ในพระไตรปิฏกได้กล่าวใว้อย่างไร เกี่ยวกับผู้ปฏิบัติธรรม ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔
ดิฉันอยากทราบว่า มีข้อห้ามอะไรบ้างที่ห้ามผู้ที่จะทำกรรมฐานโดยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ และผู้ที่สามารถจะทำกรรมฐานได้นั้นต้องมีคุณสมบัติอย่างไรคะ
ตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีข้อห้ามหรือบังคับ โดยเฉพาะเรื่องการเจริญภาวนา ถ้าผู้ใดมีปัญญารู้ตามคำสอน ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามคำสอน ย่อมบรรลุผลตามควรแก่เหตุที่ผู้นั้นสะสมมา ตามความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่ไม่มีปัญญา ไม่สามารถเจริญภาวนาได้ เพราะเรื่องการเจริญภาวนาเป็นเรื่องของผู้มีปัญญาเท่านั้น ผู้ที่ไม่มีปัญญา ย่อมไม่รู้เหตุผลว่า อะไรมีโทษ อะไรมีคุณ เจริญภาวนาคืออะไร เจริญภาวนาเจริญอย่างไร เจริญภาวนารู้อะไร ผลของการเจริญคืออะไร เป็นต้น
มหาสติปัฎฐานเป็นพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ และทรงแสดง เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นแก่นแท้ เป็นพระธรรมคำสอน ที่แสดงถึงการเป็นพระอรหันต-สัมมสัมพุทธเจ้า เพราะถ้าไม่ได้ทรงแสดงมหาสติปัฎฐาน ก็จะไม่ทรงเป็นพระอรหันต-สัมมาสัมพุทธเจ้า คำสอนของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนต้องศึกษาจริงๆ
ไม่ควรประมาทคิดว่าเพียงฟังครั้งเดียว หรือสองครั้ง ก็สามารถที่จะเข้าใจได้โดยละเอียดลึกซึ้ง จนสามารถที่จะปฏิบัติและหมดกิเลสได้ในเวลารวดเร็ว แต่เป็นเรื่องที่ยิ่งฟัง ก็ยิ่งเห็นพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า พระธรรมที่ทรงแสดงนั้นเป็นสัจจธรรม คือ เป็นสิ่งที่มีจริง และสามารถที่จะพิสูจน์ได้ไม่ว่าในกาลไหนๆ ทั้งสิ้น แต่ถ้าไม่ฟังพระธรรมก็ย่อมไม่สามารถเข้าใจว่า การที่จะพิสูจน์พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ จะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าพระธรรมนั้นเป็นพระธรรมที่ตรัสรู้แจ้งจริงๆ และได้ทรงแสดงพระธรรมไว้เพื่อให้บุคคลอื่นศึกษา และอบรมเจริญปัญญาจนดับกิเลสได้ด้วย ซึ่งในครั้งที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ปรินิพพานนั้น มีพระสงฆ์สาวกเป็นอันมาก เมื่อได้ฟังพระธรรมแล้วก็ได้รู้อริยสัจจธรรม บรรลุคุณธรรมเป็นพระอริยสาวก เป็นจำนวนไม่น้อยเลย เมื่อกาลสมัยล่วงมา ก็สังเกตได้จากการศึกษาพระธรรมของพุทธศาสนิกชนว่ามีมากหรือน้อย
มหาสติปัฏฐานเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษา และพิจารณาโดยละเอียดจริงๆ และมหาสติปัฎฐานก็เป็นการอบรมเจริญปัญญา ในชีวิตประจำวันในขณะนี้เอง ไม่ใช่การไปปฏิบัติที่ผิดปรกติจากชีวิตจริง
สติปัฏฐาน คือ การระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ คือ นามธรรมและรูปธรรม รู้ตามเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่เมื่อสติเกิดขึ้นทำกิจแล้วดับไป หลังจากนั้น ความรู้สมมติบัญญัติก็คงเหมือนเดิมการรู้สิ่งต่างๆ ของผู้อบรมสติปัฏฐานมีทั้งปรมัตถ์และบัญญัติ
สติปัฎฐาน จะเกิดได้ ผู้ที่เจริญสติจะต้องมีความเข้าใจ ศึกษาพระอภิธรรม คำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก่อน ผู้ที่จะศึกษาแล้ว สติปัฎฐานจะเกิดได้ ต้องเข้าใจ หลักการดังต่อไปนี้
1. ต้องเข้าใจว่าจิตเป็นสภาพที่รู้อารมณ์ เกิดรับรู้อารมณ์หนึ่งแล้วดับไป แล้วเกิดรับรู้อารมณ์อีกหนึ่งแล้วดับไป ทีละขณะสืบต่อกันไปอย่างรวดเร็วมากรวดเร็วเกินกว่า เราจะไปจดจ้อง หยุดยั้งเพื่อพิจารณา หรือบังคับให้เกิดสติตามระลึกได้
2. สติต้องระลึกในปรมัตธรรม สภาพธรรม หมายความว่า ไม่ใช่ระลึกในเรื่องราวต่างๆ ที่เป็น บัญญัติธรรม ต้องระลึกในสภาพธรรม ที่เป็นจิต - เจตสิก- รูป เท่านั้น สภาพธรรมนั้นแหละคือ สัจธรรม
3. สติจะต้องระลึก ในสภาพที่กำลังปรากฎ หรือ ในปัจจุบันขณะหมายถึงขณะที่จิตยังไม่ละจากการรับรู้ในสภาพธรรมที่กำลังเกิดขึ้นสลับกันอย่างรวดเร็ว เช่น จิตเห็นเกิดขึ้นสลับกับจิตอื่นๆ และยังกลับมาเป็นจิตเห็นอยู่นั้นถือว่าเห็นยังเป็นปัจจุบันขณะ แต่ไม่ใช่จะไปเกิดขึ้นซ้อนในขณะเดียวกันขณะใด เพราะจิตจะต้องเกิดขึ้นทีละขณะเท่านั้นอย่างนี้เรียกว่าตามระลึก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องราวที่ผ่านไปแล้ว หรือเรื่องราวที่ยังไม่มาถึง
4. สติปัฎฐานจะเกิดขึ้นตามฐานที่ตั้งของการปรากฏ แล้วแต่ว่าจิตอะไรจะเกิด ถ้าสติเกิดก็จะระลึกไปตามฐานที่ตั้งต่างๆ เหล่านั้น ไม่สามารถจับมาระลึก หรือเพ่งหรือจดจ้องอยู่ในสิ่งเดียว อย่างเดียวได้ ดังที่ท่านแจกแจงว่า ที่กาย เวทนา จิต ธรรม คือจ ากใกล้ตัว จนครอบคลุมธรรม ทุกอย่างเป็นสติปัฎ-ฐานได้หมด
5. สติปัฎฐานจะไม่มีทางเกิดได้ ถ้าหากเราอยากให้สติปัฎฐานเกิดเพราะความอยากนั้นเป็นอกุศลเป็นเครื่องกั้น สติซึ่งเป็นกุศล สติจะเกิดขึ้นเองจากการเข้าใจในการฟังเรื่องราวของอภิธรรมก่อน เมื่อความเข้าใจเจริญถึงพร้อม จะเริ่มสังเกต ความแตกต่างระหว่างการหลงลืมสติ กับการมีสติ ความเข้าใจเมื่อเข้าใจเพิ่มขึ้น สังขารขันธ์จะปรุงแต่งให้สติเกิดขึ้น ทีละน้อย ทีละน้อย
โดยสมาชิก : WERAYUT วันที่ : 10-05-2549
ขอบคุณค่ะ กรุณาชี้แจงให้ทราบหน่อยค่ะว่า ผู้ที่ไม่มีปัญญาในทางพระพุทธศาสนานั้นเป็นอย่างไรคะ คือมีลักษณะอย่างไร มีกล่าวในพระไตรปิฏกหรือไม่อย่างไร หรือหมายถึงคนวิกลจริต คนปัญญาอ่อน นับเป็นคนที่ไม่มีปัญญาด้วยหรือปล่าคะ
ผู้ที่ไม่มีปัญญาตามคำสอนของพระพุทธเจ้ามีหลายอย่าง คือ ปฏิสนธิด้วยอเหตุกะ ๑
ปฏิสนธิด้วยทวิเหตุกะ ๑ ไม่มีปัญญาบริหารตน (ปาริหาริยปัญญา) ๑
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 130
เชิญคลิกอ่านที่ ว่าด้วย... นรชนผู้มีปัญญา