ดิฉันได้อ่านข้อความในWeb มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวว่า " ... .ดูอย่างองค์สมเด็จพระจอมไตร พระองค์ทรงหวังดีไม่อยากให้ควายมากินน้ำที่ขุ่น เลยรั้งคอควายไม่ให้ดื่ม รอให้น้ำใสแล้วค่อยให้ควายกิน มาชาตินี้องค์สมเด็จใกล้นิพาน อยากน้ำแต่ก็ต้องอดน้ำ นี่หวังดีแท้ๆ ... ." ทำให้นึกถึงเหตุการณ์หลายๆ ครั้งที่ช่วยเหลือสัตว์เล็กไม่ให้ถูกสัตว์ใหญ่กิน แต่ก็ไม่ได้ตีหรือทำร้ายสัตว์ใหญ่นั้น และเหตุการณ์ล่าสุดวันแม่ที่ผ่านมาดิฉันได้ไปซื้อปลาและเต่าจากตลาดเพื่อให้คุณแม่ปล่อย แต่แม่ยังมาไม่ถึงวัดดิฉันจึงต้องนำเต่าไปใส่ถังไว้ก่อน ดิฉันเคยทราบมาว่าการกระทำทุกอย่างอยู่ที่เจตนา แต่เมื่อได้อ่านพบข้อความดังกล่าวข้างต้นทำให้ดิฉันมีคำถามขอถามว่าดิฉันคงจะทำบาปไปแล้วโดยไม่รู้ว่าเป็นบาปใช่หรือไม่ค่ะ
ควรทราบว่าบาปหรือบุญอยู่ที่เจตนา ถ้ามีเจตนาทำความดี ทางกาย ทางวาจา ทางใจเป็นบุญ ถ้ามีเจตนาทำความไม่ดี ทางกาย ทางวาจา ทางใจ เป็นบาป ตัวอย่างที่ท่านยกมาไม่ชื่อว่าเป็นการทำบาป เพราะเจตนาดี ส่วนข้อความที่กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ในอดีตสมัยที่ทำการห้ามโคไม่ให้ดื่มน้ำนั้น ต้องมีเหตุการณ์และรายละเอียดมากกว่านี้ไม่ใช่เพียงเจตนาดีเท่านั้น แต่เป็นการกระทำที่ห้ามคือลงมือกระทำไม่ให้ดื่มน้ำ ซึ่งโคไม่รู้ภาษามนุษย์อาจจะต้องทั้งดึงทั้งตีเพื่อไม่ให้มันดื่มน้ำ คือเจตนาแรกเป็นเจตนาดีไม่ให้โคดื่มน้ำขุ่น แต่การห้ามหรือกระทำการไม่ให้ดื่มเป็นเจตนาไม่ดี คือเกิดสลับกันได้
อยู่ที่เจตนาเป็นหลัก จิตเกิดดับสลับกันรวดเร็วมาก กุศลเกิดสลับกับอกุศลก็ได้ค่ะ
"ดูอย่างองค์สมเด็จพระจอมไตร พระองค์ทรงหวังดีไม่อยากให้ควายมากินน้ำที่ขุ่น เลยลั้งคอควายไม่ให้ดื่ม รอให้น้ำใสแล้วค่อยให้ควายกิน มาชาตินี้องค์สมเด็จไกล้นิพาน อยากน้ำแต่ก็ต้องอดน้ำ นี่หวังดีแท้ๆ ... ."
ข้อความที่ต่อจาก นี่หวังดีแท้ๆ ... ." ไม่ทราบว่าคืออะไร
ถ้าอ่านเพียงเท่านี้ จะเข้าใจว่า ผู้พูดหมายถึง " ทำดีไม่ได้ดี "
ซึ่งถ้าหมายถึงแบบนี้ ก็แสดงว่าผู้พูดไม่มั่นคงในเรื่องกรรม และการให้ผลของกรรม
ขออนุโมทนาค่ะ คนที่เขียนแสดงความคิดเห็นที่ดิฉันได้ Copy และได้อ่านมา เขาเชื่อเรื่องกรรมค่ะ และยกตัวอย่างนี้เพื่อให้เห็นว่า ทั้งๆ ที่พระองค์ทำไปด้วยความหวังดียังได้รับผลอย่างนี้ และคนที่ทำบาปหนักๆ เช่น ฆ่าสัตว์ ก็คงหลีกไม่พ้นที่จะได้รับผลแห่งกรรมอย่างแน่นอนในความคิดเห็นส่วนตัว ดิฉันเข้าใจว่าผู้เขียนคงต้องการสื่อให้คนอื่นๆ พึงระวังตัวเองมิให้เผลอทำบาปอกุศล
ความจริง คือ "อกุศลจิต" ในชีวิตประจำวันของปุถุชน เกิดมากกว่า "กุศลจิต" ครับ
พระโพธิสัตว์ ก็ยังมีอกุศลจิตเกิดอยู่มากเพราะท่านกำลังบำเพ็ญบารมีอย่างใหญ่หลวง
พระอรหันต์ เท่านั้นที่ไม่มีอกุศลจิตเกิดอีก และ "สุข" เป็นสภาพที่ "ทนได้ง่าย" กว่าจะ"สุขใจ"จากการทำกุศลในแต่ละครั้ง ไม่ใช่การนั่งเฉยๆ แล้วกุศลทุกประการจะลอยเข้าหา บางทีเราต้องยอมทนทุกข์ ยอมลำบากที่จะขวนขวายกระทำ เช่น การไปตลาดเพื่อซื้อสัตว์มาปล่อย กว่าทางของกุศลจิตจะเกิดได้แต่ละขณะ จิตของเราก็เป็นอกุศลไปก่อนแล้วหลายวาระ เช่น ขณะที่กำลังซื้อ พอโลภมูลจิตเกิดขึ้น ก็มีเราทันที ที่เลือกในสิ่งที่เห็นเป็นสัตว์ที่น่าพอใจบ้าง หรือราคาที่ตนจ่ายไหวบ้าง ตัวไหนถูก หรือแพงเลือกตัวนั้นหรือเอาตัวนี้ ซื้อเสร็จก็ต้องยอมลำบากหิ้วกลับบ้านต่อ แต่ด้วยความที่ สุขเป็นสภาพที่ "ทนได้ง่าย" เราจึงไม่ได้รู้สึกเป็นทุกข์มากมาย ในการแสวงหาสัตว์เหล่านั้นมาปล่อย แต่อกุศลจิตที่เกิดภายหลังจากการเอาสัตว์เหล่านั้นไปขังไว้ก่อน ประกอบกับการได้อ่านข้อความบางตอนที่ทำให้ต้องย้อนพิจารณาตัวเอง ถ้าขณะนั้นเกิดหลงลืมสติไป เราก็จะลืมว่า สภาพธรรมที่เป็นทุกข์เกิดกับ "เรา" หรือ "ใจของเรา" แล้วเพราะ ทุกข์ เป็นสภาพที่ทนได้ยาก จิตจึงพะวงในอารมณ์ที่เป็นทุกข์ ความไม่แช่มชื่นปรากฏ เป็นลักษณะของโทสมูลจิตที่แสดงอาการชัดเจนมากกว่า "ตัวเรา" ที่เป็นทุกข์ครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ .. นกที่ถ่ายอุจจาระรดหลังคาสถานที่สำคัญ
ขอทราบความหมายของคำว่า โผฏฐัพพะ อย่างละเอียด ขอบพระคุณค่ะ
ตอบความเห็นที่ ๗
ความหมายของคำว่า โผฏฐัพพะ หรือโผฏฐัพพารมณ์ หมายถึง รูปที่เป็นอารมณ์ของทวารกาย กระทบกายปสาทรูป รู้ด้วยกายวิญญาณดังข้อความโดยละเอียดจากพระอภิธรรมดังนี้
ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่
โผฏฐัพพายตนะนั้น เป็นไฉน?
โผฏฐัพพะ หมายถึง อารมณ์ที่กระทบกายปสาท มี ๓ อย่าง คือธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม ยกเว้น ธาตุน้ำ เพราะธาตุน้ำเป็นรูปที่ละเอียด รู้ได้ทางใจเท่านั้นค่ะ
ไม่ควรกังวล แต่ควรรู้โดยความไม่ใช่เรา เพราะสิ่งที่ผ่านไปแล้วก็ผ่านไปแล้ว สำคัญคือ ขณะนี้
ตั้งใจอย่างไร เป็นอย่างนั้น
ยินดีในกุศลจิตค่ะ