ขอเรียนถามอาจารย์ค่ะ
อิสสาเจตสิก ธรรมชาติที่มีความไม่พอใจในสมบัติ หรือคุณความดีของผู้อื่น คนที่มีอิสสาเกิดขึ้นมา จะแสดงอาการออกมาอย่างไรบ้างคะ แล้วนำหลักธรรมใดมาแก้อิสสาเจตสิกตัวนี้ให้หยุดทำกิจของมันคะ
ขอบพระคุณค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อิสสา เป็นภาษาบาลี แปลว่า ความริษยา ในปกติชีวิตประจำวันของผู้ที่ยังมีกิเลส จึงเป็นธรรมดาที่กิเลสจะเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่มากกว่าธรรมฝ่ายกุศล จึงแสดงให้เห็นว่า กิเลสที่มีมากนั้น ถ้าไม่อาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อย ก็ไม่สามารถที่จะขัดเกลาให้เบาบางจนกระทั่งดับจนหมดสิ้นได้ แม้แต่ความริษยา ก็เช่นเดียวกัน เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เกิดขึ้นจริง ตามการสะสม เป็นอกุศลเจตสิก ที่เกิดร่วมกับโทสมูลจิตเท่านั้น และผู้ที่จะดับอิสสา (ริษยา) ได้อย่างเด็ดขาด ต้องเป็นพระโสดาบัน
การเป็นพระอริยบุคคล ต้องเป็นด้วยปัญญาเท่านั้น เมื่อรู้ว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศลแล้ว จึงควรอย่างยิ่งที่จะอบรมธรรมฝ่ายกุศลให้มีมากขึ้น ให้มีกำลังมากพอที่จะขัดเกลาอกุศลของตนเองให้เบาบางลงได้ในที่สุด เพราะขึ้นชื่อว่ากิเลสอกุศลแล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ เมื่อสะสมมากขึ้นๆ ก็เป็นผู้มากไปด้วยกิเลส เมื่อมีกำลังแรงกล้า ก็สามารถล่วงเป็นทุจริตกรรม ได้ เช่น ริษยาผู้อื่นแล้ว ไม่อยากให้ผู้อื่นได้ดี ก็มีการทำลายทรัพย์สมบัติผู้อื่น ทำร้ายผู้อื่น ด้วยกำลังแห่งความริษยา ก็ได้ เมื่ออกุศลกรรมได้ทำสำเร็จไปแล้ว ก็เป็นเหตุทำให้เกิดผลที่ไม่ดีในภายหน้า ตามเหตุปัจจัย ทางไปของผู้ที่กระทำอกุศลกรรม คือ อบายภูมิ เท่านั้น
มุทิตา เป็นธรรมฝ่ายดี เป็นความพลอยยินดี เมื่อผู้อื่นได้ดี มีความสุข เป็นสภาพธรรมที่ตรงกันข้ามกับความริษยา เมื่ออาศัยการฟังพระธรรมบ่อยๆ เนืองๆ มีความเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้นไปตามลำดับ กุศลธรรมประการต่างๆ ก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นตามลำดับของความเข้าใจด้วยมุทิตา ก็เช่นเดียวกัน ขณะที่มีมุทิตา ขณะนั้นไม่ริษยาผู้อื่น แต่ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก แม้แต่คำว่าพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีความสุข ไม่ใช่ด้วยโลภะ ความติดข้องยินดีพอใจ แต่ในขณะนั้น เป็นสภาพจิตที่ดีงาม ไม่เป็นไปกับกับด้วยอกุศลเลย เพราะมุทิตาเป็นสภาพธรรมที่ดีงาม ซึ่งจะต้องมีเมตตา ความเป็นมิตร ความเป็นเพื่อนเป็นพื้นฐานสำคัญ เพราะถ้าไม่มีเมตตาแล้ว ความริษยาก็อาจจะเกิดได้ ขณะใดที่ริษยา ขณะนั้นเราไม่ใช่เพื่อนของเขาอย่างแน่อนน เมื่อมีความเป็นมิตร มีความเป็นเพื่อน เป็นพื้นฐานของจิตใจแล้ว มุทิตาก็สามารถที่จะเกิดขึ้นแทนที่จะเป็นริษยาได้ ซึ่งก็จะต้องค่อยเป็นค่อยไป ความเข้าใจพระธรรมเท่านั้น ที่จะเป็นที่พึ่งในชีวิตได้อย่างแท้จริง ที่สำคัญ ไม่ขาดการฟัง ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาในธรรมทานของอาจารย์ ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
เราต้องเมตตาต่อกัน มองว่าเป็นเพื่อนร่วมวัฏฏทุกข์ น่าสงสารเหมือนกัน ไม่ต่างกันใช่มั้ยคะ ดิฉันนั้นรู้นะคะแม้แต่คนที่เป็นมิตร บางทีดิฉันยังริษยาเลยค่ะ เห็นเค้าได้ดีกว่าตัวเองมันดูแย่ แต่ก็ไม่เคยห้ามได้ซักกะที มองเห็นเวลามันเกิดขึ้นมาค่ะ แต่ไม่ได้ออกมาทางกาย และก็เคยมองเห็น ริษยาของผู้อื่น เห็นจากกริยาท่าทางของเค้านะคะ ดูแย่มากๆ ค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เรียน ความคิดเห็นที่ 3 ครับ
ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีกิเลสด้วยกัน ก็ควรเห็นใจคนที่มีกิเลสด้วยกัน การโกรธ การริษยาและอกุศลธรรมประการต่างๆ เป็นสิ่งที่ไม่สมควรทั้งนั้น การสอนให้โกรธ สอนให้ริษยา สอนให้เป็นอกุศล ไม่มีในคำสอนทางพระพุทธศาสนา และควรที่จะได้เข้าใจว่า ขณะใดที่ริษยาคนอื่น ขณะนั้นไม่เป็นมิตรต่อผู้นั้นแล้ว เป็นจิตที่เป็นอกุศล ซึ่งจะแตกต่างไปจากขณะที่มีเมตตาอย่างสิ้นเชิง แต่ใครจะห้ามได้ เพราะเกิดขึ้นเป็นตามเหตุตามปัจจัย ตามที่ได้สะสมมา แต่ก็มีทางที่จะค่อยๆ ละคลายอกุศลธรรมได้ ก็ด้วยการสะสมกุศลยิ่งขึ้นในชีวิตประจำวัน
สำคัญที่สุด คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา ต่อไป เมื่อมีความเข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว ปัญญานี้เอง จะเป็นเครื่องนำทางชีวิตที่ดี ให้เป็นไปในทางที่ถูกที่ควรยิ่งขึ้น เพราะปัญญาจะไม่นำพาชีวิตไปสู่ความเสื่อมเลย ครับ
..ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขออนุโมทนาค่ะ
กราบอนุโมทนาในธรรมทานค่ะอาจารย์ ขอบพระคุณอย่างสูง
เข้าใจแล้วค่ะ^_^
"ขณะใดที่ริษยาคนอื่น ขณะนั้นไม่เป็นมิตรต่อผู้นั้นแล้ว เป็นจิตที่เป็นอกุศล ซึ่งจะแตกต่างไปจากขณะที่มีเมตตาอย่างสิ้นเชิง แต่ใครจะห้ามได้ เพราะเกิดขึ้นเป็นตามเหตุตามปัจจัย ตามที่ได้สะสมมา ..."
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
ขอบคุณและสาธุค่ะ
ขออนุโมทนาครับ