เมื่อพิจารณาดูองค์ธรรมในปฏิจจสมุปบาทเช่น อวิชชาก็คือโมหเจตสิก ....สังขารคือสังขาร 3หรือเจตนา29 ...วิญญาณคือวิญญาณ 6 หรือโลกียวิบากจิต 32 ....นามรูปคือเจตสิกที่เกิดร่วมกับโลกิยวิบากจิต35และกัมมชรูป ....สฬายตนะคือปสาทรูปและหทยวัตถุ ....ผัสสะคือผัสสเจตสิก ....เวทนาคือเวทนาเจตสิก ....ตัณหาคือตัณหา 3 หรือตัณหา 6 .....อุปาทานคืออุปาทาน 4 ......ภพคือกรรมภพหรือสังขารนั่นเอง และอุบัติเหตุภพ ....ชาติคือความปรากฏขึ้นของขันธ์ 5 ในภพ ...ชรา.????มรณะคือการดับสิ้นไปของขันธ์ 5 ในภพนั้น
ปัญหาของผมคือชรามรณะถึงแม้จะอยู่ด้วยกันแต่ชรามีองค์ธรรมคืออะไรครับ เพราะขันธ์ 5 เกิดดับตลอดเวลา จะว่าเสื่อมหรือผิวเหี่ยวฟันหักผมหงอก มันเป็นสมมติว่าบุคคลมันไม่ใช่ องค์ธรรม
ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 436
[๒๖๗] ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นไฉน?
ชรา ๑ มรณะ ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน?
ความคร่ำคร่า ภาวะทีคร่ำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า ชรา
มรณะ เป็นไฉน?
ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน ความทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่ามรณะ
ชราและมรณะดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย.
เรื่องปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นด้วยดี คือ เป็นไปตามลำดับโดยอาศัยปัจจัย หมายถึง สภาพธรรมที่เป็นเหตุเป็นผล ที่ทำให้เกิดสังสารวัฏฏ์
สำหรับ ชรา และ มรณะ นั้น โดยสภาพธรรม ก็คือ สภาพธรรม ที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม เมื่อเกิดแล้ว ก็คล้อยไปสู่ความดับ ขณะที่ดำรงอยู่ชั่วขณะสั้นๆ (ฐีติขณะ) นั้น เป็น ชรา และ ขณะที่สภาพธรรมที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม นั้น ดับไป (ภังคขณะ) เป็น มรณะ เพราะเหตุว่า เมื่อสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม เกิดแล้ว ที่จะไม่คล้อยไปสู่ความดับ และที่จะไม่ดับไป นั้น ไม่มี ครับ
ขอเชิญคลิกฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ
ปฏิจจสมุปบาท แผ่นที่ ๑
ปฏิจจสมุปบาท แผ่นที่ ๒
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ....
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณมากครับท่านอาจารย์