[เล่มที่ 1] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 173
เวรัญชกัณฑวรรณนา
อธิบายบทว่า เตน เป็นต้น หน้า 173
อธิบายบทว่า สมเย เป็นต้น หน้า 174
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 1]
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 173
เวรัญชกัณฑวรรณนา (๑)
บัดนี้ ข้าพเจ้าจักทําการพรรณนาเนื้อความแห่งบททั้งหลาย มีบทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นอาทิ เพราะได้กล่าวไว้แล้วว่า
จักทําการพรรณนาอรรถแห่งวินัย แสดงเนื้อความแห่งปาฐะว่า เตน เป็นอาทิ โดยประการต่างๆ.
ข้าพเจ้าจักทําอรรถวรรณนาอย่างไรเล่า.
[อธิบายบทว่า เตน เป็นต้น]
บทว่า เตน เป็นคําแสดงออกโดยไม่เจาะจง. บัณฑิตพึงทราบปฏินิเทศแห่งบทว่า เตน นั้น ด้วยคําว่า เยน นี้ ซึ่งเป็นคําสรุปแม้ไม่กล่าวไว้ แต่สําเร็จได้โดยใจความในกาลภายหลัง. จริงอยู่ ความรําพึงของท่านพระสารีบุตร ซึ่งเป็นเหตุแห่งการทูลวิงวอนให้บัญญัติพระวินัย สําเร็จได้ในกาลภายหลัง เพราะเหตุนั้น พึงทราบสัมพันธ์ในคําว่า เตน สมเยน เป็นต้นนี้อย่างนี้ว่า ความรําพึงนั้นเกิดขึ้น โดยสมัยใด โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเสด็จประทับที่เมืองเวรัญชา.
จริงอยู่ วิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะแม้ในวินัยทั้งหมด คือคําว่า เตน ท่านกล่าวไว้ในที่ใดๆ ในที่นั้นๆ บัณฑิตพึงทําปฏินิเทศด้วยคําว่า เยน นี้ซึ่งสําเร็จโดยใจความในกาลก่อนหรือภายหลัง. อุทาหรณ์พอเป็นทางในวิธีที่เหมาะตามที่กล่าวนั้นดังนี้ ภิกษุสุทินน์เสพเมถุนธรรม เพราะเหตุใด ภิกษุ
(๑) เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี ป.ธ. ๙) วัดมกุฏกษัตริยาราม แปล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 174
ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย มีคําอธิบายว่า ภิกษุสุทินน์เสพเมถุนธรรม เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น เราจักบัญญัติ. ปฏินิเทศ ย่อมเหมาะด้วยคําว่า เยน นี้ ซึ่งสําเร็จโดยใจความในกาลก่อนอย่างนี้ก่อน. ปฏินิเทศ ย่อมเหมาะด้วยคําว่า เยน นี้ ซึ่งสําเร็จโดยใจความในภายหลัง อย่างนี้ว่า พระธนิยะ บุตรนายช่างหม้อ ได้ถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ให้ คือไม้ทั้งหลายของพระราชา โดยสมัยใด โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเสด็จอยู่ที่กรุงราชคฤห์. เนื้อความแห่งคําว่า เตน เป็นอันข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
[อธิบายบทว่า สมเยน เป็นต้น]
ส่วน สมยศัพท์ ซึ่งมีในบทว่า สมเยน นี้
ย่อมปรากฏในอรรถ ๙ อย่าง คือ สมวายะ ๑ ขณะ ๑ กาละ ๑ สมุหะ ๑ เหตุ ๑ ทิฏฐิ ๑ ปฏิลาภะ ๑ ปหานะ ๑ ปฏิเวธะ ๑ ก่อน.
จริงอย่างนั้น สมยศัพท์มีสมวายะเป็นอรรถ ในคําทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ชื่อแม้ไฉน แม้พรุ่งนี้ เราทั้งหลายพึงเข้าไปให้เหมาะกาลและความพร้อมกัน (๑) มีขณะเป็นอรรถในคําทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย
(๑) ที. สี. ๙/๒๕๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 175
ก็ขณะและสมัยเพื่ออยู่พรหมจรรย์มีหนึ่งแล (๑) มีกาละเป็นอรรถในคําทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า คราวร้อน คราวกระวนกระวาย. (๒) มีสมุหะเป็นอรรถในคําทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ประชุมใหญ่ในป่ามหาวัน. (๓) มีเหตุเป็นอรรถ ในคําทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภัททาลิ แม้เหตุแล ได้เป็นของอันท่านไม่ได้แทงตลอดแล้วว่า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล เสด็จอยู่ในกรุงสาวัตถี. แม้พระองค์จักทรงทราบเราว่า ภิกษุชื่อว่าภัททาลิ มิใช่ผู้มีปกติทําให้บริบูรณ์ด้วยสิกขาในศาสนาของพระศาสดา ดูก่อนภัททาลิ เหตุแม้นี้แล ได้เป็นของอันท่านไม่ได้แทงตลอดแล้ว (๔) มีทิฏฐิเป็นอรรถในคําทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล ปริพาชกชื่ออุคคหมานะบุตรของสมณมุณฑิกา อาศัยอยู่ในอารามของนางมัลลิกา ศาลาหลังเดียวใกล้แถวต้นมะพลับเป็นที่สอนทิฏฐิเป็นที่เรียน. (๕) มีปฏิลาภะเป็นอรรถ ในคําทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า
ประโยชน์ใด ในทิฏฐธรรมนั่นแล ด้วยประโยชน์ใด เป็นไปในสัมปรายภพด้วย นักปราชญ์ ท่านเรียกว่า บัณฑิต เพราะได้เฉพาะซึ่งประโยชน์นั้น. (๖)
มีปหานะเป็นอรรถ ในคําทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้ได้กระทําที่สุดทุกข์ เพราะละมานะโดยชอบ. (๗) มีปฏิเวธะเป็นอรรถ ในคําทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า อรรถคือความบีบคั้นแห่งทุกข์ อรรถคือข้อที่ทุกข์เป็นสังขตธรรม อรรถคือความแผดเผาแห่งทุกข์ อรรถคือความแปรปรวนแห่งทุกข์ เป็นอรรถที่ควรแทงตลอด. (๘) แต่ในที่นี้ สมยศัพท์นั้นมีกาละเป็นอรรถ เพราะ
(๑) องฺ. อฎฺฐก. ๒๓/๒๓๐.
(๒) วิ. มหา. ๒/๓๙๙.
(๓) ที. มหา. ๑๐/๒๘๗.
(๔) ม.ม. ๑๓/๑๖๕.
(๕) ม.ม. ๑๓/๓๔๒.
(๖) สํ. ส. ๑๕/๑๒๖.
(๗) องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๒๓.
(๘) ขุ. ปฏิ. ๓๑/๔๕๔.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 176
เหตุนั้น พึงเห็นเนื้อความในบทว่า เตน สมเยน นี้ อย่างนี้ว่า ความรําพึงเป็นเหตุทูลวิงวอนให้ทรงบัญญัติวินัยเกิดขึ้นแก่ท่านพระสารีบุตร โดยกาลใด โดยกาลนั้น
ในบทว่า เตน สมเยน นี้ โจทก์ท้วงว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรในวินัยนี้ จึงทํานิเทศด้วยตติยาวิภัตติว่า เตน สมเยน ไม่ทําด้วยทุติยาวิภัตติว่า เอกํ สมยํ เหมือนในสุตตันตะ และด้วยสัตตมีวิภัตติว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ เหมือนในอภิธรรมเล่า? เฉลยว่า เพราะความสมกับใจความโดยประการอย่างนั้น ในสุตตันตะและอภิธรรมนั้น และเพราะความสมกับใจความโดยประการอื่นในวินัยนี้ สมกับใจความอย่างไร? สมยศัพท์มีอัจจันตสังโยคเป็นอรรถ เหมาะในสุตตันตะก่อน. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ด้วยกรุณาวิหารตลอดที่สุดสมัยที่ทรงแสดงพระสุตตันตะทั้งหลาย มีพรหมชาลสูตรเป็นต้นทีเดียว เพราะเหตุนั้น ในสุตตันตะนั้นท่านจึงทําอุปโยคนิเทศ เพื่อส่องเนื้อความนั้น. ก็แล สมยศัพท์มีอธิกรณะเป็นอรรถ และความกําหนดภาวะด้วยภาวะเป็นอรรถ ย่อมเหมาะ ในอภิธรรม. จริงอยู่ สมยศัพท์มีกาละเป็นอรรถและมีสมุหะเป็นอรรถ เป็นอธิกรณ์แห่งธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้นที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในอภิธรรมนั้น ภาวะแห่งธรรมเหล่านั้น อันท่านย่อมกําหนดด้วยความมีแห่งสมัย กล่าวคือ ขณะ สมวายะ และเหตุ เพราะเหตุนั้น ในอภิธรรมนั้น ท่านจึงทํานิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติ เพื่อส่องเนื้อความนั้น. ส่วนในวินัยนี้ สมยศัพท์มีเหตุเป็นอรรถและมีกรณะเป็นอรรถจึงสมกัน (๑)
(๑) พระราชกวี (มานิต ถาวโร) ป.ธ. ๙ วัดสัมพันธวงศ์ แปล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 177
(๑) ก็สมัยบัญญัติสิกขาบทใดนั้น เป็นสมัยที่พระสารีบุตรเป็นต้นรู้ได้ยาก, โดยสมัยนั้น อันเป็นเหตุและกรณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบททั้งหลาย และทรงพิจารณาดูเหตุแห่งการบัญญัติสิกขาบท ได้เสด็จประทับอยู่ในที่นั้นๆ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านทํานิเทศด้วยตติยาวิภัตติในวินัยนี้ เพื่อส่องเนื้อความนั้น. ก็ในที่นี้มีคาถา (ด้วยสามารถแห่งการสงเคราะห์เนื้อความตามที่กล่าวแล้ว) ดังต่อไปนี้ว่า
เพราะพิจารณาเนื้อความนั้นๆ ท่านพระเถระทั้งหลาย จึงกล่าวสมยศัพท์ในพระสูตรและพระอภิธรรมแห่งใดแห่งหนึ่งด้วยตติยาวิภัตติและสัตตมีวิภัตติ. สมยศัพท์นั้นท่านกล่าวในพระวินัยนี้ ด้วยตติยาวิภัตติเท่านั้น.
ส่วนพระโบราณาจารย์พรรณนาไว้ว่า ความต่างกันนี้ว่า ตํ สมยํ ตลอดสมัยนั้นก็ดี ว่า ตสฺมิํ สมเย ในสมัยนั้นก็ดี ว่า เตน สมเยน โดยสมัยนั้นก็ดี แปลกกันแต่เพียงถ้อยคํา. ในทุกๆ บทมีสัตตมีวิภัตติเท่านั้นเป็นอรรถ. เพราะฉะนั้น ตามลัทธิของพระโบราณาจารย์นั้น แม้เมื่อท่านกล่าวคําว่า เตน สมเยน แปลว่า โดยสมัยนั้น ก็พึงเห็นความว่า ตสฺมิํ สมเย แปลว่า ในสมัยนั้น.
ข้าพเจ้าจักพรรณนาอรรถแห่งบทเหล่านี้ว่า พุทฺโธ ภควา ดังนี้เป็นต้นข้างหน้า.
(๑) พระธรรมบัณฑิต (มานิต ถาวโร ป.ธ. ๙) วัดสัมพันธวงศ์ แปล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 178
[อรรถาธิบายคําว่า เวรญฺชายํ วิหรติ]
ก็พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า เวรญฺชายํ วิหรติ นี้ ดังต่อไปนี้ :- คําว่า เวรญฺชายํ นี้ เป็นชื่อเมืองใดเมืองหนึ่ง. ในเมืองเวรัญชานั้น. คําว่า เวรญฺชายํ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้. คําว่า วิหรติ เป็นการแสดงถึงความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรมเครื่องอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาธรรมเครื่องอยู่ คือ อริยาบถวิหาร ทิพพวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร โดยไม่แปลกกัน. แต่ในที่นี้แสดงถึงการประกอบด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอิริยาบถมีประเภท คือ การยืน การเดิน การนั่ง และการนอน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ก็ดี เสด็จดําเนินไปก็ดี ประทับนั่งอยู่ก็ดี บรรทมอยู่ก็ดี บัณฑิตพึงทราบว่า เสด็จประทับอยู่ทั้งนั้น. จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบําบัดความลําบากแห่งอิริยาบถอย่างหนึ่งด้วยอิริยาบถอีกอย่างหนึ่ง ทรงนํา คือทรงยังอัตตภาพให้เป็นไปมิให้ทรุดโทรม เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า เสด็จประทับอยู่.
[อรรถาธิบายคําว่า นเฬรุปุจิมนฺทมูเล เป็นต้น]
พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า นเฬรุปุจิมนฺทมูเล นี้ ดังต่อไปนี้ :-
ยักษ์ชื่อ นเฬรุ. ต้นสะเดาชื่อว่า ปุจิมันทะ. บทว่า มูลํ แปลว่าที่ใกล้. จริงอยู่ มูลศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในรากเหง้า ในคําทั้งหลายมีอาทิเช่นว่า พึงขุดรากเหง้าทั้งหลาย โดยที่สุดแม้เพียงแฝกและอ้อ. ในเหตุอันไม่ทั่วไปในคํามีอาทิว่า ความโลภ เป็นอกุศลมูล. ในที่ใกล้ ในคําทั้งหลายมีอาทิว่า เงาย่อมแผ่ไปในเวลาเที่ยง, ใบไม้ทั้งหลายย่อมตกไปในเวลาปราศจากลม ได้เพียงใด ด้วยที่เพียงเท่านี้ ชื่อว่ารุกขมูล (โคนต้นไม้). แต่ในบทว่า มูเล นี้ ท่านประสงค์เอาที่ใกล้. เพราะฉะนั้น พึงเห็นใจความในคํานี้ อย่างนี้ว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 179
ที่ใกล้ต้นไม้สะเดาอันนเฬรุยักษ์สิงแล้ว. ได้ยินว่า ต้นสะเดานั้นน่ารื่นรมย์ น่าเลื่อมใส ทําท่าเหมือนเป็นเจ้าใหญ่แห่งต้นไม้มากมาย มีอยู่ในที่ซึ่งถึงพร้อมด้วยทางไปมาไม่ไกลเมืองนั้น.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปเมืองเวรัญชา เมื่อจะประทับอยู่ในสถานอันสมควร จึงประทับอยู่ ณ ที่ใกล้ คือ ส่วนภายใต้แห่งต้นไม้นั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีจึงกล่าวว่า เสด็จประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงอยู่ ใกล้เมืองเวรัญชา. หากจะมีคําทักท้วงในข้อนั้นว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เมืองเวรัญชาก่อน, คําว่า ที่โคนต้นสะเดาซึ่งนเฬรุยักษ์สิงอยู่ อันพระอุบาลีเถระไม่ควรกล่าว, ถ้าเสด็จประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดาซึ่งนเฬรุยักษ์สิงอยู่นั้น, คําว่า ที่เมืองเวรัญชา ท่านก็ไม่ควรกล่าว, เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่อาจเสด็จประทับอยู่ในสองตําบลพร้อมๆ กันโดยสมัยเดียวกันนั้นได้. แต่คําว่า เวรญฺชายํ วิหรติ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล นั้น บัณฑิตไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย, ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วมิใช่หรือว่า บทว่า เวรญฺชายํ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเสด็จประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดา ซึ่งนเฬรุยักษ์สิง ในที่ใกล้แห่งเมืองเวรัญชา พระอุบาลีเถระจึงกล่าวว่า เสด็จประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดา ซึ่งนเฬรุยักษ์สิงใกล้เมืองเวรัญชา แม้ในพระบาลีประเทศนี้ เหมือนอย่างฝูงโคทั้งหลาย เมื่อเที่ยวไปในที่ใกล้แห่งแม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น ชนทั้งหลายย่อมกล่าวว่า เที่ยวไปใกล้แม่น้ำคงคา เที่ยวไปใกล้แม่น้ำยมุนา ฉะนั้น.
[อธิบายคําว่า เวรญฺชายํ และ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล]
ในคําว่า เวรญฺชายํ วิหรติ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล นี้ บัณฑิตพึงทราบอรรถโยชนา โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า จริงอยู่ คําว่า เวรัญชา มีอัน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 180
แสดงโคจรคามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นประโยชน์. คําว่า นเฬรุปุจิมันทมูล มีอันแสดงสถานเป็นที่อยู่อันสมควรแก่บรรพชิตเป็นประโยชน์. ท่านพระอุบาลีเถระแสดงการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทําการอนุเคราะห์พวกคฤหัสถ์ ในบรรดาคําระบุทั้งสองนั้น ด้วยคําระบุว่า เวรัญชา แสดงการที่ทรงอนุเคราะห์บรรพชิต ด้วยคําระบุว่า นเฬรุปุจิมันทมูล.
อนึ่ง แสดงความเว้นอัตตกิลมถานุโยค เพราะการรับปัจจัย ด้วยคําระบุต้น, แสดงอุทาหรณ์แห่งอุบาย ในการเว้นกามสุขัลลิกานุโยค เพราะละวัตถุกามเสีย ด้วยคําระบุหลัง. อนึ่ง แสดงการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบยิ่งด้วยธรรมเทศนา ด้วยคําระบุต้น, แสดงการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงน้อมไปเพื่อวิเวก ด้วยคําระบุหลัง. แสดงการที่พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยพระกรุณา ด้วยคําระบุต้น, แสดงการที่ทรงประกอบด้วยพระปัญญา ด้วยคําระบุหลัง. แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงน้อมพระทัยไป ในอันยังหิตสุขให้สําเร็จแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยคําระบุต้น, แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เข้าไปติดในการทําหิตสุขแก่สัตว์อื่น ด้วยคําระบุหลัง. แสดงการที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอยู่สําราญมีการไม่สละสุข ซึ่งประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องหมาย ด้วยคําระบุต้น, แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอยู่สําราญ มีความตามประกอบในอุตริมนุสธรรมเป็นเครื่องหมาย ด้วยคําระบุหลัง. แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มากด้วยอุปการะแก่มนุษย์ทั้งหลาย ด้วยคําระบุต้น, แสดงข้อที่พระองค์เป็นผู้มากด้วยอุปการะแก่เทวดาทั้งหลาย ด้วยคําระบุหลัง. แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้วเจริญพร้อมในโลกด้วยคําระบุต้น, แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เข้าไปติดอยู่ในโลก ด้วยคําระบุหลัง. ด้วยคําระบุต้น แสดงการที่พระองค์ทรงยังประโยชน์เป็นที่เสด็จ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 181
อุบัติให้สําเร็จเรียบร้อย ตามพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเอกเมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, บุคคลเอก คือบุคคลชนิดไหน คือพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (๑) ด้วยคําระบุหลัง แสดงความอยู่สมควรแก่สถานที่เสด็จอุบัติ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติในป่าเท่านั้น ด้วยความอุบัติทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ คือ ครั้งแรกที่ลุมพินีวัน ครั้งที่สองที่โพธิมณฑล ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงแสดงที่อยู่ของพระองค์ในป่าทั้งนั้น.
[อธิบายคําว่า มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธิํ]
พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธิํ นี้ต่อไป บทว่า มหตา มีความว่า ใหญ่ด้วยความเป็นผู้มีคุณใหญ่บ้าง ใหญ่ด้วยความเป็นผู้มีจํานวนมากบ้าง. จริงอยู่ ภิกษุสงฆ์นั้น ได้เป็นใหญ่ด้วยคุณทั้งหลายบ้าง เพราะเหตุว่า ภิกษุผู้มีคุณล้าหลัง ในภิกษุสงฆ์นั้น ได้เป็นพระโสดาบันบุคคล ได้เป็นใหญ่ด้วยจํานวนบ้าง เพราะมีจํานวนห้าร้อย. หมู่แห่งภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าภิกษุสงฆ์. ด้วยภิกษุสงฆ์นั้น. อธิบายว่า ด้วยหมู่สมณะผู้ทัดเทียมกันด้วยคุณ กล่าวคือความเป็นผู้มีทิฏฐิและศีลเสมอกัน. บทว่า สทฺธิํ คือโดยความเป็นพวกเดียวกัน. คําว่า ปญฺจมตฺเตหิ ภิกฺขุสเตหิ มีวิเคราะห์ว่า จํานวน ๕ เป็นประมาณของภิกษุเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปัญจมัตตา. ประมาณท่านเรียกว่า มัตตา. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความแม้ในบาลีประเทศนี้อย่างนี้ว่า ร้อยแห่งภิกษุเหล่านี้ มีจํานวน ๕ คือมีประมาณ ๕ เหมือนอย่างเมื่อท่านกล่าวว่า โภชเน มตฺตญฺญู ย่อมมีอรรถว่า รู้จํานวน
(๑) องฺ. ติก. ๒๐/๒๘.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 182
คือรู้จักประมาณในโภชนะฉะนั้น. ร้อยแห่งภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ภิกฺขุสตานิ. ด้วยร้อยแห่งภิกษุ ซึ่งมีประมาณห้าเหล่านั้น. ในคําที่พระเถระกล่าวว่า มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ นี้ เป็นอันท่านแสดงความที่ภิกษุสงฆ์ใหญ่นั้น เป็นผู้ใหญ่ด้วยจํานวน ด้วยคําว่า ปญฺจมตฺเตหิ ภิกฺขุสเตหิ นี้. ส่วนความที่ภิกษุสงฆ์นั้น เป็นผู้ใหญ่ด้วยคุณ จักมีแจ้งข้างหน้าด้วยคําว่า ดูก่อนสารีบุตร ก็ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสี้ยนหนาม หมดโทษ ปราศจากความด่างดํา หมดจดดี ตั้งอยู่แล้วในธรรมอันเป็นสาระ, เพราะว่าบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ ภิกษุผู้ที่มีคุณล้าหลัง ก็ได้เป็นพระโสดาบันบุคคล ดังนี้.
[อธิบายคําว่า อสฺโสสิ โข เป็นต้น]
พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า อสฺโสสิ โข เวรญฺโช พฺราหฺมโณ ดังต่อไปนี้ : -
บทว่า อสฺโสสิ ความว่า ฟัง คือ ได้ฟัง ได้แก่ ได้ทราบตามทํานองแห่งเสียงของคําพูดที่ถึงโสตทวาร. ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาตลงในอรรถเพียงทําบทให้เต็ม หรือลงในอรรถแห่งอวธารณะ. บรรดาอรรถทั้งสองนั้น ด้วยอรรถแห่งอวธารณะ พึงทราบใจความดังนี้ว่า ได้ฟังจริงๆ อันตรายแห่งการฟังอะไรๆ มิได้มีแก่พราหมณ์นั้น. ด้วยอรรถว่าทําบทให้เต็ม พึงทราบว่า เป็นเพียงความสละสลวยแห่งบทและพยัญชนะเท่านั้น. พราหมณ์ผู้เกิดในเมืองเวรัญชา ชื่อว่าเวรัญชะ. พราหมณ์มีในเมืองเวรัญชา ชื่อว่าเวรัญชะ. อีกอย่างหนึ่ง เมืองเวรัญชาเป็นที่อยู่ของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้นพราหมณ์นั้น จึงชื่อว่าเวรัญชะ. แต่ว่าพราหมณ์นี้ ชาวเมืองเรียกว่า อุทัย ด้วยอํานาจชื่อที่มารดาบิดาตั้งให้. ผู้ใดย่อมสาธยายพระเวท อธิบายว่า สาธยาย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 183
มนต์ทั้งหลาย เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่าพราหมณ์. จริงอยู่ คําว่า พราหมณ์ นี้แล เป็นคําเรียกพวกพราหมณ์ โดยชาติ. แต่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านเรียกว่าพราหมณ์ เพราะความเป็นผู้มีบาปอันลอยเสียแล้ว.
[อธิบายเรื่องที่พราหมณ์ได้ฟัง]
บัดนี้ พระอุบาลีเถระเมื่อจะประกาศเรื่องที่เวรัญชพราหมณ์ได้ฟัง จึงได้กล่าวคํามีว่า สมโณ ขลุ โภ โคตโม เป็นต้น. ในคํานั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าสมณะ เพราะเป็นผู้มีบาปสงบแล้ว. ข้อนี้ สมจริงดังคําที่พระองค์ตรัสไว้ว่า เราเรียกบุคคลว่าเป็นพราหมณ์ เพราะมีบาปอันลอยเสียแล้ว ว่าสมณะ เพราะความเป็นผู้มีบาปอันสงบแล้ว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า จัดว่าเป็นผู้มีบาปอันอริยมรรคอย่างยอดเยี่ยมให้สงบแล้ว. เพราะฉะนั้น พระนาม คือ สมณะนี้ พระองค์ทรงบรรลุแล้ว ด้วยคุณตามเป็นจริง.
บทว่า ขลุ เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ได้ฟังมา.
คําว่า โภ เป็นเพียงคําร้องเรียกที่มาแล้วโดยชาติ แห่งเหล่าชนผู้มีชาติเป็นพราหมณ์. แม้ข้อนี้ ก็สมจริงดังคําที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ชื่อว่า โภวาที (ผู้มีวาทะว่าเจริญ) ผู้นั้นแล ยังมีกิเลสเครื่องกังวล. ด้วยคําว่า โคตโม นี้ เวรัญชพราหมณ์ ทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยอํานาจแห่งพระโคตร. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงเห็นใจความ ในคําว่า สมโณ ขลุ โภ โคตโม นี้ อย่างนี้ว่า ได้ยินว่า พระสมณโคตมโคตร ผู้เจริญ. ส่วนคําว่า สกฺยปุตฺโต นี้แสดงถึงตระกูลอันสูงส่งของพระผู้มีพระภาคเจ้า. คําว่า สกฺยกุลา ปพฺพชิโต แสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวช
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 184
ด้วยศรัทธา. มีคําอธิบายว่า พระองค์มิได้ถูกความเสื่อมอะไรๆ ครอบงํา ทรงละตระกูลนั้น อันยังไม่สิ้นเนื้อประดาตัวเลยแล้วทรงผนวชด้วยศรัทธา. คําอื่นจากนั้นมีอรรถอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วแล.
ทุติยาวิภัตติอันมีอยู่ในบทว่า ตํ โข ปน นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถที่กล่าวถึงอิตถัมภูต. ความว่า ก็ (กิตติศัพท์อันงาม) ของพระโคดมผู้เจริญนั้นแล (ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า ... )
บทว่า กลฺยาโณ คือประกอบด้วยคุณอันงาม อธิบายว่า ประเสริฐ. เกียรตินั้นเอง หรือเสียงกล่าวชมเชย ชื่อว่า กิตติศัพท์.