ปทุมกูฏาคาริกเถราปทานที่ ๕ (๓๙๕) ว่าด้วยผลแห่งการทําพุทธบูชา
โดย บ้านธัมมะ  29 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 41397

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 925

เถราปทาน

ปิลินทวรรคที่ ๔๐

ปทุมกูฏาคาริกเถราปทานที่ ๕ (๓๙๕)

ว่าด้วยผลแห่งการทําพุทธบูชา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 925

ปทุมกูฏาคาริกเถราปทานที่ ๕ (๓๙๕)

ว่าด้วยผลแห่งการทำพุทธบูชา

[๓๙๗] พระผู้มี พระภาคเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้สยัมภูเป็น นายกของโลก ตรัสรู้แล้วเอง ทรงใคร่ในวิเวก ฉลาดใน สมาธิ เป็นมุนี.

พระมหามุนีพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้อุดมบุรุษ เสด็จไปสู่ ไพรสณฑ์ ทรงลาดผ้าบังสุกุลแล้วประทับนั่งอยู่.

ในกาลก่อน เราเป็นพรานเนื้ออยู่ในป่าใหญ่ ในกาลนั้น เราเที่ยวแสวงหาเนื้อฟานอยู่ในป่านั้น.

เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้ข้ามโอฆะแล้ว ไม่มีอาสวะ เปรียบเหมือนพญารังมีดอกบาน เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย.

ครั้นเห็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มียศมากแล้ว เราจึงลงไปสู่สระบัว นำดอกปทุมมาในขณะนั้น.

ครั้นนำเอาดอกปทุมอันเป็นที่รื่นรมย์ใจมาแล้ว จึงสร้าง เรือนมียอด (ปราสาท) แล้ว มุงบังด้วยดอกปทุม.

พระพุทธชินเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี เป็นมหามุนี ทรง อนุเคราะห์ประกอบด้วยพระกรุณา ประทับอยู่ในกูฏาคาร ๗ คืน ๗ วัน.

เราเก็บดอกปทุมที่เก่าๆ ทิ้งเสียแล้ว มุงบังด้วยดอกปทุม ใหม่ ขณะนั้น เราได้ยืนประนมกรอัญชลีอยู่.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 926

พระมหามุนีพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้เป็นนายกของโลก เสด็จออกจากสมาธิแล้วประทับนั่งเหลียวแลดูทิศอยู่.

ในกาลนั้น พระเถระผู้อุปัฏฐากนามว่า สุทัสสนะ มีฤทธิ์ มาก รู้พระดำริของพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้ศาสดา.

ผู้อันภิกษุ หมื่นแวดล้อมแล้ว เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้เป็นนายกของโลก ซึ่งประทับนั่งทรงสำราญอยู่ที่ชายป่า.

และในกาลนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในไพรสณฑ์ประมาณ เท่าใด เทวดาเหล่านั้นทราบพระพุทธดำริแล้ว พากันมา ประชุมทั้งหมด

เมื่อพวกยักษ์ กุมภัณฑ์พร้อมทั้งผีเสื้อน้ำ มาพร้อมกัน และเมื่อภิกษุสงฆ์มาถึงพร้อมแล้ว พระชินเจ้าได้ตรัสพระคาถาว่า ผู้ใดบูชาเราตลอด ๗ วัน และได้สร้างอาวาสถวายเรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงพึงเรากล่าว

เราจักพยากรณ์สิ่งที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก ลึกซึ้ง ปรากฏดีด้วยญาณ ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว

ผู้นั้นจักได้เสวยราชสมบัติในเทวโลกตลอด ๑๔ กัป เทวดา ทั้งหลายจักเนรมิตกูฏาคารอันประเสริฐ ที่มุงบังด้วยดอกปทุม ให้แก่ผู้นั้น กั้นไว้ในอากาศ.

นี้เป็นผลแห่งบุรพกรรม เขาจักท่องเที่ยววนเวียนอยู่ ตลอด ๑,๔๐๐ กัป. (๑)


๑. ม. ยุ. ๒๔ กัป.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 927

ใน ๑,๔๐๐ กัปนั้น วิมานดอกไม้จักทรงอยู่ในอากาศ น้ำ ย่อมไม่ติดในใบบัว ฉันใด กิเลสก็ไม่คิดอยู่ในญาณของผู้นั้น ฉันนั้น ผู้นี้กำจัดนิวรณ์ ๕ ออกไปจากใจ.

ยังจิตให้เกิดในเนกขัมมะแล้ว จักออกบวช ในกาลนั้น วิมานดอกไม้อันทรงอยู่ก็จักออกไปด้วย.

เมื่อผู้นั้นผู้มีปัญญา มีสติ อยู่ที่โคนไม้ ที่โคนไม้นั้น วิมานดอกไม้จักทรงอยู่เหนือศีรษะ.

ผู้นั้นจักถวายจีวร บิณฑบาตคิลานปัจจัย ที่นอนและที่นั่ง แก่ภิกษุสงฆ์แล้ว จักไม่มีอาสวะ นิพพาน.

เมื่อผู้นั้นเที่ยวไปพร้อมด้วยกูฏาคารออกบวชแล้ว กูฏาคาร ย่อมทรงผู้นั้นแม้อยู่ที่โคนไม้.

เจตนาในจีวรและบิณฑบาตย่อมไม่มีแก่เรา เราประกอบ ด้วยบุญกรรม จึงได้จีวรและบิณฑบาตที่สำเร็จแล้ว.

พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกล่วงเราไปเปล่าๆ พ้นไป แล้วด้วยดีตลอดโกฏิกัปป์เป็นอันมากโดยจะนับจะประมาณมิได้.

ในกัปที่ ๑,๘๐๐ แต่กัปนี้ เราจึงได้เฝ้าพระพุทธเจ้า พระนามว่าปิยทัสสี ผู้แนะนำให้วิเศษ แล้วจึงเข้าถึงกำเนิดนี้.

เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า อโนมะ ผู้มีจักษุ ได้เข้าเฝ้าพระองค์แล้ว บวชเป็นบรรพชิต.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 928

พระพุทธชินเจ้าผู้ทรงทำที่สุดทุกข์ได้ ทรงแสดงพระสัทธรรม เราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว ได้บรรลุบทอันไม่ หวั่นไหว.

เรายังพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โคคมศากยบุตร ให้ ทรงโปรด กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ในกัปที่ ๑,๘๐๐ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วย ธรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้วถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว อาสวะ ทั้งปวงของเราสิ้นรอบแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี.

การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระปทุมกูฏาคาริกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน

อรรถกถาปิลินทวรรคที่ ๔๐

อปทานที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.