อาชีพที่สุจริต
โดย paisan.ju  17 พ.ย. 2550
หัวข้อหมายเลข 5562

ขอเรียนถามว่า

๑. ผู้ที่ประกอบอาชีพเป็นนิติกรของรัฐ ต้องไปยึดทรัพย์สินของผู้ที่หลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีมาใช้หนี้ภาษีอากรให้แก่รัฐ จะต้องได้รับผลของกรรมอย่างไรหรือไม่บ้างครับ

๒. อาชีพพนักงานอัยการ ที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล เพื่อลงโทษผู้ต้องหาให้จำคุกหรือประหารชีวิต จะต้องได้รับผลของกรรมอย่างไรหรือไม่ครับ

๓. อาชีพผู้พิพากษา ที่พิพากษาจำคุกจำเลยหรือประหารชีวิต จะต้องได้รับผลของกรรมอย่างไรหรือไม่ครับ

๔. เตมีย์พระโพธิสัตว์ ท่านทรงระลึกชาติได้ว่า อดีตท่านเคยเกิดเป็นกษัตริย์แล้วไปตัดสินคดี ลงโทษนักโทษ ทำให้ท่านต้องไปตกนรกอยู่เป็นเวลานาน ทำให้ท่านต้องแกล้งทำเป็นใบ้ แสดงว่าอาชีพผู้พิพากษา พนักงานอัยการ หรือนิติกรของรัฐดังกล่าวเป็นอาชีพที่ไม่สุจริตไม่ควรทำใช่หรือไม่



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 18 พ.ย. 2550

๑., ๒. ,๓. ผู้ที่ประกอบอาชีพดังกล่าว ถ้าทำไปตามหน้าที่ รักษาความถูกต้องยุติธรรมไม่มีจิตคิดร้ายโดยส่วนตัวกับผู้เสียหาย ย่อมไม่เป็นอกุศลกรรม และไม่มีผลแต่อย่างใด

๔. ตามข้อที่ ๑ จัดว่าเป็นอาชีพที่สุจริต เป็นสัมมาอาชีวะ แต่ถ้ามีจิตโกรธ อาฆาตเป็นส่วนตัวแก่ผู้เสียหาย มุ่งทำลายประโยชน์ของเขา ด้วยอาชีพดังกล่าว จัดเป็นมิจฉาชีพไม่สุจริต ไม่ควรทำ สรุปคือขึ้นอยู่ที่จิตเป็นสำคัญ


ความคิดเห็น 2    โดย paisan.ju  วันที่ 18 พ.ย. 2550

ขอบคุณครับ แต่ยังสงสัยอยู่นิดหนึ่งครับ เหตุใดพระเตมีย์โพธิสัตว์ จึงต้องทำเป็นใบ้เพื่อหนีการทำหน้าทีดังกล่าว ในเมื่อขึ้นอยู่กับจิตที่ไม่คิดร้ายโดยส่วนตัว


ความคิดเห็น 3    โดย panee.r  วันที่ 19 พ.ย. 2550

เพราะท่านทรงทราบว่ายังเป็นผู้ที่ยังไม่หมดกิเลส ยังมีปัจจัยให้กุศลจิตและอกุศลจิตเกิด ทำให้ต้องวนเวียนอยู่ในทุคติภูมิและสุขคติภูมิตามกรรมที่ได้กระทำ ท่านทรงมีปัญญา ที่เห็นทุกข์จากการเกิด จึงทรงแสวงหาหนทางที่จะดับทุกข์


ความคิดเห็น 4    โดย chatchai.k  วันที่ 9 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 5    โดย yu_da2554hotmail  วันที่ 8 ก.ย. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ