[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 105
๑๐. จตุตถรุกขสูตร
ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 105
๑๐. จตุตถรุกขสูตร
ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม
[๑๐๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกครุฑชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นโกฏสิมพลี (ไม้งิ้วป่า) โลกกล่าวว่าเป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๐๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้.
[๑๐๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกครุฑชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นโกฏสิมพลี โลกกล่าวว่าเป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิ-
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 106
ปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
จบจตุตถรุกขสูตรที่ ๑๐
จบโพธิปักขิยวรรคที่ ๗
อรรถกถาโพธิปักขิยวรรคที่ ๗
ในโพธิปักขิยวรรคที่ ๗.
ผล ๗ อย่าง เป็นส่วนเบื้องต้น บรรดาผลทั้ง ๗ อย่างนั้น ผล ๒ อย่างในหนหลัง ทำให้เป็นต้นแล้ว ก็เป็นของเจือกัน.
คำที่เหลือในพระสูตรนี้ และคำทั้งหมดนอกจากนี้ ล้วนแต่ตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาโพธิปักขิยวรรคที่ ๗
จบอรรถกถาอินทริยสังยุตที่ ๔