ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความบางตอนจาก พระอภิธรรมปิฏก ปุคคลบัญญัติ
[๗๒] ๑. หิริมาบุคคลบุคคลผู้มีหิริเป็นไฉน
ความละอายุในข้อนั้น เป็นไฉน ละอายการเข้าถึงธรรมอันเป็นบาปอกุศล นี้เรียกว่า หิริความละอาย บุคคลผู้ประกอบด้วยหิรินี้ชื่อว่า ผู้มีหิริ
๒. โอตตัปปีบุคคลบุคคลผู้มีโอตตัปปะเป็นไฉน
โอตตัปปะ ในข้อนั้น เป็นไฉน ธรรมชาติใดกลัวสิ่งที่ควรกลัว กลัวการเข้าถึงธรรมที่เป็นบาปอกุศล นี้เรียกว่า โอตตัปปะ บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยโอตตัปปะนี้ ชื่อว่า ผู้มีโอตตัปปะ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้าที่ 264
[๗๓] ๑. สุวจบุคคลบุคคลผู้ว่าง่ายเป็นไฉน
ความเป็นผู้ว่าง่าย ในข้อนั้น เป็นไฉน กิริยาที่ว่าง่าย ภาวะที่ว่าง่าย ความเป็นผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้ถือเอาโดยไม่ปฏิกูล ความเป็นผู้ยินดี โดยไม่เป็นข้าศึก ความเอื้อเฟื้อ ความเคารพ ความเชื่อฟัง ในเมื่อสหธรรมมิกว่ากล่าวอยู่ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ว่าง่าย
๒. กัลยาณมิตตบุคคลบุคคลผู้มีมิตรดีเป็นไฉน
ความเป็นผู้มีมิตรดี ในข้อนั้น เป็นไฉน บุคคลเหล่าใดมีศรัทธามีศีล เป็นพหูสูต มีการบริจาค มีปัญญา การเสวนะ การซ่องเสพ การคบ การคบหา การคบหาพร้อม การภักดี การภักดีด้วย ความเป็นผู้คบหาสมาคมบุคคลเหล่านั้น นี้เรียกว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้มีมิตรดี นี้ชื่อว่า เป็นผู้มีมิตรดี
[๗๔] ๑. อินทรียคุตตทวารบุคคลบุคคลมีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นไฉน
ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ในข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลในโลกนี้เห็นรูปด้วยตา เป็นผู้ไม่ถือเอาซึ่งนิมิต เป็นผู้ไม่ถือเอาซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์คือจักษุนี้อยู่ เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์ คือจักษุใดเป็นเหตุ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือจักษุนั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือจักษุ ย่อมถึงความสำรวม อินทรีย์คือจักษุ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ไม่เป็นผู้ถือเอาซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลธรรมทั้งหลายอัน
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้าที่ 265
ลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์คือใจนี้อยู่ เพราะความไม่สำรวมอินทรีย์คือใจใดเป็นเหตุ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือใจนั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือใจ ย่อมถึงความสำรวมอินทรีย์คือใจ การคุ้มครอง การปกครอง การรักษา การสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านั้นใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย นี้ชื่อว่า เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
๒. โภชเนมัตตัญญูบุคคลบุคคลผู้รู้จักประมาณใน
โภชนะเป็นไฉน
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ในข้อนั้น เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วบริโภคอาหาร ไม่บริโภคเพื่อจะเล่น ไม่บริโภคเพื่อมัวเมา ไม่บริโภคเพื่อประดับ ไม่บริโภคเพื่อตกแต่งประเทืองผิว บริโภคเพียงเพื่อความตั้งอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้กายเป็นไป เพื่อจะกำจัดความเบียดเบียนลำบากคือความหิวอาหารเสีย เพื่อจะอนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า ด้วยการเสพเฉพาะอาหารนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความที่กายจักเป็นไปได้นานจักมีแก่เรา ความเป็นผู้ไม่มีโทษ ความอยู่สบายด้วยจักมีแก่เรา ความเป็นผู้สันโดษ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะนั้น ความพิจารณาในโภชนะนั้นอันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ นี้เรียกว่า ผู้รู้จักประมาณในโภชนะ
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้าที่ 266
ข้อความบางตอนจาก
[เล่มที่ 79] พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓- หน้าที่ 205
บุคคลผู้งดเว้นเพราะกลัวเป็นไฉน
[๒๗] ภยูปรตบุคคล บุคคลผู้งดเว้นเพราะกลัวเป็นไฉน
พระเสขะ ๗ จำพวก และบุคคลปุถุชนผู้มีศีล ชื่อว่า ภยูปรตบุคคล บุคคลผู้งดเว้นเพราะกลัว พระอรหันต์ ชื่อว่า อภยูปรตบุคคล บุคคลมิใช่ผู้งดเว้นเพราะกลัว
อรรถกถาภยูปรตบุคคล วินิจฉัยในนิเทศแห่งภยูปรตบุคคล บุคคลใดงดเว้นความชั่ว เพราะความกลัว เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ภยูปรโตผู้งดเว้นความชั่ว เพราะความกลัว อธิบายว่า ก็พระเสกขบุคคล ๗ พวก กับปุถุชนทั้งหลาย ผู้มีศีล กลัวแล้วย่อมงดเว้นจากบาป คือไม่กระทำบาป บรรดาพระอริยะและปุถุชนทั้งหลาย ย่อมกลัวภัย ๔ อย่างคือ
๑. ทุคคติภัย
๒. วัฏฏภัย
๓. กิเลสภัย
๔. อุปวาทภัย
ในภัยเหล่านั้น ภัย คือ การไปสู่คติชั่ว ชื่อว่า ทุคคติภัยเพราะอรรถว่า อันบุคคลพึงกลัว แม้ในภัยทั้ง ๓ ที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในท่านเหล่านั้น ปุถุชนกลัวทุคคติภัยด้วยคิดว่า ถ้าท่านจักทำบาปไซร้ อบายทั้ง ๔ จักเป็นเช่นกับงูเหลือม กำลังหิวกระหายอ้าปากคอยท่าอยู่ ท่านเมื่อเสวยทุกข์อยู่ในอบายเหล่านั้น จักทำอย่างไร จึงไม่ทำบาป ก็สังสารวัฏฏ์มีเบื้องต้นและที่สุดอันรู้มิได้นั่นแหละ ชื่อว่า วัฏฏภัย อกุศลแม้ทั้งปวง ชื่อว่า กิเลสภัย การติเตียน ชื่อว่า อุปวาทภัย ปุถุชนกลัวภัยเหล่านั้น ย่อมไม่กระทำบาป แต่พระเสกขะ ๓ จำพวก คือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ทั้ง ๓ นี้ล่วงพ้นจากทุคคติภัยได้แล้ว จึงยังกลัวภัยทั้ง ๓ ที่เหลืออยู่ ย่อมไม่การทำบาป พระเสกขะผู้ตั้งอยู่ในมรรค ชื่อว่า ผู้งดเว้นจากภัย ด้วยอำนาจแห่งการบรรลุ หรือเพราะความเป็นผู้ตัดภัยยังไม่ขาด
พระขีณาสพ ชื่อว่า อภยูปรตบุคคล ท่านไม่กลัวภัยแม้สักอย่างหนึ่งในภัยทั้ง ๔ เหล่านั้น จริงอยู่ พระขีณาสพ ท่านตัดภัยได้ขาดแล้ว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "อภยูปรโต" ผู้งดเว้นความชั่วมิใช่เพราะความกลัวภัย
ถามว่า ท่านก็ย่อมไม่กลัวแม้แต่ อุปวาทภัย ภัยคือการติเตียนหรือ
ตอบว่า ไม่กลัว แต่ไม่ควรกล่าวว่า ท่านรักษาอุปวาทภัย ข้อนี้บัณฑิตพึงเห็นเหมือนพระขีณาสพเถระในบ้านโทณุปปลวาปี เป็นตัวอย่าง
จบอรรถกถาภยูปรตบุคคลและอภยูปรตบุคคล
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
หิริ (ความละอายต่ออกุศล) และโอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่ออกุศล) ต่างก็เป็นสภาพธรรมฝ่ายดีด้วยกันทั้งคู่ เกิดพร้อมกันทุกครั้ง เป็นความละอาย และความเกรงกลัวต่ออกุศล กลัวต่อผลของบาปอกุศลที่จะเกิดขึ้น เพราะบาปอกุศลนำมาซึ่งความทุกข์ความเดือดร้อนในภายหลัง เมื่อธรรม ๒ ประการ นี้เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของตน อกุศลจิตย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้ และที่สำคัญธรรม ๒ ประการนี้ เป็นธรรมคุ้มครองโลก เป็นเครื่องเกื้อกูลให้สัตว์โลกอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สงบร่มเย็น ปราศจากการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ดีทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ
อีกประการหนึ่ง เพราะมีความละอายและมีความเกรงกลัวต่ออกุศล กลัวต่อภัยคือการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์อย่างไม่มีวันจบสิ้น ซึ่งเต็มไปด้วยทุกข์นานาประการ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้แต่ละบุคคลได้มีวิริยะ อุตสาหะที่จะฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาสะสมความเข้าใจถูก เห็นถูก เป็นปกติในชีวิตประจำวันบ่อยๆ เนืองๆ เพื่อวันหนึ่งข้างหน้าจะเป็นผู้ที่สามารถดับกิเลสทั้งหลาย ทั้งปวงได้ ไม่ต้องมีการเกิดอีกเลยในสังสารวัฏฏ์ ครับ.
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณหมอ เป็นอย่างยิ่งครับ
ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
หิริและโอตตัปปะเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นเจตสิก เป็นเจตสิกฝ่ายดี หิริ คือ ความ ละอายต่อบาป ส่วนโอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อบาป หิริและโอตตัปปะเกิดกับจิตที่ ดีทุกประเภทและเกิดกับจิตที่ดีทุกระดับ
ดังนั้น ขณะที่กุศลจิตเกิดจะต้องมีหิริและโอตตัปปะเกิดร่วมด้วยเสมอครับ และเกิดกับ กุศลจิตทุกระดับด้วย ซึ่งขณะที่ให้ทาน รักษาศีล เจริญสมถภาวนาและเจริญวิปัสสนา และ ขณะที่มรรคจิต ผลจิตเกิดก็ต้องมี หิริ โอตตัปปะเกิดร่วมด้วยครับ อันแสดงถึงว่า หิริและ โอตตัปปะ นั้นมีหลายระดับ ตามระดับของจิต ตามระดับของกุศล
ซึ่งขณะที่ให้ทาน รักษาศีล เป็นกุศลเบื้องต้น มีหิริและโอตตัปปะเกิดร่วมด้วย คือ มีความ ละอายและเกรงกลัวต่อบาป แต่ไม่ได้มีกำลัง คือ ไม่ได้แสดงลักษณะของหิริและโอตตัปปะ อย่างชัดเจน นั่นคือ ไม่เป็นหิริพละ และโอตตัปปะพละ ที่แสดงถึงความมีกำลังของหิริและ โอตตัปปะครับ แต่ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ที่เป็นการเจริญวิปัสสนา หรือ ขณะที่วิปัสสนา ญานเกิด ขณะนั้นก็มี หิริและโอตตัปปะเกิดร่วมด้วยครับ และหิริและโอตตัปปะก็เป็นสภาพ
ธรรมที่มีกำลังแล้ว เรียกว่า หิริพละ และ โอตตัปปะพละ มีกำลังที่ละอาย เกรงกลัวต่อบาป จนถึงขนาด ที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ดังนั้น เมื่อใดสติ ปัฏฐานเกิด หิริและโอตตัปปะมีกำลังมากกว่า หิริและโอตตัปปะที่เป็นกุศลเบื้อวต้นที่เป็น ไปในทาน ศีลครับ และขณะที่มรรคจิตเกิด ทำหน้าที่ดับกิเลส ก็มีหิริและโอตตัปปะเกิดร่วม ด้วย มีกำลังมาก เป็นหิริพละและโอตตัปปะพละ ละอายและเกรงกลัวต่อบาปด้วยในขณะ นั้น จนดับกิเลสได้ครับ
ประโยชน์จากการได้ยินได้ฟังพระธรรม คือ เข้าใจถูกเห็นถูก ว่า มีแต่ธรรม เท่านั้นที่เกิดขึ้นเป็นไป ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เมื่อประมวลแล้ว ก็ไม่พ้นไปจากความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรมที่เป็นนามธรรม กับ รูปธรรม ไม่พ้นไปจากนี้เลย แต่ก็ไม่รู้จนกว่าจะได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ความเป็นจริงของธรรม เป็นจริงอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จะเห็นได้ว่า ขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้นเป็นไปนั้น จะไม่ปราศจากธรรมฝ่ายดี ๒ อย่าง คือ หิริ ความละอายต่อบาป และโอตตัปปะความเกรงกลัวบาป เกรงกลัวผลของบาปที่จะเกิดขึ้น ซึ่งพอจะเข้าใจได้ว่า การช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น มีเมตตา ความเป็นมิตรเป็นเพื่อนกับผู้อื่น หวังดี ไม่หวังร้าย การไม่โกรธผู้อื่น การให้อภัยความประพฤติไม่ดีของผู้อื่น การวิรัติงดเว้นจากทุจริตกรรมประการต่างๆ ตลอดจนถึงการฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกยิ่งขึ้น นั้น ล้วนเพราะหิริโอตตัปปะ เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ทั้งนั้น ซึ่งจะตรงกันข้ามกับขณะที่เป็นอกุศลอย่างสิ้นเชิง เพราะขณะใดก็ตาม ที่จิตเป็นอกุศล ขณะนั้นปราศจากหิริโอตตัปปะ ในขณะที่หิริโอตตัปปะเกิดขึ้นนั้น คุ้มครองให้จิตไม่เป็นอกุศล และในขณะที่กุศลจิต เกิดขึ้นเป็นไปนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความทุกข์ ความเดือดร้อน ทั้งแก่ตนและแก่บุคคลอื่น ครับ
...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณหมอ เป็นอย่างยิ่งครับ...
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ