนั้น พระราชาเหล่าใด เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง พระราชาเหล่านั้นยอมรับ และเมื่อพระราชาทุกพระองค์ประพฤติตาม ย่อมเจริญ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคํามีอาทิว่า เย โข ปน ภิกฺขเว ดังนี้. ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิ พระราชทานพระโอวาทแก่ชาวเมืองบุพวิเทหะอย่างนี้ เสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว จักรรัตนะนั้นก็ทะยานขึ้นสู่เวหาสด้วยพลังของพระเจ้าจักรพรรดิ หยั่งลงสู่สมุทรด้านทิศบูรพา.จักรรัตนะหยั่งลงด้วยประการใดๆ ลงสู่พื้นมหาสมุทรประมาณโยชน์หนึ่งความกระจายของคลื่นลดลงเหมือนพญานาคสูดกลิ่นยาแล้วพังพานหด ตั้งอยู่เหมือน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 180
ฝาแก้วไพฑูรย์ในมหาสมุทรด้วยประการนั้นๆ. ก็ในขณะนั้นเอง รัตนะต่างๆ ที่เกลื่อนกล่นอยู่ในพื้นมหาสมุทรก็มาจากมหาสมุทรนั้น ทับถมจนเต็มประเทศนั้น ดุจจะเชิญชวนให้ชื่นชมมิ่งขวัญคือบุญของพระราชาธิบดีพระองค์นั้น.ครั้นพระราชาและราชบุรุษ เห็นพื้นมหาสมุทรเต็มไปด้วยรัตนะมีประการต่างๆ นั้น จึงต่างถือเอาเข้าพกเข้าห่อ ตามชอบใจ ก็เมื่อบริษัทถือเอารัตนะตามชอบใจ จักรรัตนะนั้นก็หมุนกลับ และเมื่อจักรรัตนะนั้นหมุนกลับ บริษัทจึงอยู่ข้างหน้า พระราชาอยู่ท่ามกลาง จักรรัตนะอยู่ในที่สุด แม้น้ำทะเลนั้นเป็นเสมือนถูกรัศมีแห่งจักรรัตนะล่อไว้ (กันไว้) และเป็นเสมือนไม่อาจจะทนอยู่ได้ จึงแยกออกจากจักรรัตนะนั้น และซัดเข้ามาฟาดขอบวงจักรรัตนะอยู่ไม่ขาดสาย. พระเจ้าจักรพรรดิครั้นทรงมีชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่ ต่อบุพวิเทหทวีป ที่มีมหาสมุทรด้านทิศตะวันออกเป็นขอบเขต ทรงมีพระประสงค์จะได้ชัยชนะชมพูทวีป อันมีมหาสมุทรด้านทิศใต้เป็นขอบเขต จึงบ่ายพระพักตร์ไปสู่สมุทรด้านทิศทักษิณ โดยมรรคาที่จักรรัตนะสําแดงแล้ว ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล จักรรัตนะนั้นได้พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศตะวันออก แล้วกลับพัดผันไปด้านทิศใต้.
ก็วิธีหมุนกลับของจักรรัตนะนั้นที่พัดผันไปอย่างนี้ การชุมนุมของหมู่เสนา การเสด็จไปของพระเจ้าประเทศราช การมอบอนุศาสน์แก่เจ้าประเทศราชเหล่านั้น การหยั่งลงสู่สมุทรด้านทิศทักษิณ การถือเอารัตนะที่ไหลมาตามสายน้ำแห่งสมุทร เหล่านี้ทั้งหมดบัณฑิตพึงทราบโดยนัยก่อนนั้นแหละ.
ก็จักรรัตนะนั้นครั้นมีชัยชนะแล้ว ก็พัดผันข้ามสมุทรด้านทักษิณมุ่งชมพูทวีปมีเนื้อที่ประมาณแสนโยชน์ แล้วหมุนไปโดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแหละ เพื่อพิชิตอมรโดยานทวีป ครั้นมีชัยชนะอมรโคยานทวีป ซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 181
มีสมุทรเป็นชอบเขตนั้น โดยทํานองนั้นแหละ ก็พัดผันข้ามสมุทรด้านทิศปัจฉิมไปโดยวิธีนั่นแหละ เพื่อพิชิตอุตตรกุรุทวีป ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๘,๐๐๐ โยชน์ครั้นมีชัยชนะอุตตรกุรุทวีป แม้นั้น ซึ่งมีสมุทรเป็นขอบเขตด้วยวิธีอย่างเดียวกัน ก็พัดผันข้ามมาจากสมุทรด้านทิศอุดร. พระเจ้าจักรพรรดิทรงบรรลุความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดิน มีสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ด้วยประการดังพรรณนามานี้.
พระเจ้าจักรพรรดินั้นมีชัยชนะเด็ดขาดเช่นนี้แล้ว เพื่อจะทรงทอดพระเนตรสิริราชสมบัติของพระองค์ จึงทรงพร้อมด้วยบริษัทเหาะขึ้นสู่พื้นนภากาศชั้นบน ตรวจดูทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อยๆ ทวีปละ ๕๐๐ เป็นบริวารดุจชาตสระทั้ง ๔ ทิศงามไปด้วยหมู่ไม้ต่างๆ เช่น ปทุม อุบลและบุณฑริกที่แย้มดอกบานสล้างฉะนั้น แล้วเสด็จกลับราชธานีเดิมของพระองค์ ตามลําดับโดยบรรดาที่แสดงไว้แล้วในจักกุทเทลนั่นแล.
ครั้งนั้น จักรรัตนะนั้นประดิษฐานอยู่เหมือนเป็นเครื่องเสริมความงามให้ประตูพระราชวัง ก็เมื่อจักรรัตนะนั้นประดิษฐานอยู่เช่นนี้ กิจที่จะพึงกระทําเกี่ยวกับคบเพลิงก็ดี การตามประทีปก็ดี ไม่จําต้องมีในพระราชวัง แสงสว่างแห่งจักรรัตนะนั้นแหละกําจัดความมืดในยามราตรีได้ ส่วนคนเหล่าใดต้องการความมืด คนเหล่านั้นก็ได้ความมืด ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทุกฺขิณสมุทฺทํอชฺโฌคาเหตฺวา ฯเปฯ เอวรูปํ จกฺกรตนํ ปาตุภวติ ดังนี้.
ก็อํามาตย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้มีจักรรัตนะปรากฏแล้วอย่างนี้ สั่งให้ทําความสะอาดภูมิภาค อันเป็นที่อยู่ของมงคลหัตถีโดยปกติ ให้ลูบไล้ด้วยของหอมที่ชวนดมมีจันทน์แดงเป็นต้น เบื้องล่างให้เกลื่อนกล่นไปด้วยโกสุมที่ชวนชมมีวรรณะอันวิจิตร เบื้องบนตบแต่งด้วยดาวทอง มีเพดานประดับไปด้วยพวงโกสุมน่าชินชม รวมอยู่เป็นกลุ่ม ในระหว่างดาวทองแต่งให้งดงามดุจเทพวิมานแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอพระองค์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 182
จงทรงจินตนาการถึงการมาของช้างแก้วชื่อเห็นปานนี้. ท้าวเธอบําเพ็ญมหาทานสมาทานศีล ประทับนั่งรําพึงถึงบุญสมบัตินั้น โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแหละ.
ลําดับนั้น ช้างตัวประเสริฐ อันอานุภาพแห่งบุญของพระเจ้าจักรพรรดิ ตักเตือนแล้วประสงค์จะเสวยสักการะพิเศษนั้น จากตระกูลช้างฉัททันต์หรือจากตระกูลช้างอุโบสถ มีร่างเผือกผ่องบริสุทธิ์ ประดับด้วยผ้าคชาภรณ์สําหรับคลุมคอและหน้าสีแดงเข้มดุจดวงพระอาทิตย์อ่อนๆ มีที่ตั้งอวัยวะทั้ง ๗ถูกลักษณะ คือมีอวัยวะน้อยใหญ่ตั้งถูกส่วนสัด มีปลายงวงแดงเหมือนปทุมทองสีแดงที่แย้มบาน สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ เหมือนพระโยคีผู้มีฤทธิ์เป็นช้างประเสริฐที่สุดดุจภูเขาเงิน ที่มียอดฉาบด้วยจุณแห่งมโนศิลา ประดิษฐานอยู่ในประเทศนั้น ช้างตัวประเสริฐนั้น เมื่อมาจากตระกูลช้างฉัททันต์ก็มาแต่ตัวยังเล็กกว่าช้างทั้งปวง เมื่อมาจากตระกูลช้างอุโบสถ ก็มาอย่างช้างผู้ประเสริฐกว่าช้างทั้งปวง แต่ในพระบาลีระบุว่า มาในลักษณะพญาช้าง ชื่ออุโบสถ. เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิผู้บําเพ็ญวัตรของพระเจ้าจักรพรรดิสมบูรณ์แล้วทรงจินตนาการอยู่โดยนัยดังกล่าวแล้วในพระสูตรนั่นเอง. ช้างอุโบสถก็เดินมามิใช่มาเพื่อคนเหล่าอื่น ครั้นมาถึงโรงช้างมงคลหัตถีธรรมดาก็นําช้างมงคลหัตถีออก แล้วเข้าไปยืนแทนในโรงช้างนั้น ด้วยตนเองทีเดียว ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ฯลฯ เป็นช้างหลวงชื่ออุโบสถ.
ก็ควาญช้างเป็นต้น เห็นหัตถิรัตนะนั้น ปรากฏเช่นนั้นแล้ว ต่างรื่นเริงยินดี รีบไปกราบทูลให้พระราชาธิบดีทรงทราบโดยเร็ว ท้าวเธอเสด็จมาอย่าง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 183
รีบด่วน ทอดพระเนตรเห็นแล้วมีพระราชหฤทัยโปรดปราน ทรงพระดําริว่าจะเป็นยานช้างที่เจริญหนอ พ่อมหาจําเริญ ถ้าสําเร็จการฝึกหัดแล้วทรงเหยียดพระหัตถ์ออก. ครั้งนั้นช้างแก้วทําหูผึ่ง เหมือนลูกโคที่ติดแม่โคนมในเรือนเมื่อจะแสดงความที่คนเป็นสัตว์กล้าหาญ จึงเข้าไปเฝ้าพระราชา พระองค์มีประสงค์จะประทับทรงช้างแก้วนั้น ครั้งนั้น บริวารชนทราบความประสงค์ของพระองค์แล้ว จึงแต่งช้างแก้วนั้นด้วยธงทอง เครื่องอลังการทอง คลุมด้วยตาข่ายทอง แล้วนําเข้าไปถวาย. พระราชาทรงทําช้างแก้วให้สงบ ขึ้นประทับโดยบันได สําเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพระทัยมุ่งหมายจะเสด็จไปทางอากาศ พร้อมกับที่พระราชาธิบดีทรงดํารินั่นแหละ พญาช้างนั้นก็ทะยานขึ้นสู่พื้นนภากาศสีเขียวครามด้วยข่ายทอง รุ้งด้วยแสงแห่งแก้วอินทนิลและแก้วมณี ดุจพญาหงส์. แต่นั้นบริษัทของพระราชาทั้งหมด ก็ติดตามไปโดยนัยดังกล่าวแล้วในการท่องเที่ยวไปของจักร พระราชาพร้อมด้วยบริษัท เสด็จท่องเที่ยวไปทั่วพื้นปฐพีทั้งสิ้น แล้วเสด็จกลับถึงราชธานี ทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า ช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ มีฤทธิ์มากอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทิสฺวา ฯเปฯ ปาตุรโหสิ ดังนี้.
บริษัทของพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีหัตถิรัตนะปรากฏแล้วเช่นนี้ แล้วช่วยกันแผ้วถางโรงม้ามงคลให้สะอาด มีพื้นราบเรียบประดับประดาแล้ว กราบทูลเตือนพระราชา ให้มีพระอุตสาหะ จินตนาการถึงการมาของอัสสรัตนะนั้นท้าวเธอทรงบําเพ็ญทานสักการะ สมาทานศีล ประทับนั่งบนพื้นปราสาทชั้นบน ทรงน้อมระลึกถึงบุญสมบัติโดยนัยก่อนนั่นแหละ ครั้งนั้นพญาม้าชื่อพลาหก อันอานุภาพแห่งบุญของพระเจ้าจักรพรรดินั้นตักเตือนแล้ว มีความสง่างามสีหมอกเหมือนกลุ่มวลาหกขาวในสรทกาลอันคาดด้วยสายฟ้า มีเท้าแดงปากแดง มีร่างประกอบด้วยข้อลําล้วนสนิทแนบเนียน เหมือนกลุ่มแสงดวง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 184
จันทร์ มีศีรษะคล้ายศีรษะกา เพราะประกอบด้วยศีรษะมีสีดํา เหมือนคอกาและเหมือนมณีแกมแก้วอินทนิล มีเส้นผมสลวยเหมือนหญ้าปล้อง เพราะประกอบไปด้วยเส้นผมที่มีปอยละเอียดเหยียดตรงคล้ายกับหญ้าปล้องที่เขาบรรจงวางเรียงไว้ เหาะไปในอากาศได้ มาจากตระกูลม้าสินธพ ประดิษฐานอยู่ในที่นั้น คําที่เหลือทุกอย่างพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในหัตถิรัตนะนั้นแล. ทรงหมายเอา อัสสรัตนะเห็นปานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคํามีอาทิว่า ดังนี้
เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิมีรัตนะปรากฏเช่นนี้ ก็มีมณีรัตนะลอยมาจากภูเขาเวบุลบรรพตยาวประมาณ ๔ ศอก มีสัณฐานประมาณขนาดดุมเกวียนที่สุดสองข้างล้อมไปด้วยกรรณิกา ประดับด้วยประทุมทองสองข้าง มีกลุ่มมุกดาสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากมลทิน เป็นดุจดวงจันทร์วันเพ็ญ ที่แวดล้อมไปด้วยดวงดาวน้อยใหญ่ทอแสงแผ่รัศมีไปฉะนั้น เนื้อแก้วมณีนั้นลอยมาอย่างนี้แล้ว เขาก็ใช้ไม้ไผ่ต่อๆ กัน ยกขึ้นสู่อากาศ สูงประมาณ ๖๐ ศอก โดยเว้นข่ายแห่งแก้วมุกดาไว้ ในกลางคืนจะมีแสงแผ่ไปทั่วบริเวณประมาณโยชน์หนึ่งโดยรอบ มณีรัตนะที่ให้เกิดแสงสว่างทั่วบริเวณทั้งหมด ดุจแสงสว่างในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น นั้นเป็นผลให้ชาวนาประกอบกสิกรรมได้ พ่อค้าพาณิชติดต่อซื้อขายกันได้ในท้องตลาด ผู้ที่ถนัดอาชีพแต่ละสาขา ต่างสําคัญว่า เป็นกลางวัน ดําเนินธุรกิจการงานของตนได้ตามหน้าที่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ฯลฯ มณีรัตนะย่อมปรากฏดังนี้.
อิตถีรัตนะอันเป็นเหตุให้เกิดความสุขพิเศษตามเพศวิสัย ย่อมบังเกิดแก่พระเจ้าจักรพรรดิ ผู้มีมณีรัตนะปรากฏแล้วเช่นนี้. ก็ชาวประชาย่อมน่าอัครมเหสีมาแต่ตระกูลมัททราช ถวายองค์พระเจ้าจักรพรรดิบ้าง อัครมเหสีเสด็จ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 185
มาเองจากอุตตรกุรุทวีป ด้วยบุญญานุภาพบ้าง. ก็คุณสมบัติที่เหลือของอัครมเหสีนั้น มีมาแล้วในพระบาลีทั้งหมดโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายประการอื่นยังมีอีก นางแก้วรูปงาม น่าดูย่อมปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิดังนี้. ในบทที่มาในพระบาลีเหล่านั้น มีวินิจฉัยดังนี้ ที่ชื่อว่า อภิรูปา (รูปงาม) เพราะมีรูปงาม โดยสมบูรณ์ด้วยทรวดทรง. ก็เมื่อจะมองดู ก็อิ่มตา (มองได้เต็มตา) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทัสสนียา (น่าดู) เพราะต้องพักกิจอย่างอื่นไว้แล้วเหลียวมามอง. และชื่อว่า ปาสาทิกา (น่าเลื่อมใส) เพราะเมื่อมอง ก็นําให้มีจิตชื่นชมโสมนัส. บทว่า ปรมาย (อย่างยิ่ง) ความว่า ชื่อว่า สูงสุด เพราะนําความเลื่อมใสมาให้อย่างนี้. บทว่า วณฺณโปกฺขรตาย (ด้วยความงามแห่งผิวพรรณ) แปลว่า มีผิวพรรณงาม. บทว่า สมนฺนาคตา (ประกอบ) แปลว่า เข้าถึง. อีกประการหนึ่ง ชื่อว่า มีรูปงาม เพราะไม่สูงนัก ไม่ต่ํานัก ชื่อว่า น่าดู เพราะไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ชื่อว่าน่าเลื่อมใส เพราะไม่ดํานัก ไม่ขาวนัก ชื่อว่าประกอบด้วยความงามแห่งผิวพรรณอย่างยิ่ง เพราะล่วงผิวพรรณของมนุษย์ แต่ยังไม่ถึงขั้นผิวพรรณทิพย์ ความจริงผิวพรรณของมนุษย์ทั้งหลายยังไม่มีแสงสว่างสร้านไปภายนอก ส่วนผิวพรรณของเทวดาสร้านออกไปได้ไกลมาก. แต่แสงสว่างแห่งเรือนร่างของนางแก้วนั้น สว่างไปทั่วบริเวณประมาณ ๑๒ ศอก ก็ในบรรดาคุณสมบัติมีความเป็นผู้ไม่สูงนักเป็นต้น ท่านกล่าวอาโรหสมบัติไว้ด้วยคุณสมบัติคู่แรกกล่าวปริณาหสมบัติไว้ด้วยคุณสมบัติคู่ที่สอง กล่าววรรณสมบัติไว้ด้วยคุณสมบัติคู่ที่สาม. อีกประการหนึ่งด้วยคุณสมบัติ ๖ ประการเหล่านี้ อัครมเหสีไม่มีความบกพร่องทางกายเลย.
กายสมบัติ ตรัสไว้ด้วยบทนี้ว่า อติกฺกนฺตา มนุสฺสวณฺณํ (งามเกินผิวพรรณของมนุษย์) บทว่า ตูลปิจุโน วา กปฺปาสปิจุโน วา (สัมผัสปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย) ความว่า มีสัมผัสทางกายปานประหนึ่งสัมผัสปุยนุ่น หรือปุยฝ้ายที่เขาใส่ไว้ในเนยใส แล้วสลัดทิ้งตั้ง ๑๐๐ ครั้ง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 186
บทว่า สีเต (ในเวลาหนาว) ได้แก่ในคราวที่พระราชาธิบดีหนาว. บทว่า อุณฺเห (ในเวลาร้อน) ได้แก่ในคราวที่พระราชาธิบดีร้อน. บทว่า จนฺทนคนฺโธ (มีกลิ่นดังกลิ่นจันทร์) ความว่า กลิ่นจันทน์ที่เขาบดอยู่ตลอดเวลา (จนละเอียด) ใหม่เอี่ยมนํามาเคล้ากับชาติทั้ง ๔ ย่อมฟุ้งออกจากกาย. บทว่าอุปฺปลคนฺโธ (มีกลิ่นดังกลิ่นอุบล) ความว่า กลิ่นที่หอมอบอวลของนีลอุบลที่เขาเด็ดดอกในขณะนั้น ย่อมหอมฟุ้งออกจากปากในเวลาแย้ม สรวลหรือเจรจา. ก็เพื่อจะแสดงถึงมรรยาทอันสมควรแก่สรีรสมบัติของนางแก้วเพราะประกอบด้วยคันธสมบัติเห็นปานนี้ จึงตรัสคํามีอาทิว่า ตํ โข ปน (นางแก้วนั้น) ดังนี้.พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้น ดังนี้ ที่ชื่อว่า ปุพฺพุฏายินี (ตื่นก่อน) เพราะจะต้องลุกขึ้นก่อนทีเดียว ดุจระแวงว่าพระราชาทรงเห็นแล้ว จะกริ้วดังไฟไหม้ แต่ราชอาสน์. ชื่อว่า ปจฺฉานิปาตินี (นอนที่หลัง) เพราะเมื่อพระราชาประทับนั่ง จะต้องอยู่เวรถวายงานพัดสมเด็จพระราชาธิบดีก่อนแล้วจึงจะนอนหรือพักได้ในภายหลัง. ที่ชื่อว่า กึการปฏิสฺสาวินี (คอยฟังบรรหารคํารับสั่ง) เพราะจะต้องรับสนองพระโอฐด้วยวาจาว่า ขอเดชะหม่อมฉัน จะต้องทําอะไร. ที่ชื่อว่า มนาปจารินี (ประพฤติถูกพระทัย) เพราะจะต้องประพฤติคือกระทําให้ถูกพระทัยพระราชา. ที่ชื่อว่า ปิยวาทินี (ทูลปราศัยเป็นที่โปรดปราน) เพราะพระราชาโปรดอย่างใด จะต้องทูลอย่างนั้น.บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า นางแก้วนั้นต้องมีอาจาระบริสุทธิ์ผุดผ่อง โดยถ่ายเดียว ไม่มีมายาสาไถย จึงตรัสคํามีอาทิว่า ตํ โข ปน ดังนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โน อติจรติ (ไม่ประพฤติล่วง) ได้แก่ไม่ประพฤตินอกใจอธิบายว่า ไม่ปรารถนาชายอื่นแม้ด้วยใจ. ในบรรดาคุณสมบัติเหล่านั้น คุณสมบัติเหล่าใดที่ตรัสไว้ในตอนต้นว่า ต้องมีรูปงามเป็นต้นก็ดี ที่ตรัสไว้ในตอนท้ายว่า ต้องลุกก่อนเป็นต้นก็ดี คุณสมบัติเหล่านั้น ตรัสว่าเป็นคุณสมบัติธรรมดาเท่านั้น ก็บทเป็นต้นว่า อติกฺกนฺตา มนุสฺสานํ พึงทราบว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 187
เจ้าจักรพรรดิทั้งหลาย ย่อมบังเกิดด้วยอานุภาพแห่งกรรมเก่า นับแต่จักรรัตนะปรากฏ เพราะต้องอาศัยบุญบารมี. อีกประการหนึ่ง จําเดิมแต่จักรรัตนะปรากฏ แม้ความเป็นผู้มีรูปงามเป็นต้น บังเกิดบริบูรณ์ไปทุกสิ่งทุกอย่าง. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิตถีรัตนะเห็นปานนี้ย่อมบังเกิด ดังนี้.
คฤหบดีรัตนะย่อมปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ ผู้มีอิตถีรัตนะปรากฏแล้ว เพื่ออํานวยความสะดวกเกี่ยวกับกิจการด้านท้องพระคลัง ตามพระราชอัธยาศัย ผู้ที่มีโภคะมากตามปกติก็ดี ผู้ที่เกิดในตระกูลมีโภคะมากก็ดี มีส่วนช่วยให้กิจการท้องพระคลังของพระราชาเจริญรุ่งเรือง จึงจะเป็นเศรษฐีคฤหบดีได้. ก็จักษุเพียงดังทิพย์เกิดแต่วิบากกรรมพร้อมที่จะอํานวยประโยชน์ ย่อมปรากฏแก่คฤหบดีแก้วนั้นทีเดียว เป็นเหตุให้มองเห็นทรัพย์ภายในแผ่นดินได้ในรัศมี๑ โยชน์ เขาเห็นสมบัตินั้นแล้วดีใจ ไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ รับอาสาทําหน้าที่การคลังให้พระราชา ดําเนินธุรกิจการคลังทุกอย่างให้สมบูรณ์.ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ฯลฯ คหบดีรัตนะเห็นปานนี้ ย่อมปรากฏดังนี้.
ก็ปริณายกรัตนะสามารถจัดแจงกิจการทุกสิ่งทุกอย่างให้สําเร็จ ย่อมปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิผู้มีคฤหบดีแก้วปรากฏแล้วพระองค์นั้น ด้วยประการฉะนี้. ปริณายกนั้น ย่อมเป็นเสมือนราชบุตรคนโตของพระเจ้าจักรพรรดิเป็นบัณฑิตฉลาด มีปัญญาโดยปกติทีเดียว ก็ปรจิตตญาณ (ญาณกําหนดรู้ใจคนอื่น) ย่อมบังเกิดแก่ปริณายกรัตนะนั้น ด้วยอานุภาพแห่งกรรมของตนเองเพราะอาศัยบุญญานุภาพของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นเหตุให้สามารถรู้วาระจิตของข้าราชบริพารได้ประมาณ ๑๒ โยชน์ แล้วกําหนดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 188
และสิ่งที่เป็นประโยชน์สําหรับพระราชาได้. แม้ปริณายกนั้น เห็นอานุภาพของตนนั้นแล้วดีใจ รับอาสาพระราชา โดยสั่งการแทนในกิจการทุกอย่าง.ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีกปริณายกรัตนะย่อมปรากฏ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เปตพฺพํ เปตุํ (ทรงแต่งตั้งผู้ที่ควรแต่งตั้ง) ได้แก่ เพื่อทรงแต่งตั้งผู้ที่ควรแต่งตั้งในตําแหน่งนั้นๆ. บทว่า สมเวปากินิยา (อันย่อมกระยาหารสม่ำเสมอ) เป็นต้น ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังแล. บทว่า กฏคฺคาเหน (เพราะความโชคดี) แปลว่า เพราะฉวยเอาชัยชนะไว้ได้. บทว่า มหนฺตโภ คกฺขนฺธํ (โภคสมบัติมากมาย) ความว่า จะพึงได้เงินสองหรือสามแสนด้วยการฉวยเอาชัยชนะได้ครั้งเดียวเท่านั้น. บทว่า เกวลา ปริปูรา ปณฺฑิตภูมิ (เป็นภูมิของบัณฑิตครบถ้วนบริบูรณ์) ความว่า บัณฑิตบําเพ็ญสุจริตสามย่อมบังเกิดในสวรรค์. จากนั้น เมื่อมาสู่มนุษยโลก ย่อมบังเกิดในที่ซึ่งมีความสมบูรณ์ด้วยตระกูล รูปและโภคะเขาตั้งอยู่ในสมบัตินั้นแล้ว บําเพ็ญสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ย่อมได้ไปบังเกิดในสวรรค์อีก. ตามที่พรรณนามานี้ จึงจัดได้ว่าเป็นภูมิของบัณฑิตอย่างครบถ้วนบริบูรณ์. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาพาลบัณฑิตสูตร ที่ ๙