ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ใด เมื่อก่อนประมาท ภายหลังผู้นั้นไม่ประมาท
เขาย่อมยังโลกนี้ให้สว่างดังพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น
ผู้ใดทำกรรมอันเป็นบาปแล้ว ย่อมปิดเสียได้ด้วยกุศล
ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น
ภิกษุใดแล ยังเป็นหนุ่ม ย่อมขวนขวายในพระพุทธศาสนา
ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง
ดุจพระจันทร์ซึงพ้นแล้วจากเมฆฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๑๕๐
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง
ชีวิตที่มีความเห็นถูก จะคิดทำแต่สิ่งที่ดีงาม
ชีวิตที่มีความเห็นถูก
ลืมดูโลกภายใน [ชนสันธชาดก]
ดูโลกภายนอก แต่ลืมดูตนเอง คือ โลกภายใน ขณะที่ไม่พอใจ ขุ่นเคือง วิพากย์วิจารณ์ หรือกำลังติ ขณะนั้นจิตอะไร ต้องเป็นจิตซึ่งรู้ยาก แต่คุ้นเคยกับโลกภายนอก เพราะฉะนั้น ไม่ควรลืมว่า ถ้าไม่มีโลกภายใน คือ จิต โลกภายนอก หรือสิ่งต่างๆ เหล่านั้นก็เกิดขึ้นไม่ได้เลย
สิ่งที่ควรพิจารณา คือ ไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิด ย่อมมีแน่นอนสำหรับบุคคลผู้ที่กระทำความผิด จะมากหรือน้อยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ตัวเราเองก็เช่นเดียวกัน, เวลาที่ตนเองทำความผิด ได้ผิดพลาดพลั้งไป ก็อยากจะให้คนอื่นเขาเข้าใจ และเห็นใจ คนอื่นๆ ที่เป็นแบบเราก็มีความต้องการอย่างนี้เช่นเดียวกัน แต่เวลาคนอื่นทำความผิด ได้ผิดพลาดพลั้งไปนั้น เรามักจะลืมให้อภัยเขา ลืมเข้าใจเขา พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเป็นเครื่องเตือนที่ดีอยู่เสมอ เพราะ พระองค์ไม่เคยสอนให้เกิดอกุศลเลยแม้แต่น้อย แม้ในบุคคลผู้กระทำความผิด ก็ไม่ควรโกรธเพราะเหตุว่า บุคคลผู้ควรแก่การโกรธ ไม่มี
เรามักจะลืมให้อภัยเขา
"ชีวิตของคนเรา จะเหลือเวลาสำหรับมีโอกาสทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นอีกนานเท่าใด"
ขณะที่ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นนั้น ขณะนั้นก็เป็นประโยชน์ตน ด้วยเพราะเป็นกุศลธรรม ไม่เบียดเบียนใครๆ ทั้งสิ้น ประโยชน์สูงสุดของการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูก เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง เป็นสำคัญ ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น
ขณะที่ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น ขณะนั้นก็เป็นประโยชน์ตน
ไม่ว่าจะได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ในส่วนใดก็ตาม ทั้งหมดทั้งปวงนั้นก็เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง และเพื่อความไม่ประมาทในชีวิต เพราะเหตุว่า ในที่สุดแล้วทุกคนก็จะต้องตาย แต่ก่อนที่จะตาย ซึ่งก็ไม่สามารถจะรู้ได้ว่าเป็นวันใดเวลาใด นั้น ก็ควรที่จะได้ประโยชน์จากการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ให้มากที่สุด แสวงหาสิ่งที่เป็นสาระให้กับชีวิตให้มากที่สุดประโยชน์หรือสาระที่ว่านั้น ได้แก่ ความเข้าใจพระธรรมตามความเป็นจริง อันเกิดจากการฟัง การศึกษาพระธรรมในชีวิตประจำวันซึ่งจะต้องสะสมเป็นที่พึ่งต่อไป พร้อมกับน้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม เป็นคนดีควบคู่ไปกับการฟังพระธรรม จนกว่าจะถึงการดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาดในที่สุด ซึ่งจะต้องอาศัยกาลเวลาอันยาวนานในการอบรมเจริญปัญญา
ควรได้ประโยชน์ จากการเกิดเป็นมนุษย์
นาม คือ สภาพที่น้อมไปสู่อารมณ์ คือ สภาพที่รู้อารมณ์ เมื่อเป็นนามธรรมที่เกิด ที่จะไม่รู้อารมณ์นั้นไม่มี
แนวทางเจริญวิปัสสนา
เพราะฉะนั้นบัญญัติธรรมคืออะไร บัญญัติธรรมก็คือเรื่องราวที่จิตคิดนึกไปต่างๆ ขณะใดที่จิตไม่มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ ขณะนั้นจิตมีบัญญัติเป็นอารมณ์
ปรมัตถธรรมมี ๔ คือ ๑. จิต ๒. เจตสิก ๓. รูป ๔. นิพพาน เพราะฉะนั้นขณะใดที่จิตไม่มีปรมัตถธรรม ๔ เป็นอารมณ์ ขณะนั้นจิตมีบัญญัติเป็นอารมณ์
และในวันหนึ่งๆ จะทราบโดยสติระลึกว่า ขณะใดมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ และขณะใดมีบัญญัติเป็นอารมณ์ แต่ ถ้าสติไม่เกิด บัญญัติธรรมและปรมัตถธรรมก็ปนกัน ยากที่จะรู้ชัดได้จริงๆ ว่า ในขณะนี้กำลังมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ หรือว่ากำลังมีบัญญัติเป็นอารมณ์
แนวทางเจริญวิปัสสนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ถ้าไม่ได้ฟังธรรม ก็ไม่รู้ความจริงอะไรเลย
เห็นมีจริงเพียงสักว่าให้เป็นที่ระลึกแล้วหมดไป ทุกอย่างที่มีจริงถ้าไม่ระลึกก็ไม่รู้ แล้วก็ดับไปไม่กลับมาอีกเลย โดยที่ไม่รู้อะไรเลยตลอดทั้งชีวิต ตลอดชาติ หรือ หลายชาติ แต่ถ้าได้ฟังธรรมเริ่มเข้าใจ ก็เป็นปัจจัยให้รู้ความจริงได้ในอนาคต ซึ่งอนาคตต้องมีปัจจัยมาจากปัจจุบันขณะนี้
ถ้าไม่ได้ฟังธรรม ก็ไม่รู้ความจริงอะไรเลย [ชนสันธชาดก]
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง
ยินดีในกุศลจิตครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ