[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 906
เถราปทาน
ปิลินทวรรคที่ ๔๐
เสลเถราปทานที่ ๒ (๓๙๒)
ว่าด้วยการประพฤติธรรม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 906
เสลเถราปทานที่ ๒ (๓๙๒)
ว่าด้วยการประพฤติธรรม
[๓๙๔] ข้าพระองค์เป็นเจ้าของถนนอยู่ในนครหังสวดี ได้ประชุม บรรดาญาติของข้าพระองค์แล้ว ได้กล่าวดังนี้ว่า
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก เป็นบุญเขตอันสูง สุด พระองค์เป็นผู้สมควรรับเครื่องบูชาของโลกทั้งปวง.
กษัตริย์ก็ดี ชาวนิคมก็ดี พราหมณ์มหาศาลก็ดี ล้วนมี จิตเลื่อมใสโสมนัส ได้พากันประพฤติปูคธรรม.๑
พลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า ล้วนมีจิตเลื่อมใส โสมนัส ได้พากันประพฤติปูคธรรม.
คนอุคคชาติ (พ่อเป็นกษัตริย์แม่เป็นศูทร) ก็ดี ราชบุตรก็ดี พ่อค้าก็ดี พราหมณ์ก็ดี ล้วนมีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้พากัน ประพฤติปูคธรรม.
พ่อครัวก็ดี คนรับจ้างก็ดี คนรับใช้อาบน้ำก็ดี ช่างกรอง ดอกไม้ก็ดี ล้วนมีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้พากันประพฤติปูคธรรม.
ช่างย้อมก็ดี ช่างหูกก็ดี ช่างเย็บผ้าก็ดี ช่างกัลบกก็ดี ล้วนมีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้พากันประพฤติปูคธรรม.
ช่างศรก็ดี ช่างกลึงก็ดี ช่างหนังก็ดี ช่างถากก็ดี ล้วน มีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้พากันประพฤติปูคธรรม.
๑. ปูคธรรม คือ ธรรมของแต่ละประชุมชน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 907
ช่างเหล็กก็ดี ช่างทองก็ดี ช่างดีบุกและช่างทองแดงก็ดี ล้วนมีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้พากันประพฤติปูคธรรม.
ลูกจ้างก็ดี ช่างซักรีดก็ดี ทาสและกรรมกรก็ดี เป็น อันมาก ได้พากันประพฤติปูคธรรมตามกำลังของตนๆ.
คนตักน้ำขายก็ดี คนขนไม้ก็ดี ชาวนาก็ดี คนเกี่ยวหญ้า ก็ดี ได้พากันประพฤติปูคธรรมตามกำลังของตนๆ.
คนขายดอกไม้ คนขายพวงมาลัย คนขายใบไม้และคน ขายผลไม้ ได้พากันประพฤติปูคธรรมตามกำลังของตนๆ.
หญิงแพศยา นางกุมภทาสี คนขายขนม และคนขาย ปลา ได้พากันประพฤติปูคธรรมตามกำลังของตนๆ.
เราทั้งหมดนี้มาประชุมร่วมเป็นพวกเดียวกันแล้ว จักทำ บุญกุศล ในพระพุทธเจ้าผู้เป็นเขตบุญอย่างยอดเยี่ยม.
ญาติเหล่านั้นฟังคำของข้าพระองค์แล้ว ร่วมกันเป็นคณะ ในขณะนั้นกล่าวว่า พวกเราควรให้สร้างโรงฉันอันทำอย่าง สวยงามถวายแก่ภิกษุสงฆ์.
ข้าพระองค์ให้สร้างโรงฉันนั้นสำเร็จแล้ว มีใจเบิกบาน ยินดี แวดล้อมด้วยญาติทั้งหมดนั้น เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า.
ครั้นเข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนาถะของโลกผู้ประเสริฐ กว่านระ ถวายบังคมแทบพระบาทของพระศาสดา ได้กราบทูล ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 908
ข้าแต่พระวีรมุนี บุรุษประมาณ ๓๐๐ คนนี้ ร่วมกันเป็น คณะเดียว ขอมอบถวายโรงฉันอันสร้างอย่างสวยงามแด่ พระองค์.
ขอพระองค์ผู้มีจักษุ ผู้เป็นประธานของภิกษุสงฆ์ โปรด ทรงรับเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ต่อ หน้าบุรุษ ๓๐๐ คนว่า
บุรุษทั้ง ๓๐๐ คนและผู้เป็นหัวหน้า ร่วมกันประพฤติตาม ครั้นท่านทั้งปวงพากันทำแล้ว จักได้เสวยสมบัติ เมื่อถึงภพ หลังสุด ท่านทั้งหลายจักเห็นนิพพาน อันเป็นแดนเกษม อันเป็นภาวะเย็นยอดเยี่ยม ไม่แก่ ไม่ตาย.
พระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมกว่าผู้รู้ธรรมทั้งปวง ทรงพยากรณ์ อย่างนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังพระพุทธพจน์แล้ว ได้เสวย โสมนัส.
ข้าพระองค์รื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป เป็น ใหญ่กว่าเทวดา เสวยรัชสมบัติอยู่ในเทวโลก ๕๐๐ กัป.
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้า ประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้.
ในรัชสมบัติในมนุษย์นี้ มีพวกญาติเป็นบริษัท ในภพ สุดท้ายที่ถึงนี้ ข้าพระองค์เป็นบุตรพราหมณ์ชื่อวาเสฏฐะ ผู้สั่งสมสมบัติไว้ประมาณ ๘๐ โกฏิ ข้าพระองค์มีชื่อว่าเสละ ถึงซึ่งบารมีอันประกอบด้วยองค์ ๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 909
แวดล้อมด้วยพวกศิษย์ของตน เดินไปตามระเบียงวิหาร ได้เห็นดาบสชื่อเกนิยะ ผู้เต็มไปด้วยภาระคือชฎา จัดแจง เครื่องบูชา จึงได้ถามดังนี้ว่า ท่านจักทำอาวาหมงคล วิวาหมงคลหรือ ท่านจะเชื้อเชิญพระราชาหรือ.
เกนิยดาบส (๑) ตอบว่า
เราใคร่จะบวงสรวงเครื่องบูชา ในพราหมณ์ที่สมมติกันว่า ประเสริฐ เราไม่ได้เชื้อเชิญพระราชา ไม่มีการบวงสรวง อาวาหมงคลของเราไม่มี และวิวาหมงคลของเราไม่มี พระพุทธเจ้าผู้ให้เกิดความยินดีแก่ศากยะทั้งหลาย ประเสริฐที่สุด ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
ทรงทำประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวง นำสุขมาให้แก่ สรรพสัตว์ วันนี้ เรานิมนต์พระองค์ เราจัดแจงเครื่องบูชานี้ เพื่อพระองค์.
พระพุทธเจ้ามีพระรัศมี ดุจสีผลมะพลับ มีพระคุณหา ประมาณมิได้ ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีใครเสมอด้วยพระรูป เรา นิมนต์เพื่อเสวย ณ วันพรุ่งนี้ และพระองค์มีพระพักตร์ร่าเริง ดังสีทองคำปากเบ้า สุกใสเช่นกับสีถ่านเพลิงไม้ตะเคียน เปรียบด้วยสายฟ้า เป็นพระมหาวีระ เป็นนาถะของโลก เรา นิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เปรียบเหมือนไฟบนยอดภูเขา ดังดวงจันทร์วันเพ็ญ เช่นกับสีแห่งไฟไหม้ป่าอ้อ เรานิมนต์ แล้ว.
๑. วินัยปิฎก เป็น เกณิยชฎิล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 910
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่ทรงครั่นคร้าม ล่วงภัยได้ แล้ว ทรงทำที่สุดแห่งภพ เป็นมุนี เปรียบด้วยสีหะ เป็น พระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงฉลาดในธรรมของผู้ตรัสรู้ ผู้อื่นข่มขี่ไม่ได้ เปรียบด้วยช้างตัวประเสริฐ เป็นพระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงฉลาดในฝั่งคือสัทธรรม เป็น พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ไม่มีใครเปรียบ เปรียบด้วยโคอุสภราช เป็นพระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีวรรณะไม่มีที่สุด มียศนับมิได้ มีลักษณะทั้งปวงวิจิตร เปรียบด้วยท้าวสักกะ เป็นพระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีความชำนาญ เป็นผู้นำหมู่ มีตบะ มีเดชคร่าได้ยาก เปรียบด้วยพรหม เป็นพระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบรรลุธรรมแล้ว๑ เป็นพระทศพล ถึงที่สุดกำลังล่วงกำลัง เปรียบด้วยแผ่นดิน เป็น พระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงเกลื่อนกล่นด้วยศีลและ ปัญญา มากด้วยการทรงรู้แจ้งธรรม เปรียบด้วยทะเล เป็น พระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
๑. ฉ. ปตฺตธมฺโม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 911
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ยากที่จะคร่าไปได้ ยากที่จะ ข่มขี่ ไม่ทรงหวั่นไหว เลิศกว่าพรหม เปรียบด้วยเขาสุเมรุ เป็นพระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีญาณไม่สิ้นสุด ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบเท่า ถึงความเป็นยอด เปรียบด้วยท้องฟ้า เป็น พระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
จบภาณวารที่ ๑๕
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นที่พึ่งของบรรดาผู้กลัวภัย เป็นที่ต้านทานของบรรดาผู้ถึงสรณะ เป็นที่เบาใจ เป็นพระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นที่อาศัยแห่งมนต์คือความรู้ เป็นบุญเขตของผู้แสวงหาสุข เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ เป็น พระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ให้เบาใจ เป็นผู้ทำให้ ประเสริฐ เป็นผู้ประทานสามัญผลเปรียบด้วยเมฆ เป็นพระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระวีระที่เขายกย่องในโลก เป็นผู้บรรเทาความมืดทั้งปวง เปรียบด้วยดวงอาทิตย์ เป็น พระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นมุนี ทรงแสดงสภาวะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 912
ในธรรมที่มีวิมุตติเป็นอารมณ์ เปรียบด้วยดวงจันทร์ เป็น พระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้แล้ว เขายกย่องในโลก ประดับด้วยลักษณะทั้งหลาย ผู้หาประมาณมิได้ เป็นพระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระญาณหาประมาณมิได้ มี ศีลไม่มีเครื่องเปรียบ มีวิมุตติ ไม่มีอะไรเทียมทัน เรานิมนต์ แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีธิติไม่มีอะไรเหมือน มีกำลัง อันไม่ควรคิด มีความบากบั่นอันประเสริฐสุด เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงถอนราคะ โทสะ โมหะ และยาพิษทั้งปวงแล้ว เปรียบด้วยยา เป็นพระมหาวีระ เรา นิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบรรเทาพยาธิคือกิเลสและ ทุกข์เป็นอันมาก เปรียบเหมือนโอสถ เปรียบด้วยสายฟ้า เป็นพระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
เกนิยดาบสกล่าวประกาศว่า พุทโธ เสียงประกาศนั้น ข้าพระองค์ได้แสนยาก เพราะได้ฟังเสียงประกาศว่า พุทโธ ปีติย่อมเกิดแก่ข้าพระองค์.
ปีติของข้าพระองค์ไม่จับอยู่เฉพาะภายใน แผ่ซ่านออก ภายนอก ข้าพระองค์เป็นผู้มีใจปีติ ได้กล่าวดังนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 913
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นเชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ ประทับอยู่ที่ไหน เราจักไปนมัสการ พระองค์ผู้ประทานสามัญผล ณ ที่นั้น.
ขอท่านผู้เกิดโสมนัสประนมกรอัญชลี โปรดยกหัตถ์เบื้อง ขวาขึ้นชี้บอกพระธรรมราชาผู้บรรเทาลูกศร คือความโศกเศร้า แก่ข้าพเจ้าเถิด.
ท่านย่อมเห็นป่าที่ใหญ่อันเขียวขจี ดังมหาเมฆที่ขึ้นลอยอยู่ เสมอด้วยดอกอัญชัน ปรากฏดุจสาคร.
พระพุทธเจ้าผู้ฝึกบุคคลที่ยังมิได้ฝึก เป็นมุนี ทรงแนะนำ เวไนยสัตว์ ให้ตรัสรู้ในโพธิปักขิยธรรม พระองค์นั้น ประทับ อยู่ที่นั่น.
ข้าพระองค์ค้นหาพระชินเจ้า เปรียบเหมือนคนระหายน้ำ หาน้ำ เช่นคนหิวข้าวหาข้าว ปานดังแม่โครักลูกค้นหาลูก ฉะนั้น.
ข้าพระองค์ผู้รู้อาจาระและอุปจาระ สำรวมตามสมควรแก่ ธรรม ให้พวกศิษย์ของตนผู้จะไปยังสำนักพระชินเจ้าศึกษาว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ใครๆ คร่าไปได้ยาก เสด็จ เที่ยวอยู่พระองค์เดียว เปรียบเหมือนราชสีห์ฉะนั้น ท่าน มาณพทั้งหลายควรเดินเรียงลำดับกันมา.
พระพุทธเจ้าทั้งหลายยากที่ใครๆ จะคร่าไป เปรียบ เหมือนอสรพิษร้าย ดุจไกรสรมฤคราช ดังช้างกุญชรที่ตกมัน ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 914
ท่านมาณพทั้งหลายจงอย่าจาม และอย่าไอ เดินเรียง ลำดับกันเข้าไปสู่สำนักของพระพุทธเจ้าเถิด.
พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงเป็นผู้หนักในการอยู่ในที่เร้น ชอบเสียงเงียบ ยากที่จะคร่าไปได้ ยากที่จะเข้าเฝ้า เป็น ครูในมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
เราทูลถามปัญหาใด หรือได้ปราศรัยโต้ตอบอยู่ ขณะนั้น ท่านทั้งหลายจงเงียบเสียงหยุดนิ่งอยู่.
พระองค์ทรงแสดงพระสัทธรรม อันเป็นแดนเกษม เพื่อ บรรลุนิพพาน ท่านทั้งหลายจงใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม นั้น เพราะการฟังสัทธรรมเป็นความงาม.
ข้าพระองค์ได้เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า ได้ปราศรัยกับ พระมุนี ครั้นผ่านการปราศรัยไปแล้ว จึงตรวจดูพระลักษณะ ทั้งหลาย.
ไม่เห็นพระลักษณะ ๒ ประการ เห็นแต่พระลักษณะ ๓๐ ประการ พระมุนีทรงแสดงพระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝักด้วย ฤทธิ์.
และพระชินเจ้าทรงแสดงพระชิวหาสอดเข้าช่องพระกรรณ และพระนาสิก ทรงแผ่พระชิวหาปกปิดถึงที่สุดพระนลาฏ ทั้งสิ้น.
ข้าพระองค์ได้เห็นพระลักษณะของพระองค์ บริบูรณ์พร้อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 915
ด้วยพยัญชนะ จึงลงความสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธเจ้าแน่ แล้วบวชพร้อมด้วยพวกศิษย์.
ข้าพระองค์พร้อมด้วยศิษย์ ๓๐๐ คน ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายบวชแล้วยังไม่ถึงกึ่งเดือน ได้บรรลุ ถึงความดับทุกข์ทั้งหมด.
ข้าพระองค์ทั้งหลายร่วมกันทำกรรมในบุญเขตอันยอดเยี่ยม ท่องเที่ยวไปร่วมกัน คลายกิเลสได้ร่วมกัน.
เพราะได้ถวายไม้กลอนทั้งหลาย ข้าพระองค์จึงตั้งอยู่ใน ปูคธรรม เพราะกุศลกรรมที่ได้ทำแล้วนั้น ข้าพระองค์ย่อมได้ เหตุ ๘ ประการ
คือ ข้าพระองค์เป็นผู้อันเขาบูชาในทิศทั้งหลาย ๑ โภคสมบัติของข้าพระองค์นับไม่ถ้วน ๑ ข้าพระองค์เป็นที่พึ่งของ คนทั้งปวง ๑ ความสะดุ้งหวาดเสียวไม่มีแก่ข้าพระองค์ ๑.
ความป่วยไข้ไม่มีแก่ข้าพระองค์ ๑ ข้าพระองค์ย่อมรักษา อายุยืนนาน ๑ ข้าพระองค์เป็นผู้มีผิวพรรณละเอียดอ่อน เมื่ออยู่ย่อมได้อยู่ในที่ที่ตนปรารถนา ๑ เพราะได้ถวายไม้ กลอน ๘ อัน ข้าพระองค์จึงได้อยู่ในหมวดธรรมอีกข้อหนึ่ง คือ ปฏิสัมภิทาและอรหัต นี้เป็นข้อที่ ๘ ของข้าพระองค์.
ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพระองค์มีธรรมเครื่องอยู่อันอยู่จบ หมดแล้ว ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ เป็นบุตรของพระองค์ ชื่อว่าอัฏฐโคปานสี เพราะได้ถวายเสา ๕ ต้น ข้าพระองค์จึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 916
ได้อยู่ในปูคธรรม ด้วยกุศลกรรมที่ทำแล้วนั้น ข้าพระองค์ ย่อมได้เหตุ ๕ ประการ
คือ ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่หวั่นไหวด้วยเมตตา ๑ มีโภคสมบัติไม่รู้จักพร่อง ๑ มีถ้อยคำควรเชื่อได้ โดยข้าพระองค์ไม่ เสียถ้อยคำ ๑ จิตของข้าพระองค์ไม่หวาดกลัว ๑ ข้าพระองค์ ไม่เป็นเสี้ยนหนามต่อใครๆ ๑ ด้วยกุศลกรรมที่ทำแล้วนั้น ข้าพระองค์เป็นผู้ปราศจากมลทินในศาสนา.
ข้าแต่พระมุนีมหาวีรเจ้า ภิกษุสาวกของพระองค์มีความ เคารพ มีความยำเกรงได้ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ถวาย บังคมพระองค์.
ข้าพระองค์ได้ทำบัลลังก์อันสวยงามแล้ว จัดตั้งไว้ใน ศาลา ด้วยกุศลกรรมที่ทำแล้วนั้น ข้าพระองค์ย่อมได้เหตุ ๕ ประการ
คือ ย่อมเกิดในสกุลสูง มีโภคสมบัติมาก ๑ เป็นผู้มี สมบัติทั้งปวง ๑ ไม่มีความตระหนี่ ๑ เมื่อข้าพระองค์ ปรารถนาจะไป บัลลังก์ย่อมตั้งรออยู่ ๑ ย่อมไปสู่ที่ปรารถนา พร้อมด้วยบัลลังก์อันประเสริฐ ๑.
เพราะการถวายบัลลังก์นั้น ข้าพระองค์กำจัดความมืดได้ ทั้งหมด ข้าแต่พระมหามุนี พระเถระผู้บรรลุอภิญญาและพละ ทั้งปวง ถวายบังคมพระองค์.
ข้าพระองค์ทำกิจทั้งปวง อันเป็นกิจของผู้อื่นและของตน สำเร็จแล้วด้วยกุศลกรรมที่ทำแล้วนั้น ข้าพระองค์ได้เข้าไปสู่ บุรีอันไม่มีภัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 917
ข้าพระองค์ได้ถวายเครื่องบริโภคในศาลาที่สร้างสำเร็จแล้ว ด้วยบุญกุศลที่ทำแล้วนั้น ข้าพระองค์ได้เข้าถึงความเป็นผู้ ประเสริฐ.
ผู้ฝึกเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลก ผู้ฝึกเหล่านั้น ย่อม ฝึกช้างและม้า ย่อมให้ทำเหตุต่างๆ นานาแล้ว ย่อมฝึกด้วย ความทารุณ.
ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์หาได้ฝึกชายและหญิง เหมือนอย่างนั้นไม่ พระองค์ทรงฝึกในวิธีฝึกอันสูงสุด ด้วย ไม่ต้องใช้อาญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา.
พระมุนีทรงสรรเสริญคุณแห่งทาน ทรงฉลาดในเทศนา และพระมุนีตรัสปัญหาข้อเดียวยังคน ๓๐๐ คน ให้ตรัสรู้ได้.
ข้าพระองค์ทั้งหลาย อันพระองค์ผู้เป็นสารถีฝึกแล้ว พ้น วิเศษแล้ว ไม่มีอาสวะ บรรลุอภิญญาและพละทั้งปวง ดับ แล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ.
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ ข้าพระองค์ได้ถวายทานใด ใน กาลนั้น ด้วยทานนั้น ภัยทั้งปวงล่วงพ้นไปแล้ว นี้เป็นผล แห่งการถวายศาลา.
การที่ข้าพระองค์ได้มาในสำนักพระพุทธเจ้านี้เป็นการมาดี แล้วหนอ วิชชา ๓ ข้าพระองค์บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน ของพระพุทธเจ้าข้าพระองค์ได้ทำเสร็จแล้ว.
ข้าพระองค์เผากิเลสทั้งหลายถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัด กิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 918
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเสลเถระพร้อมกับบริษัทได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล.
จบเสลเถราปทาน