อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 187
อภิธัมมัตถสังคหบาลีแปล *
ปริเฉทที่ ๕ [ชื่อวิถีมุตตสังคหวิภาค] [สังคหคาถา]
สังคหะที่ชื่อว่าปวัติสังคหะ ซึ่งข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในปวัติกาล ด้วยอำนาจแห่งวิถีจิตอย่างนั้น บัดนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าว ในปฏิสนธิกาล (คือในเวลาปฏิสนธิ) ฯ [หมวด ๔ มีภูมิ ๔ เป็นต้น] ในวิถีมุตตสังคหะ (คือการสงเคราะห์จิตที่พ้นจากวิถี) บัณฑิตพึงทราบจตุกกะ ๔ หมวด ดังนี้ คือ ภูมิ ๔ ปฏิสนธิ ๔ กรรม ๔ความเกิดแห่งมรณะ ๔ ฯ บรรดาจตุกกะ ๔ หมวดเหล่านั้น ชื่อว่าวิสัย ภูมิแห่งเปรต ๑ อสุรกาย พวกอสุระ ๑ ฯ กามสุคติภูมิมี ๙ คือ มนุสสา พวกมนุษย์ ๑ อาจถมมหาราชิกา เทวดาผู้อยู่ในชั้นจาตุม- มหาราช ๑ ตาวติงสา เทวดาชั้นดาวดึงส์ ๑ ยามา เทวดาชั้นยามะ ๑ตุสิตา เทวดาชั้นดุสิต ๑ นิมามานรดี เทวาดชั้นนิมารดี ๑ ปรนิม-มิตวสวัดดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัดดี " ฯ
อนึ่ง การมสุคติภูมินี้นั้น แม้มีตั้ง ๑๑ อย่าง ก็ถึงความสงเคราะห์เข้าในคำว่า "กามาวจรภูมิ" นั่นเอง ฯ รูปาวจรภูมิมี ๑๖ชั้น คือ ภูมิแห่งทุติยฌาน (มี ๓ ชั้น) คือ ปริตตาภา ๑ อัปปมาณภา ๑อาภัสสรา ๑ ฯ ภูมิแห่งตติยฌาน (มี ๓ ชั้น) คือ ปริตตสุภา ๑ อัปปมาณสุภา ๑ สุภกิณหา ๑ ฯ และภูมิแห่งจตุตถฌาน (มี ๓ ชั้น) คือ เวหัปผลา ๑ อสัญญี-สัตตา ๑ สุทธาวาสา ๑ ฯ ภูมิแห่งสุทธาวาส (คือภพที่อยู่แห่งท่านผู้บริสุทธิ์) มี ๕ ชั้นคือ อวิหา ๑ อตัปปา ๑ สุทัสสา ๑ สุทัสสี ๑ อกนิฏฐา ๑ ฯ ภูมิแห่งอรูปาวจรมี ๔ ชั้น คือ ภูมิแห่งอากาสานัญจายตนะ ๑ ภูมิแห่งวิญญาณัญจายตนะ ๑ ภูมิแห่งอากิญจัญญายตนะ ๑ ภูมิแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ ๑ ฯ ฯลฯ
[กำหนดอายุอบายและอายุเทวดา เป็นต้น]
บรรดาบุคคลหรืออบายเป็นต้นเหล่านั้น การกำหนดนับประมาณแห่งอายุของพวกอบาย ๔ ของพวกมนุษย์ และของพวกวินิปาติกาสูรย่อมไม่มี ฯ อนึ่ง ๕๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณแห่งอายุของเหล่าเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา โดยการนับปีของมนุษย์ได้ประมาณ ๙ ล้านปี ฯจากนั้นเอา ๔ คูณ เป็นประมาณแห่งอายุของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์,จากนั้นเอา ๔ คูณ เป็นประมาณแห่งอายุของเหล่าเทวดาชั้นยามะ,จากนั้นเอา ๔ คูณ เป็นประมาณแห่งอายุของเหล่าเทวดาชั้นดุสิต,จากนั้นเอา ๔ คูณ เป็นประมาณแห่งอายุของเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี,และเอา ๔ คูณต่อจากนั้นไปอีก เป็นประมาณแห่งอายุของเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ฯ
[สังคหคาถา]
ภูมิ มี ๔ คือ อบายภูมิ ภูมิแห่งอบาย ๑ กามสุคติภูมิ ภูมิแห่งสุคติที่ปรารภกาม ๑ รูปาวจารภูมิ ภูมิที่เป็นรูปาวจร ๑ อรูปาวจรภูมิภูมิที่เป็นอรูปาวจร ๑ ฯ บรรดาภูมิ ๔ เหล่านั้น อบายภูมิมี ๔คือ นิรยะ นรก ๑ ติรัจฉานโยนิ กำเนินสัตว์ดิรัจฉาน ๑ ปิตติ-ฯลฯ บรรดากรรม ๔ อย่างเหล่านี้ อกุศลกรรมที่เว้นจากอุทธัจจะย่อมให้เกิดปฏิสนธิ ในอบายภูมิ ฯ ส่วนในปวัติกาล อกุศลกรรม๑๒อย่าง แม้ทั้งหมด ย่อมเผล็ดอกุศลวิบาก ๗ ในกามโลกแม้ทั้งหมดและในอรูปโลกตามสมควร ฯ แม้กามาวจรกุศล ย่อมเกิดปฏิสนธิในกาม-สุคติอย่างเดียว ฯ อนึ่ง ในปวัติกาล ก็ย่อมเผล็ดมหาวิบาก และอเหตุวิบากทั้ง ๘ ในกามโลกแม้ทั้งหมด และในรูปโลกตามสมควร ฯบรรดากุศลกรรมที่ให้ผลอยู่แม้นั้น ติเหตุกกุศลกรรมอย่างสูง ให้ติเหตุกปฏิสนธิแล้ว ย่อมเผล็ดวิบาก ๑๖ อย่างในปวัติกาล, ติเหตุกกุศลกรรมอย่างต่ำ และทวิเหตุกกุศลกรรมอย่างสูง ให้ทวิเหตุกปฏิสนธิแล้วย่อมเผล็ดวิบาก ๑๒ อย่าง ที่เว้นจากติเหตุกกรรม ในปวัติกาล ฯส่วนทวิเหตุกกุศลกรรมอย่างต่ำ ให้ปฏิสนธิที่เป็นอเหตุกะอย่างเดียวและย่อมเผล็ดเฉพาะอเหตุกวิบากในปวัติกาลเท่านั้น ฯ
ขอเรียนถามดังนี้
1.จากข้อความที่ว่า อกุศลกรรม ๑๒ อย่าง แม้ทั้งหมด ย่อมเผล็ดอกุศลวิบาก ๗ ในกามโลกแม้ทั้งหมดและในอรูปโลกตามสมควร ฯ นั้น เหตุใดท่านจึงไม่กล่าวถึง รูปพรหมโลก อนึ่งผมเข้าใจว่า อกุศลกรรมไม่มีโอกาสให้ผล ในพรหมโลก (อ้างอิง อสังขาสูตร)
2. จากข้อความที่ว่า บรรดากรรม ๔ อย่างเหล่านี้ อกุศลกรรมที่เว้นจากอุทธัจจะย่อมให้เกิดปฏิสนธิ ในอบายภูมิ ฯ นั้น กรรม 4 อย่าง คืออะไรบ้าง อนึ่ง หาก มรณาสันนวิถี เป็นอกุศลจิตที่มีอุทธัจจะ อะไรจะนำเกิด
ขอบพระคุณครับ
๑. ที่ถูกต้องเป็นรูปพรหมซึ่งมีโอกาสเกิดได้
๒. กรรม ๔ หมายถึงกรรมด้วยอำนาจแห่งลำดับการให้ผลนำเกิด คือ ครุกรรม ๑ อาสันนกรรม ๑ อาจิณณกรรม ๑ กตัตตากรรม ๑ ท่านเว้นโมหอุจธัจจะที่เหลือ ๑๑ นำเกิดได้ครับ
ขออนุโมทนาครับ