วัญจกธรรม
โดย papon  4 ก.พ. 2558
หัวข้อหมายเลข 26136

เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน

"วัญจกธรรม" ขอความอนุเคราะห์อาจารย์ช่วยกรุณาให้อรรถาธิบายในคำนี้ด้วยครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 4 ก.พ. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วัญจกธรรม (ธรรมเป็นเครื่องหลอกลวง) ๓๘ ประการ

๑. ความพอใจในกาม ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นอปฏิกูลสัญญา

๒. ความพยาบาท ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นปฏิกูลสัญญา

๓. ถีนมิทธะ (ความท้อถอย ง่วงเหงา) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นสมาธิ

๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นการปรารภความเพียร

๕. กุกกุจจะ (ความรำคาญใจ) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา

๖. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีการพิจารณาทั้งสองฝ่าย

๗. ความหลงพร้อม (ไม่รู้) ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีการวางเฉยต่ออารมณ์ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา

๘. มานะ (ความสำคัญตน) ย่อมลวง โดยความไม่ดูหมิ่นตน เหมือนกับว่าเป็นผู้รู้จักตน

๙. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ย่อมลวง ด้วยการถือเอาเหตุอันสมควร เหมือนกับว่ามีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา

๑๐. ความเป็นผู้ไม่ถึงความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นปราศจากความกำหนัดยินดี

๑๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การประกอบเนืองๆ ซึ่งความหมกมุ่นในกาม) ย่อมลวงเหมือนกับว่าเสพในสิ่งที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้

๑๒. ความเป็นผู้มีปกติไม่แบ่งปัน ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีการเลี้ยงชีพที่บริสุทธิ์

๑๓. มิจฉาอาชีวะ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้มีปกติแบ่งปัน

๑๔. ความเป็นผู้มีปกติไม่สงเคราะห์ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยการไม่คลุกคลี

๑๕. ความคลุกคลีที่ไม่สมควร ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้มีปกติสงเคราะห์

๑๖. ปิสุณาวาจา (กล่าวส่อเสียด) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้กล่าวคำจริง

๑๗. ความเป็นผู้ใคร่ในสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ไม่กล่าวส่อเสียด

๑๘. ความเป็นผู้ทำการประจบ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้กล่าวถ้อยคำอันเป็นที่รัก

๑๙. ความเป็นผู้ไม่ชื่นชมยินดี (กับผู้อื่น) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้พูดพอประมาณ

๒๐. มายาและสาไถย ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้มีปกติชื่นชมยินดี (กับผู้อื่น)

๒๑. ผรุสวาจา (กล่าวคำหยาบ) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้พูดข่ม

๒๒. ความเป็นผู้เพ่งโทษผู้อื่น ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ติเตียนบาป

๒๓. ความตระหนี่ตระกูล ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีความประพฤติเกื้อกูลต่อตระกูล

๒๔. ความตระหนี่อาวาส ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ใคร่เพื่อให้อาวาสตั้งอยู่ตลอดกาลนาน

๒๕. ความตระหนี่ธรรม ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นการรักษาพระธรรมไว้ให้ดำรงมั่น

๒๖. ความเป็นผู้ยินดีในการพูดคุย ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ยินดียิ่งในการแสดงธรรม

๒๗. ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ไม่กล่าวคำหยาบและกระทำการอนุเคราะห์แก่หมู่คณะ

๒๘. ความเป็นผู้ยินดีในการงาน ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ใคร่ซึ่งบุญ

๒๙. ความเร่าร้อนแห่งจิต ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นการสลดสังเวช

๓๐. ความเป็นผู้ไม่พิจารณาอย่างรอบคอบ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้มากไปด้วยศรัทธา

๓๑. ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา

๓๒. ความเป็นผู้ไม่รับเอาคำพร่ำสอนของครูทั้งหลายโดยเคารพ ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีตนเป็นใหญ่

๓๓. ความไม่เคารพในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีธรรมเป็นใหญ่

๓๔. ความดูหมิ่นตนและดูหมิ่นธรรม ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีโลกเป็นใหญ่

๓๕. ราคะ (ความยินดีติดข้อง) ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีเมตตา

๓๖. ความเศร้าโศก ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีความกรุณา

๓๗. ความร่าเริง ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยมุทิตา

๓๘. ความเป็นผู้ทอดทิ้งฉันทะ (ความพอใจ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยอุเบกขา

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 2    โดย khampan.a  วันที่ 4 ก.พ. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อกุศลธรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ตามการสะสมของแต่ละบุคคล แต่ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมให้เข้าใจจริงๆ ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นอกุศลตามความเป็นจริง ก็อาจจะเข้าใจผิดว่า นั่นเป็นกุศล ซึ่งตามความเป็นจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย เช่น ความทอดทิ้งฉันทะในการกุศล ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นอยู่ด้วยอุเบกขา, ทั้งๆ ที่สามารถที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้ แต่ไม่ช่วย ก็คิดว่าตนเองเป็นผู้อยู่ด้วยอุเบกขา ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะอุเบกขาในที่นี้ จะต้องเป็นผู้ไม่เอนเอียงทางฝ่ายอกุศล ต้องช่วยเท่าที่จะช่วยได้ เมื่อช่วยอย่างเต็มที่ แต่ไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจเอาไว้ ก็เข้าใจถึงความที่สัตว์โลกมีกรรมเป็นของของตน ก็จะไม่หวั่นไหวไปด้วยอำนาจของอกุศล ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 3    โดย wannee.s  วันที่ 4 ก.พ. 2558

จะละวัญจกธรรมได้ด้วยปัญญาขั้นวิปัสสนาต่างๆ ละได้ชั่วคราว แต่ถ้าละได้หมดต้องบรรลุเป็นพระอรหันต์ ค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย peem  วันที่ 4 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย thilda  วันที่ 4 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย ธุลีพุทธบาท  วันที่ 5 ก.พ. 2558

ขอกราบนมัสการอย่างสูงสุดแด่พระรัตนตรัย

ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็จะถูกอกุศลหลอกลวงต่อไป โดยไม่มีวันรู้ตัวเลย

กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาอาจารย์ทั้งสองท่านเป็นอย่างยิ่ง ครับ


ความคิดเห็น 7    โดย พุทธรักษา  วันที่ 5 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย ใหญ่ราชบุรี  วันที่ 6 ก.พ. 2558

สาธุ อนุโมทนา และ ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

เครดิต ภาพ โดย คุณ Dang Visaka


ความคิดเห็น 9    โดย เมตตา  วันที่ 6 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 12    โดย ms.pimpaka  วันที่ 27 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 13    โดย ธนฤทธิ์  วันที่ 28 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 14    โดย ในนาม  วันที่ 22 ก.พ. 2562

ที่สุดแห่งความซาบซึ้ง ในธรรมทั้งหลาย ที่ท่านได้เมตตา นำมาเผยแพร่ สร้างความกระจ่าง ให้แก่ดวงปัญญา ทำของคว่ำให้หงาย ยังความมืดให้สว่าง ในอนุพยัญชนะทั้งหลาย ในธรรมทั้งหลาย ขอกราบอนุโมธนาเป็นอย่างสูง สาธุ สาธุ สาธุ


ความคิดเห็น 15    โดย chatchai.k  วันที่ 26 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 16    โดย Jarunee.A  วันที่ 31 มี.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ