๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกะ - อนุโลมติกปัฏฐาน
โดย บ้านธัมมะ  23 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42225

[เล่มที่ 87] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๓

อนุโลมติกปัฏฐาน

๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกะ

อนุโลมนัย 691

๑. เหตุปัจจัย 691

๒. อารัมมณปัจจัยฯลฯ ๒๓. อวิคตปัจจัย 692

การนับจํานวนวาระในอนุโลม 692

ปัจจนียนัย 692

๑. นเหตุปัจจัย 692

๒. นอธิปติปัจจัย ๓. นปุเรชาตปัจจัย 693

๔. นปัจฉาชาตปัจจัย ๕. นอาเสวนปัจจัย 694

๖. นกัมมปัจจัย 694

๗. นวิปากปัจจัย ฯลฯ ๑๐. นวิปปยุตตปัจจัย 694

การนับจํานวนวาระในปัจจนียะ 695

อนุโลมปัจจนียนัย 695

การนับจํานวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ 695

ปัจจนียานุโลมนัย 696

การนับจํานวนวาระในปัจจนียานุโลม 696

ปัญหาวาระ

อนุโลมนัย 697

๑. เหตุปัจจัย 697

๒. อารัมมณปัจจัย 697

๓. อธิปติปัจจัย 701

๔. อนันตรปัจจัย 703

๕. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ ๘. นิสสยปัจจัย 705

๙. อุปนิสสยปัจจัย 705

๑๐. อาเสวนปัจจัย 706

๑๑. กัมมปัจจัย 707

๑๒. วิปากปัจจัย ฯลฯ ๒๑. อวิคตปัจจัย 709

การนับจํานวนวาระในอนุโลม 709

ปัจจนียนัย 710

การยกปัจจัยในปัจจนียะแห่งปัญหาวาระ 710

การนับจํานวนวาระในปัจจนียะ 711

อนุโลมปัจจนียนัย 711

การนับจํานวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ 711

ปัจจนียานุโลมนัย 712

การนับจํานวนวาระในปัจจนียานุโลม 712

อรรถกถา ปัชฌัตตารัมมณติกะ 712


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 87]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 691

๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกะ

ปฏิจจวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๒๑๒๗] ๑. อัชฌัตตารัมมณธรรม อาศัยอัชฌัตตารัมมณธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

[๒๑๒๘] ๒. พหิทธารัมมณธรรม อาศัยพหิทธารัมมณธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 692

๒. อารัมมณปัจจัย ฯลฯ อวิคตปัจจัย

[๒๐๒๙] อัชฌัตตารัมมณธรรม อาศัยอัชฌัตตารัมมณธรรมเกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย.

การนับจำนวนวาระในอนุโลม

[๒๑๓๐] ในเหตุปัจจัยมี ๒ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ ฯลฯ ในปัจจัยทั้งปวง มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

อนุโลมนัย จบ

ปัจจนียนัย

๑. นเหตุปัจจัย

[๒๑๓๑] ๑. อัชฌัตตารัมมณธรรม อาศัยอัชฌัตตารัมมณธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ซึ่งเป็น อเหตุกะ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์ ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 693

[๒๑๓๒] ๒. พหิทธารัมมณธรรม อาศัยพหิทธารัมมณธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกะ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ.

๒. นอธิปติปัจจัย ๓. นปุเรชาตปัจจัย

[๒๑๓๓] ๑. อัชฌัตตารัมมณธรรม อาศัยอัชฌัตตารัมมณธรรม เกิดขึ้น เพราะนอธิปติปัจจัย เหมือนกับสหชาตปัจจัยในอนุโลม ไม่มีแตกต่างกัน.

เพราะนปุเรชาตปัจจัย

คือ ในอรูปภูมิ ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ฯลฯ

ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

[๒๑๓๔] ๒. พหิทธารัมมณธรรม อาศัยพหิทธารัมมณธรรม เกิดขึ้น เพราะนปุเรชาตปัจจัย

คือ ในอรูปภูมิ ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 694

๔. นปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ ๕. นอาเสวนปัจจัย

เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย เพราะนอาเสวนปัจจัย เหมือนกับ สหชาตปัจจัย.

๖. นกัมมปัจจัย

๑. อัชฌัตตารัมมณธรรม อาศัยอัชฌัตตารัมมณธรรม เกิดขึ้น เพราะนกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อัชฌัตตารัมมณธรรม.

[๒๑๓๕] ๒. พหิทธารัมมณธรรม อาศัยพหิทธารัมมณธรรม เกิดขึ้น เพราะนกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธา รัมมณธรรม.

๗. นวิปากปัจจัย ฯลฯ ๑๐. นวิปปยุตตปัจจัย

[๒๑๓๖] ฯลฯ อาศัยอัชฌัตตารัมมณธรรม ฯลฯ เพราะนวิปากปัจจัย ปฏิสนธิไม่มี. เพราะนฌานปัจจัย

คือ ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ซึ่งสหรคตด้วย ปัญจวิญญาณ ฯลฯ.

[๒๑๓๗] ฯลฯ อาศัยพหิทธารัมมณธรรม ฯลฯ เพราะนฌานปัจจัย

คือ ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม ซึ่งสหรคตด้วย ปัญจวิญญาณ ฯลฯ.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 695

เพราะนมัคคปัจจัย เหมือนกับนเหตุปัจจัย โมหะไม่มี.

เพราะนวิปปยุตตปัจจัย

คือ ในอรูปภูมิ ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัชฌัตตารัมมธรรม ฯลฯ.

[๒๑๓๘] ฯลฯ อาศัยพหิทธารัมมณธรรม ฯลฯ เพราะนวิปปยุตตปัจจัย

คือ ในอรูปภูมิ ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม ฯลฯ

การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ

[๒๐๓๙] ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

ปัจจนียนัย จบ

อนุโลมปัจจนียนัย

การนับจำนวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ

[๒๑๔๐] เพราะเหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ... ฯลฯ ในนวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

อนุโลมปัจจนียนัย จบ


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 696

ปัจจนียานุโลมนัย

การนับจำนวนวาระในปัจจนียานุโลม

[๒๑๔๑] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ฯลฯ ในมัคคปัจจัย มี ๒ วาระ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

ปัจจนียานุโลมนัย จบ

ปฏิจจวาระ จบ

สหชาตวาระก็ดี ปัจจยวาระก็ดี นิสสยวาระก็ดี สังสัฏฐวาระก็ดี สัมปยุตตวาระก็ดี เหมือนกับปฏิจจวาระ.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 697

ปัญหาวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๒๑๔๒] ๑. อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย.

[๒๑๔๓] ๒. พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม ฯลฯ

ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

๒. อารัมมณปัจจัย

[๒๑๔๔] ๑. อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลพิจารณาวิญญาณัญจายตนะที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม, พิจารณาเนวสัญญายตนะสัญญายตนะ พิจารณาทิพยจักษุที่เป็นอัชฌัตตธรรม-


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 698

ซึ่งเป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม พิจารณาทิพยโสตธาตุ ฯลฯ พิจารณาอิทธิวิธญาณ ฯลฯ พิจารณาปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ พิจารณาอนาคตังสญาณ.

พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม, พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว ย่อมรู้กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ.

บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ฯลฯ โทมนัส ย่อม เกิดขึ้น.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

[๒๑๔๕] ๒. อัชฌัตตารัมมธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลอื่นพิจารณาวิญญาณัญญจายตนะที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ฯลฯ พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ บุคคลอื่นพิจารณาทิพยจักษุ ที่ เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม พิจารณาทิพโสตธาตุ ฯลฯ - พิจารณาอิทธิวิธญาณ ฯลฯ พิจารณาปุพเพนิวาสานสสติญาณ ฯลฯ พิจารณา อนาคตังสญาณ.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 699

บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นพหิทธาธรรม ซึ่งเป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็น อัชฌัตตารัมมณธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธาธรรม ซึ่งเป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

[๒๑๔๖] ๓. พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลอื่นพิจารณาทิพยจักษุที่เป็นพหิทธาธรรม ซึ่งเป็นพหิทธารัมมณธรรม ทิพโสตธาตุ ฯลฯ อิทธิวิธญาณ ฯลฯ เจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ ฯลฯ พิจารณาอนาคตังสญาณ.

บุคคลอื่น (๑) พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธาธรรม ซึ่งเป็นพหิทธารัมมณธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นพหิทธาธรรม ซึ่งเป็นพหิทธารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของเจโตปริยญาณ.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธาธรรม ซึ่งเป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.


(๑) ม. ไม่มีบุคคลอื่น


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 700

[๒๑๔๗] พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว พิจารณากุศลกรรมนั้น.

บุคคลพิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.

บุคคลออกจากฌาน พิจารณาฌาน.

พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณากิเลสที่ละแล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ ย่อมรู้กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ.

บุคคลพิจารณาทิพยจักษุที่เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นพหิทธารัมมณธรรม พิจารณาทิพโสตธาตุ ฯลฯ พิจารณาอิทธิวิธญาณ ฯลฯ พิจารณาเจโตปริยญาณ ฯลฯ พิจารณาปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ พิจารณายถากัมมูปคญาณ ฯลฯ พิจารณาอนาคตังสญาณ ฯลฯ.

บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นพหิทธารัมมณธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 701

๓. อธิปติปัจจัย

[๒๑๔๘] ๑. อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ

ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

บุคคลกระทำวิญญาณัญจายตนะ ที่เป็นอัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นอัชฌัตตารัมมณธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา กระทำเนวสัญญานา สัญญายตนะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ กระทำทิพยจักษุที่เป็นอัชฌัตตธรรมซึ่งเป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น, ฯลฯ กระทำทิพโสตธาตุ ฯลฯ กระทำอิทธิวิธญาณ ฯลฯ กระทำปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ กระทำยถากัมมูปคญาณให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ.

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นอัชฌัตตารัมมณธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ฯลฯ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

[๒๑๔๙] ๒. พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 702

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

[๒๑๕๐] ๓. พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว กระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.

พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ.

ออกจากฌาน ฯลฯ

พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค พิจารณามรรค ฯลฯ กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ กระทำทิพยจักษุที่เป็นอัชฌัตตธรรมซึ่งเป็น พหิทธารัมมณธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ ทิพโสตธาตุ ฯลฯ อิทธิวิธญาณ ฯลฯ เจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมูปคญาณ ฯลฯ บุคคลกระทำอนาคตังสญาณให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อัชฌัตตธรรม ซึ่งเป็นพหิทธารัมมณธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 703

๔. อนันตรปัจจัย

[๒๑๕๑] ๑. อัชฌัตตารัมมณรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

[๒๑๕๒] ๒. อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

คือ จุติจิตที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็น พหิทธารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

ภวังค์ที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

ขันธ์ทั้งหลายที่อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็น พหิทธารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

อนุโลมที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู.

อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน,

อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ,

เนวสัญญานาสัญญายตนะของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 704

[๒๑๕๓] ๓. พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

อนุโลมที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู.

อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน,

โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค,

โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค,

มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล,

ผล เป็นปัจจัยแก่ผล,

อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

[๒๑๕๔] ๔. พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ จุติจิตที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็น อัชฌัตตารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

ภวังค์ที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะที่เป็น อัชฌัตตารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็น อัชฌัตตารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 705

๕. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ ๘. นิสสยปัจจัย

[๒๑๕๕] ๑. อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

๙. อุปนิสสยปัจจัย

๑. อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๓ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

อนิจจานุปัสสนาที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนาที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม แก่ทุกขานุปัสสนา แก่อนัตตานุปัสสนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๒๑๕๖] ๒. อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

อนิจจานุปัสสนาที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนาที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม แก่ทุกขานุปัสสนา แก่อนัตตานุปัสสนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 706

[๒๑๕๗] ๓. พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

อนิจจานุปัสสนาที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนาที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม แก่ทุกขานุปัสสนา แก่อนัตตานุปัสสนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๒๑๕๘] ๔. พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมฌธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสยยปัจจัย

มี ๓ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

อนิจจานุปัสสนาที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา เป็นปัจจัยแก่อนิจจานุปัสสนา ที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม แก่ทุกขานุปัสสนา แก่อนัตตานุปัสสนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๑๐. อาเสวนปัจจัย

[๒๑๕๙] ๑. อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 707

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม ที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของ อาเสวนปัจจัย.

[๒๑๖๐] ๒. อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมณธรรม ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ อนุโลมที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู.

อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.

[๒๑๖๑] ๓. พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ อนุโลมที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู.

อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน.

โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค.

โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.

๑๑. กัมมปัจจัย

[๒๑๖๒] ๑. อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 708

เจตนาที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมปัจจัย.

ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่

เจตนาที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อัชฌัตตารัมมณธรรม ซึ่งเป็นวิบาก ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[๒๑๖๓] ๒. อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่

เจตนาที่เป็นอัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น พหิทธารัมมณธรรม ซึ่งเป็นวิบาก ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[๒๑๖๔] ๓. พหิทธารัมมธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

เจตนาที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่

เจตนาที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น พหิทธารัมมณธรรม ซึ่งเป็นวิบาก ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 709

[๒๑๖๕] ๔. พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่

เจตนาที่เป็นพหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อัชฌัตตารัมมณธรรม ซึ่งเป็นวิบาก ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

๑๒. วิปากปัจจัย ฯลฯ ๒๑. อวิคตปัจจัย

[๒๑๖๖] อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของฌานปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนัตถิปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของวิคตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย.

การนับจำนวนวาระในอนุโลม

[๒๑๖๗] ในเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ ในปัจจัย ทั้งปวง มี ๒ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 710

ในนัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

อนุโลมนัย จบ

ปัจจนียนัย

การยกปัจจัยในปัจจนียะแห่งปัญหาวาระ

[๒๑๖๘] ๑. อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของ สหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[๒๑๖๙] ๒. อัชฌัตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของ อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[๒๑๗๐] ๓. พหิทธารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[๒๑๗๑] ๔. พหิทธารัมมณธรรมเป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตารัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 711

การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ

[๒๑๗๒] ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในปัจจัยทั้งปวง มี ๔ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ ฯลฯ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ฯลฯ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

ปัจจนีนัย จบ

อนุโลมปัจจนียนัย

การนับจำนวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ

[๒๑๗๓] เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ... ใน นอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ฯลฯ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในปัจจัยทั้งปวง มี ๒ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

อนุโลมปัจจนียนัย จบ


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๓ - หน้า 712

ปัจจนียานุโลมนัย

การนับจำนวนวาระในปัจจนียานุโลม

[๒๑๗๔] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ ใน อธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

พึงนับอย่างนี้.

ปัจจนียานุโลม จบ

ปัญหาวาระ จบ

อัชฌัตตารัมมณติกะ ที่ ๑๒ จบ

อรรถกถาอัชฌัตตารัมมณติกะ

แม้ใน อัชฌัตตารัมมณติกะ ก็ย่อมไม่ได้อัชฌัตตารัมมณบท และ พหิทธารัมมณบท เหมือนอัชฌัตตบทและพหิทธาบท. ในติกะนี้ คำที่เหลือ ท่านอธิบายตามบาลี.

อรรถาถาอัชฌัตตารัมมณติกะ จบ