๙. อภินิเวสสูตรที่ ๒ ว่าด้วยเหตุแห่งความยึดมั่น
โดย บ้านธัมมะ  7 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 36923

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 420

๙. อภินิเวสสูตรที่ ๒

ว่าด้วยเหตุแห่งความยึดมั่น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 420

๙. อภินิเวสสูตรที่ ๒

ว่าด้วยเหตุแห่งความยึดมั่น

[๓๖๒] กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 421

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดความพัวพันและความหมกมุ่นด้วยสังโยชน์และความยึดมั่น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน ฯลฯ

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยืดมั่นรูป จึงเกิดความพัวพันและความหมกมุ่นด้วยสังโยชน์และความยึดมั่น เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิด ความพัวพันและความหมกมุ่นด้วยสังโยชน์และความยึดมั่น.

[๓๖๓] ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดความพัวพันและความหมกมุ่นด้วยสังโยชน์และความยึดมั่น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?

ภิ. มิใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

ภ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 422

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดความพัวพันและความหมกมุ่นด้วยสังโยชน์และความยึดมั่น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?

ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ อภินิเวสสูตรที่ ๒