[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 147
ปฐมปัณณาสก์
อักโกสวรรคที่ ๕
๕. ปเวสนสูตร
ว่าด้วยโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน ๑๐ ประการ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 147
๕. ปเวสนสูตร
ว่าด้วยโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน ๑๐ ประการ
[๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในมี ๑๐ ประการ ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาในโลกนี้ประทับอยู่กับพระมเหสี ภิกษุเข้าไปในที่นั้น พระมเหสีเห็นภิกษุนั้นแล้วย่อมทรงยิ้มแย้ม หรือภิกษุเห็นพระมเหสีแล้วยิ้มแย้มก็ดี พระราชาก็จักทรงสงสัยในอาการนั้นอย่างนี้ว่า คนทั้งสองนี้คงได้ทำแล้ว หรือจัก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 148
ทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปสู่พระราชวังชั้นในข้อที่ ๑.
อีกประการหนึ่ง พระราชาทรงมีกิจมาก มีกรณียะมาก เสด็จไปหาหญิงคนใดคนหนึ่งแล้ว ทรงระลึกไม่ได้ หญิงนั้นย่อมตั้งครรภ์ด้วยพระราชานั้น พระราชาก็จักทรงสงสัยในการตั้งครรภ์นั้นอย่างนี้ว่า เว้นบรรพชิตแล้ว ใครๆ อื่นไม่เข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้ กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๒.
อีกประการหนึ่ง รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งในพระราชวังชั้นในหายไป พระราชาก็จักทรงสงสัยในการที่รัตนะหายไปนั้นอย่างนี้ว่า เว้นบรรพชิตแล้วใครๆ อื่นไม่เข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้ กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๓.
อีกประการหนึ่ง เรื่องลับอันเป็นภายในในพระราชวังชั้นในแพร่งพรายออกภายนอก พระราชาก็จะทรงสงสัยในการที่เรื่องลับแพร่งพรายออกภายนอกนั้นอย่างนี้ว่า เว้นบรรพชิตแล้วใครๆ อื่นไม่เข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้ กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๔.
อีกประการหนึ่ง ในพระราชวังชั้นใน บิดาย่อมปรารถนาเพื่อจะฆ่าบุตรหรือบุตรย่อมปรารถนาเพื่อจะฆ่าบิดา คนทั้งสองฝ่ายนั้นจะสงสัยอย่างนี้ว่า เว้นบรรพชิตแล้ว ใครๆ อื่นไม่เข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้ กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 149
เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๕.
อีกประการหนึ่ง พระราชาย่อมทรงตั้งบุคคลผู้ควรแก่ตำแหน่งต่ำไว้ในตำแหน่งสูง คนทั้งหลายไม่พอใจในการแต่งตั้งนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่า พระราชาทรงคลุกคลีด้วยบรรพชิต กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๖.
อีกประการหนึ่ง พระราชาย่อมทรงตั้งบุคคลผู้ควรแก่ตำแหน่งสูงไว้ในตำแหน่งต่ำ คนทั้งหลายไม่พอใจการแต่งตั้งนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่า พระราชาทรงคลุกคลีด้วยบรรพชิต กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๗.
อีกประการหนึ่ง พระราชาย่อมทรงส่งกองทัพไปในกาลอันไม่ควร คนทั้งหลายไม่พอใจในการที่ส่งกองทัพไปนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่า พระราชาทรงคลุกคลีด้วยบรรพชิต กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวัง ชั้นในข้อที่ ๘.
อีกประการหนึ่ง พระราชาทรงส่งกองทัพไปในกาลอันควร แล้วรับสั่งให้กลับเสียในระหว่างทาง คนทั้งหลายไม่พอใจการให้กองทัพกลับเสียในระหว่างทางนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่า พระราชาทรงคลุกคลีด้วยบรรพชิต กรรมนี้จะพึงเป็นกรรมของบรรพชิตกระมังหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๙.
อีกประการหนึ่ง พระราชวังชั้นในเป็นที่คับคั่งด้วยช้าง คับคั่ง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 150
ด้วยม้า คับคั่งด้วยรถ มีรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ซึ่งเป็นของไม่สมควรแก่บรรพชิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ ๑๐ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน ๑๐ ประการนี้แล.
จบปเวสนสูตรที่ ๕
อรรถกถาปเวสนสูตรที่ ๕
ปเวสนสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กตํ วา กริสฺสนฺติ วา ได้แก่ ทำการล่วงละเมิดเมถุนแล้วหรือจักทำการล่วงละเมิดเมถุนนั้น. บทว่า รตนํ ได้แก่ บรรดารัตนะมีมณีรัตนะเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า ปฏฺเติ ได้แก่ ประสงค์จะให้ตาย. บทว่า หตฺถีสมฺพาธํ แปลว่า อันเบียดเสียดด้วยช้าง. ปาฐะว่า หตฺถีมทฺทนํ ก็มี. คำนั้นมีใจความว่า ชื่อว่าหัตถีสัมมัททะ เพราะเป็นที่มีช้างเหยียบย่ำ. ในคำที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า รชนียานิ รูปสทฺทคนฺธรสโผฏฺพฺพานิ ความว่า อารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ที่ทำให้ราคะเกิดเหล่านั้นย่อมเป็นของอร่อยในข้อนั้น.
จบอรรถกถาปเวสนสูตรที่ ๕