จากแนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม 191 หน้า 43 บรรทัดที่ 15
" อนึ่ง ชื่อว่าขันตินี้ เป็นอาวุธไม่เบียดเบียนคนดี ในเพราะสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ......................เป็นสาครเพราะอาศัยความลึกซึ้ง เป็นฝั่งของมหาสาครคือโทสะ เป็นบานประตูปิดประตูอบาย....................."
...............................
เป็นฝั่งของมหาสาครคือโทสะ ......ทำไมเปรียบโทสะ (หรือว่าอโทสะ?)
เป็นฝั่งของมหาสาครครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความในคำบรรยายท่านของอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่อ้างอิงจากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก ปกิณณกกถา ประโยคที่ว่า ขันติ (ความอดทน) เป็นฝั่งของมหาสาครคือโทสะ นั้น ถูกต้องแล้ว เทียบเคียงกับพยัญชนะภาษาบาลี ก็แปลตรง ถูกต้อง ทีนี้ก็ต้องเข้าใจว่า ฝั่ง ในที่นี้ หมายถึง ที่กั้น ส่วน สภาพที่เป็นโทสะ นั้น เป็นอกุศล มีมาก ลึก จึงเปรียบเหมือนกับมหาสาคร ดังนั้น สภาพธรรมที่กั้นหรือป้องกันไม่ให้โทสะเกิดขึ้นเป็นไปมากได้ ก็คือ ขันติ ความอดทน นั่นเอง จึงตรงกับข้อความที่ว่า ขันติ คือ ความอดทน เป็นฝั่งของมหาสาครคือโทสะ เพราะเหตุว่า ธรรมดาของมหาสาคร ก็ไม่ล้นฝั่ง ครับ
...ยินดีในกุศลของทุกๆ ท่าน และขอบพระคุณคุณทรงศักดิ์ด้วยครับ...
เข้าใจแล้วครับ ...
ขันติ เป็น ฝั่งของมหาสาคร
โทสะ เป็น มหาสาคร
และยังเปรียบ ขันติ เป็น สาครเพราะอาศัยความลึกซึ้ง จากข้อความข้างหน้า เป็นการเปรียบกับ สาคร ใน2 ความหมาย เป็นการใช้ถ้อยคำที่ลึกซึ้งและไพเราะมากครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ