ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 2
ข้อความบางตอนจาก
รัตนสูตร
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใด อัน ประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอ ด้วยพระตถาคตไม่มีเลย พุทธรัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอ ความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
พระศากยมุนี ผู้มีพระหฤทัยดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมใดอันเป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่ สำรอกกิเลส เป็นอมตธรรม เป็นธรรม ประณีต ธรรมชาติอะไรๆ อันเสมอด้วย พระธรรมนั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอ ความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
บุคคล ๘ จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษ ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้นควร แก่ทักษิณาทาน เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า ทานที่บุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้น ย่อม มีผลมาก สังฆรัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะอัน ประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมี แก่สัตว์เหล่านี้
[เล่มที่ 70] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 11
ข้าพเจ้าขอไหว้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด หาบุคคลเปรียบปานมิได้ ผู้เสด็จขึ้นสู่สาครคือไญยธรรม ผู้ข้ามสาคร คือสงสารได้แล้ว ด้วยเศียรเกล้า. ขอไหว้พระธรรมอันยอดเยี่ยมสงบละเอียดลึกซึ้ง เห็นได้แสนยาก อันกระทำภพน้อยและภพใหญ่ให้บริสุทธิ์ ซึ่งพระสัมพุทธเจ้าบูชาแล้ว ด้วยเศียรเกล้า. ขอไหว้พระสงฆ์ผู้ปราศจากทุกข์ ไม่มีเครื่องข้องคือกิเลส ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลผู้สูงสุด มีอินทรีย์สงบ ผู้ปราศจากอาสวะ ด้วยเศียรเกล้า
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนา
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 130
ปสาทสูตรที่ ๔
เมื่อบุคคลเลื่อมใสโดยความเป็นวัตถุ เลิศ รู้ซึ่งธรรมอันเลิศ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ผู้เป็นทักษิไณย ไม่มีใคร ยิ่งกว่า เลื่อมใสในพระธรรมอันเลิศอัน เป็นที่สิ้นราคะเป็นที่สงบเป็นสุข เลื่อมใส ในพระสงฆ์ผู้เลิศ ผู้เป็นนาบุญไม่มีนาบุญ อื่นยิ่งกว่า ให้ทานในท่านผู้เลิศ บุญอันเลิศ ย่อมเจริญมาก อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุข และพละอันเลิศก็ย่อมเจริญมาก ผู้มีปัญญา เป็นผู้ให้ของที่เลิศ มั่นคงอยู่ในธรรมอัน เลิศแล้ว ผู้นั้นจะเป็นเทวดาหรือเป็น มนุษย์ก็ย่อมได้รับฐานะอันเลิศบันเทิงใจ
จบปสาทสูตรที่ ๔
นะมัตถุ ระตะนัตตะยัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลที่ควรกราบไหว้นอบน้อมสูงสุด
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 340
ข้อความบางตอนจาก
เวรัญชสูตร
ดูก่อนพราหมณ์ เราแม้ตรวจดูด้วยจักษุ คือพระสัพพัญญุตญาณอันไม่ติดขัด ก็ยังมองไม่เห็นบุคคลในโลกนี้ อันต่างด้วยเทวโลกเป็นต้น ที่เราจะพึงกราบ ลุกรับหรือเชื้อเชิญด้วยอาสนะ. อีกอย่างหนึ่งข้อนี้ไม่น่าอัศจรรย์เลย เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ยังมองไม่เห็นบุคคลผู้ควรแก่การนอบน้อมเห็นปานนี้ ในวันนี้นั้น อีกอย่างหนึ่งแลแม้ในกาลใด เราเกิดในเดี๋ยวนั้น หันหน้าไปทางทิศอุดร เดินไป ๗ ย่างก้าว แลดูหมื่นโลกธาตุทั้งสิ้น แม้ในกาลนั้น ในโลกนี้ต่างด้วยเทวโลกเป็นต้น เราก็ยังมองไม่เห็นบุคคลผู้ที่เราจะพึงกระทำการนอบน้อมเห็นปานนั้น. ครั้งนั้นแล แม้พระขีณาสพมหาพรหม ผู้มีอายุ ๑๖,๐๐๐ กัป ก็ประคองอัญชลีเกิดความโสมนัสยอมรับนับถือเราว่าพระองค์เป็นมหาบุรุษในโลกพร้อมทั้งเทวโลก พระองค์เป็นผู้เลิศเป็นผู้เจริญที่สุด เป็นผู้ประเสริฐที่สุดของโลกพร้อมทั้งเทวโลกไม่มีผู้ที่จะยิ่งใหญ่กว่าพระองค์. ก็แม้ในกาลนั้น เรามองไม่เห็นผู้คนยิ่งใหญ่กว่าเรา จึงเปล่งอาสภิวาจา วาจาอย่างองอาจว่าเราเป็นผู้เลิศของโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดของโลก เราเป็นผู้ ประเสริฐที่สุดของโลก. เราแม้เกิดได้ครู่เดียว ก็ยังไม่มีบุคคลที่ควรแก่การกราบไหว้อย่างนี้ บัดนี้ เรานั้นบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว จะพึงกราบใครเล่า เพราะฉะนั้น ท่านอย่าปรารถนาการนอบน้อมอย่างยิ่งเห็นปานนี้ จากตถาคตเลย ท่านพราหมณ์. เพราะว่าเราตถาคตพึงกราบบุคคลใด ฯลฯ หรือเชื้อเชิญคนใดด้วยอาสนะแม้ศีรษะของบุคคลนั้นก็จะพึงขาดหลุดจากคอตกลง ณ พื้นดินทันทีเหมือนผลตาลหลุดจากขั้วที่ติดอยู่หย่อนๆ เพราะแก่จัด หลุดขาดจากขั้วตอนสิ้นคืน ฉะนั้น.
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ที่พึ่งอันเกษมสูงสุดของข้าพเจ้า
สาธุ
ขออนุโมทนาครับ
ขอเชิญอ่านพระสูตร ...
รัตนสูตร ว่าด้วยรัตนอันประณีต และอรรถกถา
ขอเชิญรับฟังจากซีดี...
รัตนสูตร
เนื้อหาโดยย่อ มีดังนี้ - อรรถ ความหมาย รัตนะ - คุณของพระรัตนตรัย - เครื่องใช้สอยของผู้ไม่ต่ำทราม - เปรียบพระรัตนตรัยโดยนัยต่างๆ
รัตนสูตร ๑
รัตนสูตร ๒
รัตนสูตร ๓