ทำไมเวลาเข้าห้องประชุมต้องเงียบด้วย
สิ่งที่เราเห็นด้วยตาเปล่า ทำไมเราต้องสมมติว่า นี่เรียกว่าอย่างนี้
นั้นเรียกว่าอะไร เหล่านี้ใครเป็นคนบัญญัติครับ
เมื่อมีความอยากแล้วจะทำอย่างไร
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทำไมเวลาเข้าห้องประชุมต้องเงียบด้วย
การประชุม คือ การที่รับฟังความคิดเห็น ของผู้แสดง ดังนั้น ถ้ามีการแสดงความ
คิดเห็นอยู่ ขณะนั้น ก็ต้องทำหน้าที่สมควร คือ การรับฟัง เพราะหากมีผู้พูดอยู่แล้ว
ไม่เงียบ พูดเอ่ยแทรกขึ้นมา ย่อมไม่สมควร เพราะก็จะไม่ได้รับฟังในเรื่องที่ผู้อื่นแสดง
ก็จะไม่เข้าใจเรื่องในขณะนั้น และ ก็ทำให้ผู้อื่นที่รับฟังด้วย ก็ทำให้ ไม่ได้เข้าใจ ไม่
ได้ฟังในเรื่องที่ผู้อื่นพูด เพราะ มีการพูดแทรก ในขณะที่ประชุม ดังนั้นควรเงียบใน
ขณะที่มีการประชุมที่ผู้อื่นกำลังแสดงความคิดเห็น และควรพูด เมื่อผู้อื่นกล่าวจบแล้ว
และ มีข้อที่จะพูดในเรื่องประเด็นนั้น ครับ
การเงียบในที่ประชุม จึงทำให้ได้รับประโยชน์ในการรับฟังของตนเอง และ ผู้อื่น
ในข้อที่ได้ยินได้ฟัง ครับ
ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงในเรื่องการเงียบในที่ประชุมไว้ด้วย ครับ คือ กิจสอง
อย่างที่อยู่ในที่ประชุม คือ การนั่งนิ่งอย่างพระอริยะ คือ การรับฟังและตรึกในทางธรรม
และ การสนทนาธรรม คือ เมื่อถึงคราวพูด ก็ควรพูดในสิ่งที่ถูกต้อง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒- หน้าที่ 411
การที่พวกเธอผู้เป็นกุลบุตร ออกจากเรือนไม่มีเรือน บวชด้วยศรัทธา
นั่งสนทนาธรรมมีกถากันเป็นการสมควร พวกเธอเมื่อนั่งประชุมกัน ควร
ทำกิจสองอย่าง คือ สนทนาธรรมกัน หรือ นั่งนิ่งตามแบบพระอริยะ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
คำถามที่ว่า
สิ่งที่เราเห็นด้วยตาเปล่าทำไมเราต้องสมมติว่านี่เรียกว่าอย่างนี้ นั้นเรียกว่าอะไรเหล่านี้
ใครเป็นคนบัญญัติครับ
- การสมมติบัญญัติ เป็นการตั้งชื่อ ในแต่ละสิ่ง เพื่อให้รู้ความหมาย เพื่อประโยชน์
ให้เข้าใจตรงกัน เพื่อที่จะได้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม โดยใช้การตั้งชื่อ
สิ่งต่างๆ เพื่อให้เข้าใจได้ถูกต้องร่วมกัน ซึ่ง ชื่อของแต่ละอย่างนั้น ก็ถูกสมมติตั้งชื่อ
โดยชาวโลก ที่มนุษย์ตั้งขึ้น แต่ชื่อบางชื่อ ศัพท์บางศัพท์ ไม่มีใครตั้งได้ แม้แต่
พระปัจเจกพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เอง ก็ไม่สามารถใช้คำสมมติบัญญัติใน
สภาพธรรมบางอย่างได้ นอกเสียจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะมีชื่อ
มีเรื่องราว ก็จะต้องมีสภาพธรรม ที่เป็นความจริง คือ จิต เจตสิก รูป จึงจะมีสมมติ
เรื่องราวได้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริง แล้วทรงบัญญัติศัพท์ที่แสดงถึงความจริง
ของสภาพธรรมนั้นได้อย่างเหมาะสม ด้วยศัพท์ที่สามารถสื่อให้สัตว์โลกเข้าใจ เกิด
ปัญญาได้ เช่น ตั้งชื่อว่า จิต ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ในการรู้ แม้ไม่ได้ตั้งชื่อว่า
จิต แต่มีลักษณะที่มีจริง คือ สภาพธรรมนั้นเป็นใหญ่ในการรู้ แต่พระองค์ก็ทรงแต่งตั้ง
บัญญัติศัพท์เพื่อให้สัตว์โลกได้เข้าใจว่า สภาพธรรมนี้ที่เป็นสภาพรู้ เรียกว่า จิต
ดังนั้น พระองค์ก็บัญญัติแต่งตั้งศัพท์ต่างๆ จนเป็นคำสอนที่พระพุทะเจ้าทรงแสดง
เมื่อได้อ่าน ได้ศึกษาในคำที่พระองค์แต่งตั้งที่สอดคล้องกับสภาพธรรม ก็เป็นเหตุให้
เกิดปัญญารู้ความจริงดั่งเช่น พระองค์นี่คือ ประโยชน์ของการบัญญัติชื่อธรรม เพื่อให้
เข้าใจความจริงของสภาพธรรม ครับ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
คำถามที่ว่า เมื่อมีความอยากแล้วจะทำอย่างไร
ความอยากก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ความอยากด้วยอกุศล ที่เป็นโลภะ เกิดขึ้น
แล้วเป็นไป เป็นธรรมดาของปุถุชน ที่สะสมกิเลสมามาก ก็เกิดความอยาก ความ
ติดข้อง โลภะได้เป็นธรรมดา หากแต่ว่า จะทำอย่างไรเมื่อความอยากเกิดแล้ว ก็
ต้องเข้าใจว่า มีเราที่จะไปทำได้หรือไม่ มีเราที่จะบังคับสภาพธรรมได้หรือไม่ แม้
แต่ความอยาก ก็ไม่สามารถบังคับไม่ให้เกิด ก็เกิดแล้ว แสดงถึงการบังคับไม่ได้
ไม่สามารถทำได้ เพราะ ธรรมเป็นไปตามเหตุปัจจัย และ เมื่อเกิดความอยากแล้ว
จะทำอย่างไร ไม่มีใครทำ แต่ ธรรมจะเกิดขึ้นเอง คือ จิต เจตสิก เกิดขึ้นต่อ ซึ่งก็
แล้วแต่การสะสมของจิต เจตสิกที่เคยสะสมมา ก็เกิดความอยาก เกิดกิเลสอื่น ๆ
ต่อไปก็ได้ หรือ เกิดกุศลก็ได้ ก็เป็นแต่เพียงธรรมที่ไม่สามารถบังคับบัญชาได้
ดังนั้น หนทางการอบรมปัญญาที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนา จึงไม่ใช่เรื่องการจะ
บังคับให้เป็นไปตามใจ เพราะเป็นเรื่องของธรรมที่จะเป็นไปเอง แต่เป็นเรื่องของ
ความเข้าใจ เข้าใจในสิ่งที่เกิดแล้วว่า คือ อะไร ก็คือ เข้าใจถูกว่าเป็นธรรมไม่ใช่
เรา ความอยาก เป็นอกุศล ก็ไม่ใช่เราที่อยาก แต่เป็นสภาพธรรมที่เป็นอกุศล
ที่ไม่ใช่เรา จึงไม่เดือดร้อนที่จะไม่อยากเกิดขึ้นอีก เพราะ เป็นไปไม่ได้ แต่ค่อยๆ
เข้าใจถูกแม้ขั้นการฟังว่า อยากก็เป็นธรรม ไม่มีเรา ไม่มีสัตว์ บุคคล การเข้าใจ
เช่นนี้ ก็จะเบา เพราะไม่หนักที่จะไปทำ ไม่ให้อกุศลเกิด และ เบาว่า ไม่ใช่เราที่
เป็นอกุศล เป็นธรรม ก็จะค่อยๆ ละกิเลสที่ยึดว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล และเป็น
หนทางการดับกิเลสที่ถูกต้อง ครับ ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
-ถ้าไม่เงียบ ต่างคนต่างคุย มีแต่คนพูด แล้วจะรู้เรื่องได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เวลาที่ประชุมกันเพื่อสนทนาธรรม ถ้าคุยกันในขณะที่ฟังธรรม ก็ไม่ได้ยินได้ฟัง ในสิ่ง
ที่ผู้กล่าวธรรมได้กล่าว นอกจากตนเองจะเป็นผู้ไม่เคารพธรรมแล้ว ยังเป็นการตัด
โอกาสแห่งความเข้าใจของผู้อื่นด้วย จะเห็นได้จริงๆ ว่า ความดีทั้งหมด ความประ-
พฤติที่ดีงามทั้งหมด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้โดยละเอียดโดยประการทั้ง
ปวง ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเห็นประโยชน์และน้อมประพฤติตามหรือไม่
-เมื่อได้ศึกษาพระธรรมจะเข้าใจได้ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตามีเพียงอย่างเดียว
คือ สี หรือ รูปารมณ์ แต่ที่เห็นเป็นคนนั้น คนนี้ เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ นั้นเป็นความคิดนึก
ทางใจแล้ว และที่น่าพิจารณา คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริง เป็นธรรมทั้งหมด เกิด
ขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แม้แต่ที่บัญญัติเรียกว่าเป็นคน ก็เพราะมีธรรมที่มีจริง เพราะ
ชีวิตของแต่ละคนก็คือ ความเป็นไปของธรรมที่เป็นนามธรรมกับรูปธรรมนั่นเอง
หรือแม้แต่พวกวัตถุสิ่งของต่างๆ เช่น แก้ว โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ถ้าไม่มีการเกิดขึ้น
ของรูปธรรม ก็จะมีการบัญญัติว่าเป็นสิ่งนั้นๆ ไม่ได้ ผู้ที่มีการฟังพระธรรม ศึกษา
พระธรรมสะสมความเข้าใจถูก ย่อมเข้าใจถูกต้องว่า ถ้าไม่มีธรรมแล้วอะไรๆ ก็ไม่
มี และสิ่งที่เป็นธรรมก็คือสิ่งที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวันนี้เอง
-เมื่อมีความอยากเกิดขึ้นเป็นไป ก็มีความเป็นไปคล้อยตามความอยากนั้น
ตามการสะสมของแต่ละบุคคล เพราะตราบใดที่ยังไม่ได้ดับโลภะ ก็ย่อมมีเหตุปัจจัย
ให้โลภะความอยากเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน เต็มไปด้วย
โลภะความอยากทั้งนั้นเลย ยากที่จะพ้นไปได้ ซึ่งก็เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย
ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น หนทางแห่งการอบรมเจริญปัญญาเท่านั้น
ที่จะทำใหัรู้โลภะตามความเป็นจริงและดับได้ในที่สุด ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านตัวอย่างของผู้ที่มีความอยากแล้วทำอะไร ได้ที่หัวข้อนี้ครับ
เป็นทูตของตัณหา [ทูตชาดก]
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
เพราะเวลาที่คนอื่นแสดงธรรม ต้องการคนที่ตั้งใจฟัง ไม่มีเสียงรบกวน ไม่พูดคุยกัน
และ เป็นการเคารพธรม ค่ะ
ความอยาก (โลภะ) มีหลายระดับ.เช่นอยากแล้วเบียดเบียนตนเอง (ใช้จ่ายเงินเพื่อได้ใน
สิ่งที่ต้องการเช่นเสื้อผ้าราคาแพงๆ ) หรือเบียดเบียนคนอื่นเช่นอยากได้ notebook
แล้วขโมย ถ้าไม่รู้ (ไม่ศึกษาพระธรรม) ว่า...ความอยากเป็นอกุศลที่เริ่มต้น
จากอกุศลเล็กๆ ที่สามารถสะสมเป็นอกุศลที่มีกำลังทำให้เกิดทุจริตทางกายและ
วาจาใจกับรู้โทษของความอยาก..รู้โทษของความอยากย่อมดีกว่าเพราะยังมีความ
เกรงกลัวในการทำบาป....อุปมาเหมือนมีก้อนเหล็กร้อนผู้รู้ว่าก้อนเหล็กร้อนกับผู้ไม่รู้..
ผู้รู้ย่อมจับเหล็กร้อนน้อยกว่าผู้ไม่รู้.. คาถา ว่าด้วยเรื่องก้อนเหล็กแดง [มิลินทปัญหา]
ธรรมะเป็นอนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้เป็นไปตามการสะสม..เมื่อมีความ
อยากจะทำอย่างไร..จึงไม่สามารถกำหนดหรือห้ามไม่ให้ทำหรือให้ทำได้..การทำหรือ
ไม่ทำสิ่งที่เป็นอกุศลเป็นไปตามกำลังของปัญญาที่เริ่มจากการศึกษาพระธรรมให้เข้า
ใจจนมีกำลังละความต้องการได้
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
สิ่งที่ท่านทั้งหลายว่ามานี้ก็มีเหตุที่ต่างกันที่น่าศึกษาพอสมควร ขอขอบคุณครับ