สติปัฏฐานสี่มี กาย เวทนา จิต ธรรม ทำไมไม่มีสัญญาด้วย ในเมื่อสัญญาก็มีความสำคัญ คือ เป็นทั้งสัญญาขันธ์ เป็นทั้งสัพพจิตสาธารณะ ไม่แพ้เวทนาเลย ทำไมจึงไม่มี ครับ
ทรงแสดงสติปัฏฐานไว้ ๔ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ ไม่มากกว่านี้และสัญญาก็รวมอยู่ในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้วครับ
ขอเชิญคลิกอ่านที่..
เหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงสติปัฏฐาน เพียงแค่ ๔
ขออนุโมทนาและขอบพระคุณท่านอาจารย์prachern.s ที่ทำลิ้งค์ให้เข้าไปอ่านค่ะ
เพราะบุคคลไม่ได้เจริญไม่ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้นานในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว และเพราะบุคคลเจริญกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นานในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว
ขอถวายความนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ด้วยพระมหากรุณาคุณ จึงทรงแสดงสติปัฎฐานไว้เพียงสี่ และเพราะพระปัญญาคุณของพระพุทธองค์ผู้แสดงความคิดเห็นไม่เคยคิดสงสัยเลยว่า ทำไมจึงทรงแสดงไว้ไม่ยิ่งไม่หย่อนไปกว่านั้น
วิสัยของปุถุชน ช่างคิดช่างสงสัยไปได้สารพัดแน่นอน ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นส่วนตัวกับคุณชุณห์ดังนี้ จากที่ฟังและศึกษามาระยะหนึ่งจึงได้รู้ว่า สัญญา คือ ความจำได้หากจะกล่าวความจำ แต่ละบุคคลมีเรื่องที่จำได้ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลส่วนใหญ่ก็อกุศลและมักหลงผิดว่าอกุศลที่จำได้นั้นเป็นกุศลเสียด้วย และเมื่อ...สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีใครรู้ว่า ขณะไหนใครจะจำได้หรือจำไม่ได้ในเรื่องอะไร เป็นกุศล หรือ อกุศลในขณะไหน ความเสพคุ้นบ่อยๆ ในอกุศล ความจำ มักจำได้ถึงอกุศลบ่อยๆ แน่นอน ความเสพคุ้นบ่อยๆ ในกุศล ความจำ มักจำได้ถึงกุศลบ่อยๆ แน่นอนอีกเช่นกัน พิจารณาดูดีๆ เป็นเรื่องเสี่ยงต่อความเห็นผิดเข้าใจผิดได้ง่ายอยู่เหมือนกัน หากจะมีสัญญานุปัสสนาสติปัฏฐานเพิ่มขึ้นมาอีก
ขอความกรุณาใช้วิจารณญาณในการอ่านอย่างถี่ถ้วน เพราะนี่เป็นเพียงความคิดเห็นจากปุถุชนคนธรรมดาที่กำลังฟังกำลังศึกษาพระธรรมอยู่เช่นเดียวกัน
ขอบพระคุณและขออนุโมทนา อ.ประเชิญ
ขออนุโมทนาพี่เมตตาและพี่วรรณี
ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ
อ่านความคิดเห็นของ คุณภรภาอร แล้วก็อยากขอเพิ่มเติมว่า ที่ถามสัญญานั้นยังไม่หมดนะครับ ยังอยากจะถามต่อไปว่า ทำไมสัญญาจึงไม่มีในปฏิจจสมุปบาท ทั้งๆ ที่สัญญานี้มีความสำคัญมาก จัดเป็นขันธ์หนึ่งในห้าเลยนะครับ วันๆ คิดนึกก็เกิดจากสัญญา แล้วสติปัฏฐานก็สามารถรู้สัญญาได้ จิตก็วิจิตรอย่างนี้ละครับ เพราะธรรมชาติของจิตอย่างหนึ่ง คือวิจิตรตามอารมณ์ทีวิจิตร ที่ว่าเสี่ยงต่อความเห็นผิดเข้าใจผิดไม่น่าจะมี เพราะเมื่อสติปัฎฐานเกิดระลึกในสัญญาก็รู้ว่าจำเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ถ้ารู้ว่าจำเป็นกุศลหรืออกุศลก็เป็นบัญญัติแล้วใช่ไหมครับ อย่าว่ากันนะครับเพราะเป็นผู้ศึกษาอยู่เช่นกัน ทีนี้ถ้าจะถามว่าทำไมผมถึงถามอย่างนี้ ก็เรามี อ. ประเชิญ และท่านวิทยากรหลายท่านอยู่สามารถเก็บเกี่ยวได้สบาย หายากมากนะครับ ที่จะมีผู้เกื่อกูลได้อย่างนี้ ท่านเป็นผู้รู้มาก ศึกษามาก เป็นโอกาสที่บุญกิริยาวัตถุเจริญ เมื่อถามก็เลยรู้ว่า ท่านแสดงสติปัฏฐานไว้แค่ ๔ คลิกอ่านแล้วหรือยังครับ อ่านแล้วเป็นยังไงครับ ดีมากเลยใช่ไหมครับที่ได้อ่านและเข้าใจ ถ้าไม่ถามผมคงไม่ได้พบและได้อ่านเพราะไม่นิยมอ่านพระสูตรและพระอภิธรรม ขอเสนอความเห็นว่าเมื่อเราศึกษาด้วยกัน ก็เหมื่อนสหายธรรมร่วมเกิดทางอันยาวไกล เดินทางคนเดียวไม่ไหว ไม่มีใครสนทนาด้วยจะไปไม่รอด ในสมัยพุทธกาลท่านพระสารีบุตรยังชอบเกื้อกูลภิกษุที่ยังไม่ได้เป็นโสดาบัน ส่วนท่านพระมหาโมคคัลลานะชอบเกื้อกูลภิกษุที่ได้เป็นโสดาบันแล้ว เราก็ควรเกื้อกูลกันและกัน เอาอย่างท่านครับ
ธรรมที่ไม่ใช่กาย เวทนา จิต ทั้งหมดนั้นสงเคราะห์อยู่ในหมวดธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานด้วยพระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาคุณจึงได้ทรงแสดงหนทางแห่งความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ไว้ไม่มากกว่านี้ ไม่น้อยกว่านี้ ไม่ยิ่ง ไม่หย่อนทรงตรัสรู้ประโยชน์อย่างไร ก็ทรงแสดงประโยชน์อย่างนั้นทรงตรัสคำใด คำนั้นเป็นหนึ่ง ไม่เป็นสอง...
ขออนุโมทนาในกุศลจิตครับ...
ขออนุโมทนาครับ