[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 279
๑๔. พุทธวรรควรรณนา
๑. เรื่องมารธิดา [๑๔๘]
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 279
๑๔. พุทธวรรควรรณนา
๑. เรื่องมารธิดา [๑๔๘]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ที่โพธิมัณฑสถาน ทรงปรารภธิดามาร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยสฺส ชิตํ" เป็นต้น.
พราหมณ์หาสามีให้ลูกสาว
ก็พระศาสดา ทรงยังพระธรรมเทศนาให้ตั้งขึ้นที่กรุงสาวัตถีแล้ว ตรัสแก่พราหมณ์ชื่อมาคันทิยะ ในแคว้นกุรุอีก.
ทราบว่า ในแคว้นกุรุ ธิดาของมาคันทิยพราหมณ์ ชื่อว่ามาคันทิยา เหมือนกัน ได้เป็นผู้มีรูปงามเลอโฉม. พราหมณ์มหาศาลเป็นอันมาก และเหล่าขัตติยมหาศาลอยากได้นางมาคันทิยานั้น จึงส่งข่าวไปแก่มาคันทิยะว่า "ขอจงให้ธิดาแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด." แม้มาคันทิยพราหมณ์ ก็ห้ามพราหมณ์มหาศาล และขัตติยมหาศาลเสียทั้งหมดเหมือนกันว่า "พวกท่าน ไม่สมควรแก่ธิดาของข้าพเจ้า." ต่อมาวันหนึ่ง ในเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลก ทรงเห็นมาคันทิยพราหมณ์เข้าไปภายใน แห่งข่ายคือพระญาณของพระองค์ จึงทรงใคร่ครวญว่า "จักมีเหตุอะไร หนอ?" ได้ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งมรรคและผลทั้ง ๓ ของพราหมณ์และนางพราหมณี. ฝ่ายพราหมณ์ก็บำเรอไฟอยู่เป็นนิตย์ ภายนอกบ้าน. พระศาสดาได้ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จไปยังที่นั้นแต่เช้าตรู่. พราหมณ์ตรวจดูรูปสิริของพระศาสดา พลางคิดว่า "ขึ้นชื่อว่าบุรุษในโลกนี้ ที่จะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 280
เหมือนด้วยบุรุษคนนี้ไม่มี, บุรุษคนนี้ เป็นผู้สมควรแก่ธิดาของเรา, เราจะให้ธิดาแก่บุรุษคนนี้" แล้วกราบทูลพระศาสดาว่า "สมณะ เรามีธิดาอยู่คนหนึ่ง, เรายังไม่เห็นบุรุษผู้ที่สมควรแก่นาง จึงไม่ได้ให้นางแก่ใครๆ เลย, ส่วนท่านเป็นผู้สมควรแก่นาง, เราใคร่จะให้ธิดาแก่ท่าน ทำให้เป็นหญิงบำเรอบาท, ท่านจงรออยู่ในที่นี้แหละ จนกว่าเราจะนำธิดานั้นมา." พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของเขาแล้วไม่ทรงยินดีเลย (แต่) ไม่ทรงห้าม.
รอยพระบาทจะปรากฏเพราะทรงอธิษฐาน
ฝ่ายพราหมณ์ ไปเรือนแล้ว บอกกะนางพราหมณีว่า "นางผู้เจริญ วันนี้ เราเห็นบุรุษผู้สมควรแก่ธิดาของเราแล้ว, พวกเราจักให้ธิดานั้นแก่เขา" ให้ธิดาตกแต่งกายแล้ว ได้พาไปยังที่นั้นพร้อมด้วยนางพราหมณี, แม้มหาชนก็ตื่นเต้น พากันออกไป (ดู). พระศาสดาไม่ได้ประทับยืนอยู่ ในที่ที่พราหมณ์บอกไว้ ทรงแสดงเจดีย์ คือรอยพระบาทไว้ในที่นั้นแล้ว ได้ประทับยืนเสียในที่อื่น. ทราบว่าเจดีย์ คือ รอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมปรากฏในที่ที่พระองค์ทรงอธิษฐานว่า "บุคคลชื่อโน้น จงเห็นเจดีย์ คือรอยเท้านี้" แล้วทรงเหยียบไว้เท่านั้น. ชื่อว่า ผู้ที่จะเห็นเจดีย์ คือรอยพระบาทนั้นในที่ที่เหลือไม่มี. พราหมณ์ ถูกนางพราหมณี ผู้ไปกับตนถามว่า "บุรุษนั้นอยู่ที่ไหน" จึงบอกว่า "ฉันได้สั่งเขาไว้ แล้วว่า ท่านจงรออยู่ที่นี้ พลางมองหาอยู่ พบรอยพระบาทแล้ว จึงชี้ว่า นี้รอยเท้าของเขา."
รอยเท้าเป็นเครื่องแสดงลักษณะของคน
นางพราหมณีนั้นกล่าวร่า "พราหมณ์ นี้ ไม่ใช่รอยเท้าของบุคคลผู้บริโภคกาม" เพราะความที่นางเป็นคนฉลาดในมนต์เครื่องทำนาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 281
ลักษณะ, เมื่อพราหมณ์พูดว่า "นางผู้เจริญ เจ้าเห็นจระเข้ในตุ่มน้ำ, สมณะนั้นเราบอกแล้วว่า เราจักให้ธิดาแก่เขา, ถึงเขาก็รับคำของเราแล้ว," กล่าวว่า "พราหมณ์ ท่านบอกอย่างนั้นก็จริง, ถึงดังนั้น รอยเท้านี้ เป็นรอยเท้าของผู้หมดกิเลสทีเดียว ดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้ว่า :-
" ก็คนเจ้าราคะ พึงมีรอยเท้ากระโหย่ง (เว้ากลาง)
คนเจ้าโทสะ ย่อมมีรอยเท้าอันส้นบีบ (หนักส้น)
คนเจ้าโมหะย่อมมีรอยเท้าจิกลง (หนักทางปลายเท้า) คนมีกิเลสเครื่องมุงบังอันเปิดแล้วมีรอยเท้าเช่นนี้ นี้."
ทีนั้น พราหมณ์จึงบอกนางพราหมณีว่า "นางผู้เจริญ เจ้าอย่าอึงไป, จงเป็นผู้นิ่งมาเถิด" ไปพบพระศาสดาแล้ว จึงแสดงแก่นางพราหมณีนั้นว่า "นี้ คือ บุรุษคนนั้น." แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลว่า "สมณะ เราจะให้ธิดา." พระศาสดา ไม่ตรัสว่า "เราไม่ต้องการด้วยธิดาของท่าน" (กลับ) ตรัสว่า "พราหมณ์ เราจักบอกเหตุสักอย่างหนึ่งแก่ท่าน, ท่านจักฟังไหม?" เมื่อพราหมณ์ทูลว่า "สมณะผู้เจริญ ท่านจงกล่าว, ข้าพเจ้าจักฟัง. จึงทรงนำเรื่องอดีต ตั้งแต่ครั้งออกมหาภิเนษกรมณ์มาแสดงแล้ว.
กถาโดยย่อในเรื่องนั้น ดังต่อไปนี้ :-
" พระมหาสัตว์ ทรงละสิริราชสมบัติ ทรงขึ้นม้ากัณฐกะ (ม้าสีขาว) มีนายฉันนะเป็นสหาย เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ เมื่อมารยืนอยู่ที่ประตูแห่งพระนคร กล่าวว่า "สิทธัตถะ ท่านจงกลับเสียเถิด แต่วันนี้ไปใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 282
วันที่ ๗ จักรรัตนะจักปรากฏแก่ท่าน, จึงตรัสว่า "มาร ถึงเราก็รู้จักรรัตนะนั้น, แต่เราไม่มีความต้องการด้วยจักรรัตนะนั้น."
มาร. เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านออกไปเพื่อประโยชน์อะไร?
พระมหาสัตว์. เพื่อประโยชน์แก่สัพพัญญุตญาณ.
มาร. ถ้าเช่นนั้น ตั้งแต่วันนี้ไป บรรดาวิตกทั้งสามมีกามวิตกเป็นต้น ท่านจะต้องตรึกวิตกแม้สักอย่างหนึ่ง, เราจักรู้กิจที่ควรทำแก่ท่าน.
ตั้งแต่นั้นมา มารนั้นคอยเพ่งจับผิด ติดตามพระมหาสัตว์ไป ๗ ปี แม้พระศาสดาทรงประพฤติทุกรกิริยาสิ้น ๖ ปี ทรงอาศัยการกระทำ (ความเพียร) ของบุรุษ เฉพาะพระองค์ ทรงแทงตลอดซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ เสวยวิมุตติสุข (สุขอันเกิดจากความพ้นกิเลส) ที่ควงไม้โพธิ ในสัปดาห์ที่ ๕ ประทับนั่งที่ควงไม้อชปาลนิโครธ.
มารเสียใจเพราะพระองค์ตรัสรู้
ในสมัยนั้น มารถึงความโทมนัสแล้ว นั่งที่หนทางใหญ่ พลางรำพึง ว่า "เราติดตามมาตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ แม้คอยเพ่งจับผิด ก็ไม่ได้เห็นความพลั้งพลาดอะไรๆ ของสิทธัตถะนี้, บัดนี้ เธอก้าวล่วงวิสัยของเราไปเสียแล้ว." ทีนั้น ธิดาของมารนั้นสามคนเหล่านี้ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา ดำริว่า "บิดาของเราไม่ปรากฏ, บัดนี้ท่านอยู่ที่ไหนหนอ?" เที่ยวมองหาอยู่ จึงเห็นบิดานั้นผู้นั่งแล้วอย่างนั้น จึงเข้าไปหาแล้วไต่ถามว่า "คุณพ่อ เพราะเหตุไร? คุณพ่อจึงมีทุกข์เสียใจ" มาร นั้น จึงเล่าเนื้อความแก่ธิดาเหล่านั้น. ลำดับนั้น ธิดาเหล่านั้น จึงบอกกะมารผู้บิดานั้นว่า" คุณพ่อ คุณพ่ออย่าคิดเลย, พวกดิฉันจักทำเขาให้ อยู่ในอำนาจของตนแล้วนำมา."
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 283
มาร. แม่ทั้งหลาย ใครๆ ก็ไม่อาจทำเขาไว้ในอำนาจได้.
ธิดา. คุณพ่อ พวกดิฉันชื่อว่าเป็นหญิง, พวกดิฉันจักผูกเธอไว้ด้วย บ่วง มีบ่วงคือราคะเป็นต้นแล้วนำมา ในบัดนี้แหละ, คุณพ่ออย่าคิดเลย" แล้วพากันเข้าไปเฝ้าพระศาสดากราบทูลว่า "ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจักบำเรอพระบาทของพระองค์."
ธิดามารประเล้าประโลมพระศาสดา
พระศาสดา มิได้ทรงใฝ่พระหฤทัยถึงถ้อยคำของธิดามารเหล่านั้นเลย, ไม่ทรงลืมพระเนตรทั้งสองขึ้นดูเลย. พวกธิดามาร คิดกันอีกว่า "ความประสงค์ของพวกบุรุษ สูงๆ ต่ำๆ แล, บางพวกมีความรักในเด็กหญิงรุ่นทั้งหลาย, บางพวกมีความรักในพวกหญิงที่ตั้งอยู่ในปฐมวัย, บางพวกมีความรักในพวกหญิงที่ตั้งอยู่ในมัชฌิมวัย, บางพวกมีความรักในพวกหญิงที่ตั้งอยู่ในปัจฉิมวัย; พวกเราจักประเล้าประโลมเธอโดยประการต่างๆ คนหนึ่งๆ นิรมิตอัตภาพได้ร้อยหนึ่งๆ ด้วยสามารถ แห่งเพศมีเพศเด็กหญิงรุ่นเป็นต้น เป็นเด็กหญิงรุ่นทั้งหลาย เป็นหญิงยังไม่คลอด คลอดแล้วคราวหนึ่ง คลอดแล้วสองคราว เป็นหญิงกลางคน และเป็นหญิงแก่, เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า " ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจักบำเรอพระบาททั้งสองของพระองค์" ดังนี้ ถึง ๖ ครั้ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงใฝ่พระหฤทัยถึงถ้อยคำของธิดามารแม้นั้น โดยประการที่ทรงน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยม ด้วยประการฉะนี้.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะธิดามารผู้ติดตามมา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า "พวกเจ้าจงหลีกไป, พวกเจ้าเห็นอะไรจึงพยายามอย่างนี้?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 284
การทำกรรมชื่อเห็นปานนี้ต่อหน้าของพวกที่มีราคะไม่ไปปราศจึงจะควร, ส่วนตถาคตละกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นได้แล้ว, พวกเจ้าจักนำเราไปในอำนาจของตน ด้วยเหตุอะไรเล่า?" ดังนี้ แล้วได้ทรงภาษิตพระคาถา เหล่านี้ว่า :-
๑. ยสฺส ชิตํ นาวชียติ
ชิตมสฺส โนยาติ โกจิ โลเก
ตํ พุทฺธํ อนนฺตโคจรํ
อปทํ เกน ปเทน เนสฺสถ.
ยสฺส ชาลินี วิสตฺติกา
ตณฺหา นตฺถิ กุหิญฺจิ เนตเว
ตํ พุทฺธํ อนนฺตโคจรํ
อปทํ เกน ปเทน เนสฺสถ.
"กิเลสชาตมีราคะเป็นต้น อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์ใดชนะแล้ว อันพระองค์ย่อมไม่กลับแพ้,
กิเลสหน่อยหนึ่งในโลก ย่อมไปหากิเลสชาตที่พระพุทธเจ้า
พระองค์นั้นชนะแล้วไม่ได้. พวกเจ้าจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ไม่มีร่องรอยไปด้วยร่องรอยอะไร?
ตัณหามี ข่ายซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
เพื่อนำไปในภพไหนๆ, พวกเจ้าจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ไม่มีร่องรอยไป ด้วยร่องรอยอะไร?"
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 285
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ยสฺส ชิตํ นาวชิยติ ความว่า กิเลสชาตมีราคะเป็นต้น อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงชนะแล้ว ด้วยมรรคนั้นๆ อันพระองค์ ย่อมไม่กลับแพ้ คือชื่อว่าชนะแล้วไม่ดี หามิได้ เพราะไม่กลับฟุ้งขึ้นอีก.
บทว่า โนยาติ ตัดเป็น น อุยฺยาติ แปลว่า ย่อมไม่ไปตาม. อธิบายว่า บรรดากิเลสมีราคะเป็นต้น แม้กิเลสอย่างหนึ่งไรๆ ในโลก ชื่อว่ากลับไปข้างหลังไม่มี คือไม่ติดตามกิเลสชาตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ใดทรงชนะแล้ว. (๑)
บทว่า อนนฺคโคจรํ ความว่า ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ด้วยสามารถแห่งพระสัพพัญญุตญาณ มีอารมณ์หาที่สุดมิได้.
สองบทว่า เกน ปเทน เป็นต้น ความว่า บรรดารอยมีรอย คือ ราคะเป็นต้น แม้รอยหนึ่ง ไม่มีแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด, พวกเจ้าจักนำพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นไป ด้วยร่องรอยอะไร คือ ก็แม้ร่องรอยสักอย่างหนึ่ง ไม่มีแก่พระพุทธเจ้า, พวกเจ้าจักนำพระพุทธเจ้านั้น ผู้ไม่มีร่องรอยไป ด้วยร่องรอยอะไร?
วินิจฉัยในคาถาที่สอง, ขึ้นชื่อว่าตัณหานั่น ชื่อว่า ชาลินี เพราะ วิเคราะห์ว่า มีข่ายบ้าง มีปกติทำซึ่งข่ายบ้าง เปรียบด้วยข่ายบ้าง เพราะอรรถว่า รวบรัดตรึงตราผูกมัดไว้, ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะเป็นธรรมชาติมักซ่านไปในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น เพราะเปรียบด้วยอาหารอันมีพิษ เพราะเปรียบด้วยดอกไม้มีพิษ เพราะเปรียบด้วยผลไม้มีพิษ
๑. กิเลสเหล่าอื่น ติดตามกิเลสที่ทรงชนะแล้วเนื่องกันเป็นสายๆ ไม่มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 286
เพราะเปรียบด้วยเครื่องบริโภคมีพิษ, อธิบายว่า ตัณหาเห็นปานนั้นไม่มีแก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เพื่อนำไปในภพไหนๆ, พวกเจ้าจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ไม่มีร่องรอยไปด้วยร่องรอยอะไร?
ในกาลจบเทศนา ธัมมาภิสมัยได้มีแก่เทวดาเป็นอันมาก. แม้ธิดามารก็อันตรธานไปในที่นั้นนั่นแล.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า "มาคันทิยะ ในกาลก่อน เราได้เห็นธิดามารทั้งสามเหล่านี้ผู้ประกอบด้วยอัตภาพ เช่นกับแท่งทอง ไม่แปดเปื้อนด้วยของโสโครก มีเสมหะเป็นต้น, แม้ ในกาลนั้น เราไม่ได้มีความพอใจในเมถุนเลย, ก็สรีระแห่งธิดาของท่านเต็มไปด้วยซากศพ คืออาการ ๓๒ เหมือนหม้อที่ใส่ของไม่สะอาด อันตระการตา ณ ภายนอก, แม้ถ้าเท้าของเราพึงเป็นเท้าที่แปดเปื้อนด้วยของไม่สะอาดไซร้, และธิดาของท่านนี้พึงยืนอยู่ที่ธรณีประตู; ถึงอย่างนั้น เราก็ไม่พึงถูกต้องสรีระของนางด้วยเท้า" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
" แม้ความพอใจในเมถุน ไม่ได้มีแล้ว
เพราะเห็น นางตัณหา นางอรดี และนางราคา,
เพราะเห็นสรีระ แห่งธิดาของท่านนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยมูตร และกรีส,
(เราจักมีความพอใจในเมถุนอย่างไรได้?)
เราย่อมไม่ปรารถนาเพื่อจะแตะต้องสรีระธิดาของท่าน นั้น แม้ด้วยเท้า."
ในเวลาจบเทศนา เมียผัวทั้งสองตั้งอยู่แล้วในอนาคามิผล ดังนี้แล.
เรื่องมารธิดา จบ.