Thai-Hindi 3 September 2022
- จริงๆ เพื่อให้เข้าใจทั้งหมดละเอียดยิ่งไม่เปลี่ยนแปลง ศึกษาธรรมไม่ใช่ศึกษาเรื่องอื่น เช่นชื่อต่างๆ แต่ศึกษาให้รู้สิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ตามความเป็นจริงที่ไม่เคยรู้มาก่อน ต้องเข้าใจมั่นคงขึ้น สิ่งที่มีกำลังมีเดี๋ยวนี้แน่นอน
- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความจริงของสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ มิฉะนั้นก็ไม่สามารถที่จะรู้อะไรเลยทั้งสิ้น
- ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้มีอะไรต้องตอบตรงไม่ใช่เรื่องราวยาวเหยียด เดี๋ยวนี้มีอะไร
- รู้จักสิ่งที่มีจริงๆ เดี๋ยวนี้รึยัง ถ้าเดี๋ยวนี้ไม่รู้ว่า อะไรมีจริงๆ จะรู้ความจริงของสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ได้ไหม
- เพราะฉะนั้นต้องรู้ก่อน เดี๋ยวนี้อะไรมีจริงๆ เพื่อที่จะได้รู้จักสิ่งนั้นตามความเป็นจริง ละเอียดมั้ยที่จะรู้ว่า เดี๋ยวนี้อะไรมีจริงๆ เพื่อที่จะรู้ความจริงของสิ่งนั้นที่มีจริง
- เพราะฉะนั้นตอบว่าอะไรมีจริง ไม่ใช่เป็นคำ เป็นเรื่อง แต่กำลังมีจริงๆ เดี๋ยวนี้ว่า เดี๋ยวนี้มีอะไรจริง
- เพราะฉะนั้นตรงต่อคำถามเดี๋ยวนี้อะไรมีจริงๆ (เห็น)
- ถูกต้อง มีเห็น รู้จักเห็นรึยัง ตรงคำถามไหม (ยัง)
- ต้องเข้าใจให้ถูกต้องมิฉะนั้นจะเผินมากและอยากจะรู้เรื่องอื่นต่อๆ ไปโดยไม่รู้จักเห็นเดี๋ยวนี้
- หนทางที่จะรู้จักเห็นคือได้เข้าใจเห็นละเอียดขึ้น เพราะฉะนั้นขณะนี้ต้องเข้าใจว่า เห็นมีแน่นอน คุณอาช่าทำให้เห็นเกิดขึ้นรึเปล่า
- ต้องเข้าใจมั่นคงจริงๆ ว่าไม่มีใครทำให้เห็นเกิดขึ้นได้เพราะเดี๋ยวนี้เห็น และคุณอาช่าไม่ได้ทำให้เห็นเกิด แสดงให้เห็นว่า เห็นเป็นสิ่งที่ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร
- เห็นขณะนี้เป็นคุณอาช่าเห็นรึเปล่า (ยังเป็นอาช่า) แต่ความจริงคืออะไร เพราะฉะนั้นเห็นเป็นอะไร
- นี่คือไม่ชอบพูดเรื่องเห็นซ้ำไปซำ้มา แต่ชอบไปพูดเรื่องอื่น แต่ยังคงเห็นเป็นคนหนึ่งคนใดเป็นคุณอาช่าเห็นตลอดไปซึ่งนั่นไม่ตรงตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
- สนใจเรื่องอื่นหลายเรื่องแต่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ไม่สนใจที่จะเข้าใจว่า เห็น ไม่เห็นคนหนึ่งคนใดเลยทั้งสิ้น
- ทุกคนกำลังเห็นและได้ยินว่า เห็นไม่ใช่เรา เข้าใจได้แต่ทำอย่างไรเห็นก็ยังคงเป็นเราเพราะอะไร
- เพราะฉะนั้นหนทางคือ ตราบใดที่ยังคิดเรื่องอื่นไม่สนใจเรื่องเห็น จะไม่มีโอกาสที่จะรู้ความจริงของเห็น
- จะบังคับไม่ให้ไม่คิดเรื่องอื่น จะให้สนใจเห็นก็ผิด เป็นไปไม่ได้ ไม่ให้เห็นเดี๋ยวนี้ไม่ได้เลยแต่ก็สนใจที่จะคิดเรื่องอื่นเป็นธรรมดา
- ถ้าใครจงใจพยายามที่จะเข้าใจเห็น ผิดแล้วค่ะ เพราะฉะนั้นต้องมั่นคงจริงๆ สิ่งที่มีจริงทุกอย่าง ทุกขณะ ทุกเวลา เป็นสิ่งที่มีจริงซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครจึงเริ่มเข้าใจความเป็นอนัตตา
ต้องมีความเข้าใจมั่นคงจริงๆ ว่า ไม่ใช่เห็นเท่านั้น ทุกอย่างที่กำลังมีเดี๋ยวนี้เป็นสิ่งที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยเป็นอนัตตา
- เพราะฉะนั้นทุกอย่างทั้งหมดทั้งปวงตลอดชีวิตเป็นสิ่งที่มีจริงที่เกิดขึ้นให้รู้ว่ามีจริงแล้วดับไป
- เดี๋ยวนี้ อย่าลืม เดี๋ยวนี้ธรรมที่กำลังมี เกิดขึ้นแล้วดับทุกขณะ
- เมื่อยังไม่รู้ความจริงก็ต้องฟังอีกๆ จนกว่าจะค่อยๆ เริ่มรู้ความจริง ต้องมั่นคงต่อความจริงไม่เปลี่ยน จึงจะค่อยๆ เข้าใจความจริงได้
- เห็นเดี๋ยวนี้เกิดรึเปล่า เห็นเกิดขึ้นดับไป ไม่รู้เลย แล้วเห็นก็เกิดขึ้นแล้วดับอีกก็ไม่รู้เลยเพราะฉะนั้นความรู้ก็คือ เข้าใจความจริงของสิ่งที่มี
- ต้องไม่ลืมว่า ฟังธรรมเพื่อรู้จักความจริงของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้และทุกขณะที่จะค่อยๆ รู้จักเห็นที่กำลังเห็น ก็ต้องได้ยินได้ฟังเรื่องเห็นจนกระทั่งไม่ลืมที่จะเข้าใจเห็นเดี๋ยวนี้ที่กำลังปรากฏ
- ถ้าไม่รู้ถูกต้องว่า เพื่อเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดก็ไม่มีประโยชน์เลย
- ในขณะที่กำลังพูดว่า “เห็นไม่ใช่เรา เห็นเกิดขึ้นแล้วเห็นดับไป” ขณะนั้นยังไม่รู้จักเห็นที่กำลังเห็น เพราะฉะนั้นฟังไปเพื่อเข้าใจจนกว่าขณะนั้นเริ่มรู้จักเห็น นี่เป็นประโยชน์จริงๆ ของการเข้าใจธรรมรึเปล่า
- เพราะฉะนั้นเราจะฟังเรื่องของสิ่งที่มีจริง เรื่องทุกเรื่องกำลังมีจริงเดี๋ยวนี้เพื่อเข้าใจความจริงของสิ่งนั้น
- เพราะฉะนั้นเราจะพูดกันถึงสิ่งที่มีจริงๆ อะไรก็ได้ที่มีจริงๆ เพื่อจะได้เข้าใจให้ถูกต้องมั่นคงว่า ไม่ใช่เรา
- อย่าลืมว่า พูดเรื่องอะไรที่กำลังมีจริงๆ เดี๋ยวนี้เพื่อเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ
- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมมากมาย 45 พรรษาเพื่อให้เร่ิมเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงของสิ่งที่มี
- เพราะฉะนั้นเราจะเริ่มเข้าใจทุกคำที่พระองค์ตรัสไว้ เมื่อได้กล่าวถึงคำนั้นและค่อยๆ เข้าใจความจริงของคำนั้นยิ่งขึ้น
- เพราะฉะนั้นพูดถึงสิ่งที่มีจริงๆ อะไรก็ได้เพื่อเข้าใจสิ่งนั้น ขอเชิญค่ะ
- จิตเกิดทุกขณะเหมือนกันไหม (ไม่เหมือนกัน) ต่างกันตรงไหน เพราะฉะนั้นเห็นกับคิดต่างกันไหม ต่างกันอย่างไร
- เห็นคิดได้ไหม แล้วคิดไม่ต้องเห็น คิดได้ไหม คิดดีกับคิดไม่ดีมีไหม ต่างกันรึเปล่า เห็นดีเห็นไม่ดีได้ไหม
- ก็เข้าใจถูกต้องว่า เห็นต้องเห็นเลือกเห็นไม่ได้เพราะเห็นต้องเกิดขึ้นเพราะเหตุที่ได้ทำไว้ ถ้าเป็นเหตุที่ดีก็ทำให้เกิดเห็นสิ่งที่ดี แต่ตัวเห็นดีหรือไม่ดีไม่ได้ เพียงแค่ต้องเห็น
- เมื่อมีเหตุที่ได้ทำไว้แล้ว เหตุที่ดีเป็นกรรมดีที่จะให้ผลดี เหตุที่ไม่ดีก็เป็นกรรมที่ไม่ดีที่จะให้ผลที่ไม่ดี
- เพราะฉะนั้นเหตุที่ดี ภาษาบาดีใช้คำว่า กุศลกรรม เหตุที่ไม่ดีก็คือ อกุศลกรรม เหตุที่ไม่ดี เพราะฉะนั้นผลใช้คำว่า วิบาก คู่กับเหตุ เหตุคือ กรรม เมื่อมีกรรมเป็นเหตุก็ต้องมีผลคือ วิบาก
- เวลาคิดเป็นผลของกรรมรึเปล่า (ไม่) เพราะฉะนั้นต้องแยกกัน จิตที่เกิดเป็นกุศล ๑ เป็นอกุศล ๑ เป็นเหตุสองอย่างต่างกัน จิตเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นเหตุให้เกิดวิบากซึ่งเป็นผลของกุศลหรืออกุศล รวมความว่า เท่าที่เราศึกษาชื่อ เดี๋ยวนี้มีศัพท์ที่ต่างกัน เป็นเหตุและเป็นผล กุศล อกุศล วิบาก
- ส่วนใหญ่ในชีวิตก็จะมีวิบากซึ่งเป็นผลของกรรมและมีกุศล จิตที่ดี และมีอกุศล จิตที่ไม่ดีเพราะฉะนั้นสำหรับวิบากจิตในชีวิตธรรมดาๆ มีอะไรบ้าง จะได้รู้ว่า ชีวิตดำรงอยู่แต่ละขณะเป็นผลของกรรม แต่มีกุศลและอกุศลบ้าง
- แต่ต้องรู้ ชีวิตที่เป็นไปขณะนี้เป็นอะไร เพราะฉะนั้นขอทราบว่า จิตที่เป็นวิบากตามปกติที่ปรากฏมีอะไรบ้าง
- ก่อนเห็นก่อนได้ยินมีวิบากไหม ถ้าไม่มีขณะเกิดจะมีเดี๋ยวนี้ไหม เพราะฉะนั้นมีจิตที่เกิดขณะนั้นเลือกไม่ได้ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน อะไรจะเกิดขึ้นกับคนนั้น เลือกไม่ได้เลยแต่ขณะจิตนั้น
- เรารู้แล้วว่าเป็นสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ สะสมกรรมมามากแล้วแต่ว่ากรรมไหนจะให้ผลทำให้เกิดขึ้นเป็นคนนี้ แต่ละคนๆ แต่ในขณะที่เกิดก็ยังได้ประมวลมาซึ่งกรรมทั้งหลายที่สามารถจะเกิดได้ในชีวิต เพราะฉะนั้นวิบากเริ่มเป็นขณะแรกคือ ขณะเกิด เป็นผลของกรรม
- เกิดเป็นมนุษย์เป็นผลของอะไร (กุศลกรรม) แล้วคนที่เกิดเป็นคนฉลาด มีปัญญา เป็นผลของอะไร (กุศล) กุศลเหมือนกับคนที่เกิดมาไม่ฉลาดรึเปล่า (ไม่เหมือน) ต่างกันตรงไหน แล้วมีกรรมไหม เพราะฉะนั้นการเกิดขณะนั้นเป็นจิตประเภทไหน เป็นผลของอะไร
- ต้องไม่ลืมว่า กรรมไม่ใช่กิเลส กิเลสไม่ทำให้เกิดแต่กรรมทำให้
เพราะฉะนั้นจิตที่เกิดเป็นผลของกรรม ๑ แต่ว่ากรรมที่จะทำให้เกิดนั้นประมวลมาซึ่งกรรมอื่นที่จะให้ผลหลังจากที่เกิดแล้ว
- เพราะฉะนั้นเห็นเดี๋ยวนี้เป็นอะไร เกิดเพราะกรรมอะไร เห็นอะไรเป็นผลของกุศล
- ถ้าอย่างนั้นก็ไม่มีโอกาสที่จะเป็นอกุศล ถ้ามีเสียงดังเกิดขึ้นเดี๋ยวนี้แรงมากเป็นผลของอกุศลรึเปล่า
- เพราะฉะนั้นกรรมเป็นสิ่งที่รู้ยากเพราะว่าปกปิด ขณะที่กำลังทำกรรมก็ไม่รู้ว่าจะให้ผลเมื่อไหร่อย่างไร
- เพราะฉะนั้นกรรมเป็นสภาพที่ปกปิดเพราะไม่รู้ว่าจะให้ผลเมื่อไหร่
- และผลของกรรมเป็นสภาพที่ปกปิดด้วยใช่ไหม (ปกปิด) ปกปิดอย่างไร (เพราะยังไม่รู้ว่าสิ่งที่มีจริงคืออะไร)
- ไม่ใช่ ถามดู เท่าที่ฟังแล้ว เข้าใจแล้ว เรามีกรรมเป็นเหตุผลและมีวิบากเป็นผล เพราะฉะนั้นทั้งสองอย่าง กรรมก็ปกปิด เป็นสภาพที่ปกปิดไม่ให้รู้ความจริง วิบากคือผลก็เป็นสภาพที่ปกปิด แต่ถามว่าผลปกปิดอะไร อย่างไร (ไม่รู้ว่าเป็นผลของกรรมไหน)
- ถูกต้อง เพราะฉะนั้นจึงบอกไม่ได้ว่า เห็นเดี๋ยวนี้เป็นผลของกรรมอะไร เมื่อไหร่ ชาติไหน
- รู้แต่เพียงว่า การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส กระทบสัมผัสเป็นผลของกรรมที่เลือกไม่ได้ต้องเป็นไปตามเหตุ
- คนที่เกิดมาตาบอด เป็นผลของกรรมอะไร
- เพราะฉะนั้นตอบให้ชัดเจน ขณะเกิดเป็นคนตาบอดตั้งแต่กำเนิดเป็นผลของอะไร (ผลของกุศลกรรม) แล้วทำไมตาบอด
- เพราะฉะนั้นปฏิสนธิจิตเป็นวิบากประเภทไหน (กุศลวิบาก)
- ดีมากที่เข้าใจถูกต้องเปลี่ยนแปลงไม่ได้แต่กุศลมีหลายประเภท เพราะฉะนั้นเป็นผลของกุศลที่อ่อนมากสามารถที่จะมีอกุศลเบียดเบียนได้ไหม
- เพราะฉะนั้นคนที่เกิดมาด้วยกุศลอ่อนมากสามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ไหม
- เกิดมาด้วยผลของกุศลอย่างอ่อนมากจนกระทั่งตาบอด ตาบอดแต่กำเนิดหมายความว่า ตาบอดที่ปฏิสนธิจะไม่ทำให้เห็นได้เลย ไม่ใช่ตาบอดหลังเกิด ขณะที่เกิดนั่นเองก็กำหนดด้วยกรรมที่จะทำให้ไม่มีจักขุปสาทเมื่อถึงเวลาที่จักขุปสาทจะเกิด อย่างนั้นจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ไหม (ไม่แน่ใจ)
- คุณอาช่าตาไม่บอดฟังธรรมแล้วจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ไหม คิดไหมว่าจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมเป็นพระโสดาบันชาตินี้ (ไม่ได้) เพราะอะไร (เพราะไม่เข้าใจ)
- เพราะฉะนั้นต้องรู้ การเกิดต่างกัน การสะสมต่างกันทำให้แต่ละ ๑ ไม่เหมือนกันเลยทุกอย่าง
- จิตแต่ละ ๑ เกิดขึ้นแล้วดับไป ไม่เหมือนกับจิตใดๆ ทั้งสิ้นเพราะ ๑ จิตเกิดมีสิ่งที่สะสมมาต่างๆ กันไปแล้วดับ
- จิตของคุณสุคิน จิตของคุณอาช่า จิตของดิฉัน จิตของคุณอาคิ่ล ดับแล้ว ๑ ขณะมีสิ่งที่สะสมมาต่างกันมาก
- เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจเรื่องวิบากซึ่งเป็นผลของกรรม และกรรมกิเลสที่สะสมแต่ไม่ใช่วิบาก
- เพียง ๑ ขณะของวิบากที่ทำกิจปฏิสนธิก็ต่างกันหมดเลย
- การเกิดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผลของกรรมที่ประกอบด้วยปัญญาแต่จะมีปฏิสนธิจิตของใครที่จะเหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง
- นี่คือ ธรรมที่เป็นอนัตตาทั้งหมด ไม่มีอะไรเลยที่จะอยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ตามเหตุตามปัจจัย เกิดขึ้นแล้วดับไป เพราะฉะนั้นแต่ละคนต้องเข้าใจความต่างของกรรม ของกิเลส ของวิบาก
- กรรมที่มีกำลังทำให้เกิดเป็นเศรษฐีมั่งมี มีทรัพย์สมบัติ มีสิ่งที่ดีแต่ไม่มีปัญญาเลยได้ไหม
- เพราะฉะนั้นเกิดต่อไปจะเกิดเพราะกรรมอะไร รู้ไม่ได้เลย เป็นสภาพที่ปกปิดและขณะนั้นกรรมใดจะให้ผล เป็นกรรมที่ประกอบด้วยปัญญาหรือกรรมที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ไม่สามารถจะรู้ได้
- ลูกของเศรษฐีเกิดมาพิการแต่กำเนิดได้ไหม เป็นผลของอะไร จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ไหม
- คนที่จนมากแต่ไม่พิการตั้งแต่กำเนิด ไม่หูหนวก ไม่ตาบอด สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ไหม
- ใครก็ตามจะเข้าใจมากน้อยแค่ไหน แล้วแต่การสะสมที่เกิดเป็นบุคคลนั้น เพราะฉะนั้นคนที่เกิดเพราะกุศลอย่างดีมาก ประณีตมาก ร่ำรวยมาก แต่ไม่ได้สะสมความเข้าใจธรรม เขาไม่สามารถจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้
- คนที่เกิดมาเป็นเศรษฐี เป็นพระราชา เป็นคนเลวได้ไหม และคนที่จนมาก มีโรคภัยไข้เจ็บ มีความทุกข์ยาก เป็นคนดีได้ไหม
- คนที่มีทุกอย่างพร้อม รูปสมบัติ ทรพย์สมบัติ มีการฟังธรรม ไม่รู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ไหม ไม่รู้แจ้งได้ไหม เพราะอะไร (เพราะฟังน้อย เข้าใจน้อย)
- ถูกต้อง เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย
- ผลของกรรมทั้งหมดเป็นวิบากซึ่งต้องเกิดจากกรรมที่ได้ทำแล้วแต่บอกไม่ได้ว่ากรรมอะไร เมื่อไหร่ชาติไหน และกรรมนั้นทำอะไร
- กรรมมีมากมายทุกชาติ เดี๋ยวนี้เป็นกรรมรึเปล่า เดี๋ยวนี้กรรมอะไร
- ที่ฟังกันมาสนทนากันมาเข้าใจไหม ความเข้าใจดีหรือไม่ดี ดีเป็นกุศลรึเปล่า ขณะที่เข้าใจเป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาใช่ไหม
- กุศลที่เข้าใจเดี๋ยวนี้เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิเกิดในชาติต่อไปหรือชาติไหนได้ไหม
ถ้าเข้าใจมากกว่านี้ๆ กุศลที่ประกอบด้วยความเข้าใจมากนั้นจะเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิในชาติต่อไปชาติหนึ่งชาติใดได้ไหม
- เพราะฉะนั้นแสดงให้การเกิดต่างกันหลากหลายมากตามการสะสมของแต่ละคนใช่ไหม
- เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ไม่ว่าจะมีอะไรจะเกิดขึ้นกับตนเองกับคนอื่น เขาจะเข้าใจได้ใช่ไหม ต้องมีเหตุให้เกิดเป็นอย่างนั้น
- สภาพธรรมที่เป็นสภาพรู้เกิดขึ้นมีกิจที่จะต้องเป็นไปตามความเป็นสภาพธรรมนั้นๆ
- เพราะฉะนั้นที่เกิดมาเป็นคุณอาช่า เป็นคุณอาคิ่ล เป็นคุณมธุ เป็นคุณสุคิน เป็นคุณมานิช ทั้งหมดทราบได้เลยว่า กรรมที่ได้ทำมาแล้วนั่นเองเป็นการทำให้เกิดอย่างไร หน้าตาอย่างไร และการสะสมกุศล อกุศล ก็ทำให้สามารถที่จะรู้ได้ว่า ขณะไหน คิดอย่างไร เพราะอะไร
- มีเราไหม แล้วมีอะไรถ้าไม่มีเรา
- แต่จริงๆ ถามให้เขาคิดจะดีกว่า สั้นๆ จะได้ทบทวนความจำ เขาจะได้นึกออก จะได้รู้ว่า เข้าใจแค่ไหนตกหล่นอะไรบ้าง ไม่อย่างนั้นถ้าเราบอก เขาก็เหมือนรับและไม่รู้ว่า จริงๆ เขาเข้าใจแค่ไหน เพราะฉะนั้นถ้าเป็นคำถามจะดีกว่าบอก ถึงอาช่าเข้ามา เราถามเขาว่า เดี๋ยวนี้มีอะไร ถ้าไม่ใช่มีเรา เป็นการทบทวนกับตัวเขา
- เพราะฉะนั้นใจดีมากเกินไปไม่ได้ ใจดีมากเกินไปก็ต้องให้เขาคิดไตร่ตรองเอง ไม่ใช่ว่าบอกให้เขาฟัง
- เพราะฉะนั้นตั้งแต่เกิดมีอะไรบ้าง (จิต เจตสิก รูป) ทุกขณะใช่ไหม เพราะฉะนั้นเราจะพูดทีละขณะ
- ขณะเกิดมีอะไร (จิต) มีแต่จิตหรือ
- จิต เจตสิก รูปเกิดเพราะอะไร (ผลของกรรม)
- ผลของกรรมทำให้อะไรเกิดบ้าง ในขณะเกิด เกิดพร้อมกันรึเปล่า
- เพราะฉะนั้นสภาพธรรมอะไรที่เกิดพร้อมกัน เกิดโดยต้องเกิด เกิดไม่พร้อมกันไม่ได้ ต้องเกิดพร้อมกันเพราะเป็น สหชาตปัจจัย
- เพราะฉะนั้น เลือกไม่ได้เลย โตขึ้นทีละน้อยๆ ปรากฏรูปร่างต่างกัน ผมต่างกัน นิ้วต่างกัน มือต่างกันจิตใจก็ต่างกัน
- วันนี้เข้าใจเรื่องธรรมในขณะเกิด อย่างจิต เจตสิก รูปที่เกิด เพราะฉะนั้นรู้จักจิตที่ต่างกันโดยสภาพที่เป็นชาติ เกิดเป็นกุศล ๑ เกิดเป็นอกุศล ๑ เป็นเหตุให้กระทำกรรมที่ทำให้เกิดปฏิสนธิจิต
- แต่เรายังไม่ได้พูดถึงเรื่องกิริยาจิต แต่ถ้าพูดเพียงว่า กิริยาจิตคืออะไรก็เพียงแค่จำ แต่นี่จะได้เข้าใจถูกต้องว่า ในชีวิตที่ปรากฏจริงๆ ก็มีจิตที่เป็นวิบาก เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสและจิตที่เป็นกุศล อกุศล ขณะที่เป็นจิตคิดนึกต่างๆ
- นี่เป็นการกล่าวถึงธรรมโดยย่อ และต่อไปก็จะรู้ว่า มีจิตที่ไม่ใช่วิบาก ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล มีจิตที่เป็นกิริยาจิตที่ บอกแล้วว่า ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่วิบาก
- จิต ๑ เป็นสองอย่างได้ไหมคือเป็นทั้งกุศล เป็นทั้งวิบากได้ไหม ไม่ได้แน่นอน ขณะเกิดเท่านั้นเป็นวิบาก ถูกต้องไหม
- จิตที่เกิด เห็นอะไรไหม เพราะฉะนั้นจิตเกิดทำกิจปฏิสนธิหมายความว่า จิตทุกประเภทเกิดขึ้นต้องมีกิจเฉพาะของจิตนั้นๆ เพราะฉะนั้นจิตที่เกิดทำหน้าที่เกิดเท่านั้น
- จิตที่เกิดทำกิจปฏิสนธิดับ จิตที่เกิดทำกิจปฏิสนธิอีกได้ไหม แน่ใจนะคะ ดับแล้วไม่กลับมาอีกเลยในสังสารวัฏฏ์
- จิตที่เกิด ดับแล้ว มีอะไรเกิดต่อไหม (จิตอีกประเภทหนึ่ง) ประเภทไหน (ภวังค์)
- ภวังค์คืออะไร เหมือนกับปฏิสนธิจิตไหม ประเภทเดียวกันรึเปล่า
- ปฏิสนธิจิตดับแล้วมีอะไรเกิดต่อบ้างไหม ภวังคจิตคืออะไร เป็นจิตที่เหมือนกับปฏิสนธิจิตรึเปล่า
- ภวังคจิตเกิดจากอะไร ทำไมต้องมีภวังคจิตด้วย
- วันนี้ให้เขาไปคิดเหตุผล ถึงจะได้เข้าใจเรื่องของกิริยา
กราบอนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ