ปัญญาจำปรารถนาในที่ทั้งปวง หมายความว่าอย่างไร
ในพระไตรปิฎกและอรรถกถามีแสดงว่า สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง ดังข้อความจากอรรถกถาทีฆนิกายและมัชฌิมนิกายดังนี้.......คำว่า มีสติ คือประกอบด้วยสติกำกับกาย. ก็ภิกษุรูปนี้กำหนดอารมณ์ ด้วยสติพิจารณาเห็นด้วยปัญญา ธรรมดาว่าปัญญาพิจารณาเห็นของผู้เว้นจากสติ ย่อมมีไม่ได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าสติแลจำปรารถนาในที่ทั้งปวง
...เพราะฉะนั้น สตินั้น จึงจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง เหมือนการปรุงรสด้วยเกลือจำปรารถนาในการปรุงอาหารทุกอย่าง และเหมือนอำมาตย์ผู้ชำนาญในราชกิจทุกอย่าง จำปรารถนาในราชกิจทุกอย่างฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง เพราะเหตุไร เพราะจิตมีสติ เป็นที่อาศัยและสติมีการอารักขา เป็นที่ปรากฏ เว้นสติเสียแล้วจะประคอง และข่มจิตไม่ได้เลย..... -------------------------------------
สำหรับความเข้าใจส่วนตัวคิดว่า ผู้ที่มีปัญญาอันอบรมดีแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลาใด
อารมณ์ไหนก็ตาม ปัญญาย่อมเกิดขึ้นกระทำกิจได้ทุกเมื่อ ไม่เว้นกาลเวลาเลยครับ
สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง
สาธุ
พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าให้มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญาประเสริฐที่สุดค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
" ปัญญาจำปรารถนาในที่ทั้งปวง "
คงเป็นไปไม่ได้หรอกค่ะ เพราะแม้แต่พระอรหันต์ บางครั้งก็ยังไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย
แต่สติ....จำปรารถนาในที่ทั้งปวง เพราะสติเป็นสภาพธรรมที่เป็นปฎิปักษ์กับอกุศลค่ะ
กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านครับ
สติเป็นเจตสิกฝ่ายดี ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นก็มีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอส่วนปัญญาเป็นสภาพธรรมฝ่ายดี ขณะใดที่กุศลจิตมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอ แต่ในบางครั้งก็มีปัญญาเกิดร่วมด้วย ดังนั้นบางครั้งก็ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย ดังนั้นสติจึงจำปรารถนาในที่ทั้งปวง แต่ไม่ใช่ปัญญาจำปรารถนาในที่ทั้งปวง
อีกนัยหนึ่งโดยนัยการเจริญวิปัสสนา (สติปัฏฐาน) ขณะใดที่สติปัฏฐานเกิด ปัญญา ทำหน้าที่เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา แต่เมื่อมีปัญญาเห็นอย่างนั้นแล้ว จะไม่มีสติเป็นไปไม่ได้ สติทำหน้าที่ระลึกในลักษณะของสภาพธรรมนั้นเพราะความที่เว้นสติไมได้เลยในการเห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ดังนั้นจึงชื่อว่าสติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 352 บทว่า สติมา ความว่า ผู้ประกอบด้วยสติกำหนดที่กาย. ก็เพราะภิกษุนี้ กำหนด อารมณ์ด้วยสติแล้ว จึงพิจารณาเห็นด้วยปัญญา. แต่ธรรมดาว่า การพิจารณาเห็น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุ ผู้เว้นสติ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลเรากล่าวสติว่า จำปรารถนาในที่ทั้งปวง. อีกนัยหนึ่ง สติเป็นสภาพธรรมเครื่องรักษา รักษาให้เป็นไปในกุศลธรรม กั้นกระแสอกุศลธรรมไม่ว่าอยู่ในที่ไหน เวลาใด สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง ย่อมเกิดรักษาจิตให้เป็นในกุศลและกั้นกระแสอกุศลในขณะนั้น ในที่ทุกสถานแต่ปัญญาไมได้เกิดขึ้นเสมอไป เพราะฉะนั้นสติจึงจำปรารถนาในที่ทั้งปวง
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ