๔. โมคคัลลานสูตร ว่าด้วยพระเถระสนทนากับติสสพรหม
โดย บ้านธัมมะ  30 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 39381

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 619

ปฐมปัณณาสก์

เสขปริหานิยวรรคที่ ๔

๔. โมคคัลลานสูตร

ว่าด้วยพระเถระสนทนากับติสสพรหม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 619

๔. โมคคัลลานสูตร

ว่าด้วยพระเถระสนทนากับติสสพรหม

[๓๐๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความปริวิตกแห่งใจ อย่างนี้ว่า เทวดาเหล่าไหนหนอ ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

ก็สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ติสสะ ทำกาละไม่นาน ได้เข้าถึงพรหมโลกชั้นหนึ่ง ณ พรหมโลกแม้ชั้นนั้น เทวดาทั้งหลาย ย่อมรู้จักพรหมผู้นั้น อย่างนี้ว่า ติสสพรหม เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ครั้งนั้นท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้หายจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในพรหมโลก เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง พึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ติสสพรหมได้เห็น ท่านพระโมคคัลลานะมาแต่ไกล ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ นิมนต์มาเถิด ท่านมาดีแล้ว ท่านได้ทำปริยายในการมา ณ ที่นี้นานนักแล นิมนต์นั่งขอรับ นี้อาสนะปูลาดไว้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แม้ติสสพรหม อภิวาทท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามว่า ดูก่อนท่านติสสพรหม เทวดาชั้นไหนหนอ ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ติสสพรหมได้ตอบว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นจาตุมหาราชแล ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เรา


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 620

เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็น เบื้องหน้า.

ม. ดูก่อนติสสพรหม เทวดาชั้นจาตุมหาราช ทั้งปวงทีเดียวหรือหนอ ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

ติ. ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นจาตุมหาราช มิใช่ทั้งปวง ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นจาตุมหาราชเหล่าใด ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ไม่ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าพอใจ เทวดาชั้นจาตุมหาราชเหล่านั้น ย่อมไม่มีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ส่วนเทวดาชั้นจาตุมหาราชเหล่าใด ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ เทวดาชั้นจาตุมหาราชเหล่านั้น ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะ ตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

ม. ดูก่อนท่านติสสพรหม เทวดาชั้นจาตุมหาราชเท่านั้น หรือหนอ ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า หรือว่าแม้เทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ แม้เทวดาชั้นยามา ฯลฯ แม้เทวดาชั้นดุสิต ฯลฯ แม้เทวดาชั้นนิมมานรดี ฯลฯ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 621

แม้เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็มีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า.

ติ. ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์ แม้เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

ม. ดูก่อนท่านติสสพรหม เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีทั้งปวง ทีเดียวหรือหนอ ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

ติ. ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี มิใช่ทั้งปวง ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เหล่าใด ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์ ไม่ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าพอใจ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่านั้น ย่อมไม่มีญาณ อย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ส่วนเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่าใด ประกอบด้วย ความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าพอใจ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่านั้น ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า.

ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของ ติสสพรหมแล้วหายจากพรหมโลก ไปปรากฏ ณ พระวิหารเชตวัน เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.

จบโมคคัลลานสูตรที่ ๔


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 622

อรรถกถาโมคคัลลานสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในโมคคัลลานสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า ติสฺโส นาม ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริกของ พระเถระนั่นเอง. บทว่า มหิทฺธิโก มหานุภาโว ความว่า ภิกษุชื่อว่า มหิทฺธิโก เพราะมีฤทธิ์มาก โดยอรรถว่า ยังกิจให้สำเร็จได้ (ตามประสงค์) ชื่อว่า มหานุภโว เพราะมีอานุภาพมาก โดยอรรถว่า แผ่ขยายไปเนืองๆ.

บทว่า จิรสฺสํ โข มาริส โมคฺคลฺลาน อิมํ ปริยายมกาสิ นี้ เป็นคำทักทายที่น่ารักตามปกติของชาวโลก อธิบายว่า ชาวโลกเห็นคนที่นานๆ มาบ้าง เห็นคนที่มีลักษณะน่าพอใจ ผู้ยังไม่เคยมาแล้วบ้าง จะกล่าวคำมีอาทิว่า พ่อมหาจำเริญ พ่อมาจากไหน? พ่อมหาจำเริญ นานๆ พ่อจึงจะมา พ่อมหาจำเริญ รู้ทางมาที่นี่ได้อย่างไร? พ่อหลงทางมาหรืออย่างไร? แต่ติสสพรหมนี้ กล่าวอย่างนี้ เพราะเคยเห็นท่านมาแล้ว. แท้จริง พระเถระ ไปพรหมโลกนั่นแหละ ตามกาลที่สมควร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริยายมกาสิ ความว่า ได้ทำไปตามวาระ. บทว่า ยทิทํ อิธาคมาย มีอธิบายที่ ท่านกล่าวไว้ว่า นานๆ ท่านจะได้ทำวาระ เพื่อจะมายังพรหมโลกนี้.

บทว่า อิทมาสนํ ปญฺตฺตํ ความว่า ติสสพรหม ปูลาดพรหมบัลลังก์มีค่ามาก แล้วกล่าวอย่างนี้. บทว่า อเวจฺจปฺปสาเทน ความว่า ด้วยความเลื่อมใส อันสัมปยุตด้วยมรรค ที่ไม่คลอนแคลน ที่ตนได้บรรลุแล้ว. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสโสดาปัตติมรรคญาณไว้.

จบอรรถกถา โมคคัลลานสูตรที่ ๔