๔. ปริวัฏฏสูตร ว่าด้วยการรู้อุปาทานขันธ์โดยเวียนรอบ ๔
โดย บ้านธัมมะ  6 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 36813

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 121

๔. ปริวัฏฏสูตร

ว่าด้วยการรู้อุปาทานขันธ์โดยเวียนรอบ ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 121

๔. ปริวัฏฏสูตร

ว่าด้วยการรู้อุปาทานขันธ์โดยเวียนรอบ ๔

[๑๑๒] กรุงสาวัตถี. ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน?


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 122

คือ อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ยิ่งซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ โดยเวียนรอบ ๔ ตามความเป็นจริงเพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล เรารู้ยิ่งซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ โดยเวียนรอบ ๔ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เวียนรอบ ๔ อย่างไร คือ เรารู้ยิ่งซึ่งรูป ความเกิดแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป รู้ยิ่งซึ่งเวทนา ฯลฯ รู้ยิ่งซึ่งสัญญา ฯลฯ รู้ยิ่งซึ่งสังขาร ฯลฯ รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณ ความเกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ.

[๑๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็รูปเป็นไฉน คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป ความเกิดขึ้นแห่งรูปย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ความดับแห่งรูปย่อมมีเพราะความดับแห่งอาหาร อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ ปฏิบัติแล้วเพื่อ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 123

ความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้วชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน ความเวียนวนเพื่อปรากฏย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.

[๑๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นไฉน เวทนา ๖ หมวดนี้ คือ เวทนาเกิดแต่จักษุสัมผัส เวทนาเกิดแต่โสตสัมผัส เวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาเกิดแต่กายสัมผัส เวทนาเกิดแต่มโนสัมผัส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ ปฏิบัติแล้วเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 124

เพื่อความดับเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน ความเวียนวนเพื่อความปรากฏย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.

[๑๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญาเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๖ หมวดนี้ คือ ความสำคัญในรูป ความสำคัญในเสียง ความสำคัญในกลิ่น ความสำคัญในรส ความสำคัญในโผฏฐัพพะ ความสำคัญในธรรมารมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสัญญา ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญาย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ ความวนเวียนเพื่อความปรากฏย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.

[๑๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เจตนา ๖ หมวดนี้ คือ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 125

คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขารย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขารย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งสังขารอย่างนี้ ฯลฯ ความวนเวียนเพื่อความปรากฏย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.

[๑๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ๖ หมวดนี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความดับแห่งวิญญาณย่อมมีเพราะความดับแห่งนามรูป อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งเหตุเกิดแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ ปฏิบัติแล้วเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่ง


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 126

ความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน ความวนเวียนเพื่อความปรากฏย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.

จบ ปริวัฏฏสูตรที่ ๔

อรรถกถาอุปาทานปริวัฏฏสูตรที่ ๔

ในอุปาทานปริวัฏฏสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า จตุปริวฏฺฏํ ได้แก่ ความหมุนเวียน ๔ อย่างในขันธ์แต่ละขันธ์. บทว่า รูปํ อพฺภญฺาสิํ ความว่า ได้รู้ยิ่งว่ารูปเป็นทุกขสัจ. พึงทราบความด้วยอำนาจสัจจะ ๔ ในบททั้งปวงด้วยประการฉะนี้. กพฬิงการาหารที่เป็นไปกับฉันทราคะชื่อว่าอาหาร ในคำว่า อาหารสมุทยา นี้. บทว่า ปฏิปนฺนา ได้แก่ เป็นผู้ปฏิบัติตั้งต้นแต่ศีลจนถึงอรหัตตมรรค. บทว่า คาธนฺติ แปลว่า ตั้งอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเสขภูมิด้วยพระดำรัสมีประมาณเท่านี้ บัดนี้ เมื่อจะตรัสอเสขภูมิ จึงตรัสคำมีอาทิว่า เย จ โข เกจิ ภิกฺขเว ดังนี้. บทว่า สุวิมุตฺตา ได้แก่ พ้นด้วยดีด้วยอรหัตตมรรค. บทว่า เกพลิโน ได้แก่ มีกำลังเป็นของตน คือ มีกิจที่จะ พึงทำ. บทว่า วฏฺฏํ เตสํ นตฺถิ ปญฺาปนาย ความว่า สมณพราหมณ์ ความปรากฏย่อมไม่มีแก่เขาเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วฏฺฏํ


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 127

ได้แก่ เหตุ ความว่า เหตุเพื่อความปรากฏย่อมไม่มีด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ เป็นอันทรงแสดงวาระแห่งอเสขภูมิแล้ว.

จบ อรรถกถาอุปาทานปริวัฏฏสูตรที่ ๔