ลักษณะ อวิชชา ๒๕ อย่าง
โดย pirmsombat  26 พ.ย. 2550
หัวข้อหมายเลข 5674

[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๔๖๑

อวิชชามีลักษณะ ๒๕ คือ

ปัญญา ชื่อว่า ญาณ ปัญญานั้น ย่อมกระทำสัจจธรรม ๔ ซึ่งเป็นผลและเป็นผล ซึ่งเป็นเหตุและเป็นเหตุ ที่รู้แล้วให้ปรากฏ แต่อวิชชานี้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันกระทำสัจจธรรม ๔ นั้น ให้รู้ ให้ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัญญาณ (ความไม่รู้) เพราะเป็นข้าศึกต่อญาณ

ปัญญา ชื่อว่า ทัสสนะ (ความเห็น) ก็มี ปัญญาแม้นั้นย่อมเห็นซึ่งอาการแห่งสัจจธรรม ๔ ตามที่กล่าวนั้น แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่อเห็นสัจจธรรม ๔ นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อทัสสนะ

ปัญญา ชื่อว่า อภิสมัย (ความตรัสรู้) ก็มี ปัญญานั้น ย่อมตรัสรู้อาการแห่งสัจจธรรม ๔ ตามที่กล่าวนั้น แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่อตรัสรู้อริยสัจจะ ๔ นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนภิสมัย

ปัญญา ชื่อว่า อนุโพธะ (ความตรัสรู้ตาม) สัมโพธะ (ความตรัสรู้พร้อม) ปฏิเวธะ (การแทงตลอด) ก็มี ปัญญานั้น ย่อมตรัสรู้ตาม ย่อมตรัสรู้พร้อม ย่อมแทงตลอดอาการแห่งสัจจธรรม ตามที่กล่าวแล้วนั้น แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่อตรัสรู้ตาม เพื่อตรัสรู้พร้อม เพื่อแทงตลอดสัจจธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนนุโพธะ อสัมโพธะ และ อัปปฏิเวธะ.

ปัญญา ชื่อว่า สังคาหณา (ความถือเอาถูก) ก็มี ปัญญานั้นถือเอาแล้ว ทดลองแล้ว ย่อมถือเอาอาการนั้น แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่อถือเอา ทดลองแล้วถือเอาอาการนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อสังคาหณา.

ปัญญา ชื่อว่า ปริโยคาหณา (ความหยั่งโดยรอบ) ก็มี ปัญญานั้น หยั่งลงแล้ว ชำแรกแล้วซึ่งอาการนั้น ย่อมถือเอา แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ไม่ไห้เพื่อหยั่งลง ชำแรกแล้วถือเอา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อปริโยคาหณา.

ปัญญา ชื่อว่า สมเปกขนา (ความพินิจ) ก็มี ปัญญานั้น ย่อมเพ่งอาการนั้นโดยสม่ำเสมอและโดยชอบ แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันเพ่งอาการนั้นโดยสม่ำเสมอและโดยชอบ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อสมเปกขนา

ปัญญา ชื่อว่า ปัจจเวกขณา (ความพิจารณา) ก็มี ปัญญานั้นย่อมพิจารณาอาการนั้น แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันพิจารณาอาการนั้น เพราะฉะนั้น จึงถือว่า อปัจจเวกขณา

กรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง อันประจักษ์ ย่อมไม่มีแก่อวิชชานี้ และกรรมที่ตัวเอง (คืออวิชชา) ไม่พิจารณาแล้วกระทำ มีอยู่ เพราะเหตุนั้น อวิชชานี้จึงชื่อว่า อัปปัจจักขกรรม (มีกรรมอันไม่พิจารณากระทำให้ประจักษ์)

อวิชชานี้ ชื่อว่า ทุมมิชฌะ (ความทรามปัญญา) เพราะความโฉดเฉา

อวิชชานี้ ชื่อว่า พาลยะ (ความโง่เขลา) เพราะความเป็นธรรมชาติโง่เขลา

ปัญญา ชื่อว่า สัมปชัญญะ (ความรู้ทั่วพร้อม) ก็มี ปัญญานั้นย่อมรู้ทั่วซึ่งสัจจธรรม ๔ เป็นผลและเป็นผล ที่เป็นเหตุและเป็นเหตุโดยชอบ แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันรู้ทั่วซึ่งอาการนั้นเพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อสัมปชัญญะ.

อวิชชา ชื่อว่า โมหะ (ความหลง) ด้วยอำนาจแห่งความโง่.

อวิชชา ชื่อว่า ปโมหะ (ความลุ่มหลง) ด้วยอำนาจความหลงทั่ว.

อวิชชา ชื่อว่า สัมโมหะ (ความหลงใหล) ด้วยอำนาจความหลงพร้อม

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชา ด้วยอำนาจอรรถมีอาทิว่า ย่อมรู้สิ่งที่ไม่ควรรู้

อวิชชา ชื่อว่า อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา) เพราะย่อมนำลงคือ ให้จมลงในวัฏฏะ.

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา) เพราะประกอบไว้ในวัฏฏะ

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชานุสัย (อนุสัยคืออวิชชา) ด้วยอำนาจการละยังไม่ได้ และเพราะเกิดขึ้นบ่อยๆ

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาปริยุฏฐาน (การกลุ้มรุมจิตคืออวิชชา) เพราะย่อมกลุ้มรุม ย่อมจับ ย่อมปล้นกุศลจิต เหมือนพวกโจรซุ่มในหนทางปล้นคนเดินทาง ฉะนั้น.

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาลังคี (กลอนเหล็กคืออวิชชา) เพราะอรรถว่าเมื่อลิ่ม คือกลอนเหล็กที่ประตูเมืองตกไปแล้ว ย่อมตัดขาดซึ่งการออกไปภายนอกเมือง ของพวกคนภายในเมืองบ้าง ซึ่งการเข้าไปภายในเมืองของพวกคนภายนอกเมืองบ้าง ฉันใด อวิชชานี้ตกไปในกายนครของตนแห่งบุคคลใด ย่อมตัดขาดการดำเนินไป คือ ญาณ อันให้ถึงพระนิพพานของบุคคลนั้นฉันนั้น

อวิชชา ชื่อว่า อกุศลมูล เพราะอรรถว่า อกุศลนั้นเป็นมูล หรือเพราะอรรถว่า อวิชชาเป็นมูลแห่งอกุศลทั้งหลาย ก็อกุศลมูลนั้น มิใช่อื่นในที่นี้ทรงประสงค์เอา โมหะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อกุศลมูล คือ โมหะ.

บทว่า อย วุจิจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า นี้ชื่อว่า อวิชชามีลักษณะอย่างนี้ พึงทราบลักษณะอวิชชาด้วยอำนาจบท ๒๕ ด้วยประการฉะนี้

อวิชชา ไม่ให้กระทำสัจจธรม ๔ ให้รู้ ให้ประจักษ์ จึงชื่อว่า อัญญาณ (ความไม่รู้) เพราะเป็นข้าศึกต่อญาณ อวิชชา ไม่ให้เห็นสัจจธรรม ๔ จึงชื่อว่า อทัสสนะ

อวิชชา ไม่ให้ตรัสสรู้ อริยสัจจะ ๔ จึงชื่อว่า อนภิสมัย

อวิชชา ไม่ให้ตรัสรู้ตาม ตรัสรู้พร้อม เพื่อแทงตลอดสัจจธรรมนั้น จึงชื่อว่า อนนุโพธะ อสัมโพธะ และ อัปปฏิเวธะ

อวิชชา ไม่ให้ถือเอา ทดลองแล้วถือเอาอาการนั้น จึงชื่อ อสังคาหณา

อวิชชา ไม่ให้หยั่งลง ชำแรกแล้วถือเอา จึงชื่อ อปริโยคาหณา

อวิชชา ไม่ให้เพ่งอาการนั้นโดยสม่ำสเมอ และโดยชอบ จึงชื่อว่า อสมเปกขนาอวิชชา
ชื่อว่า อัปปัจจักขกรรม (มีกรรมอันไม่พิจารณากระทำให้ประจักษ์)

อวิชชา ชื่อว่า ทุมมิชฌะ (ความทรามปัญญา) เพราะความโฉดเฉา

อวิชชา ชื่อว่า พาลยะ (ความโง่เขลา) เพราะความโง่เขลา

อวิชชา ไม่ให้รู้ทั่วซึ่ง สัจจธรรม ๔ จึงชื่อว่า อสัมปชัญญะ

อวิชชา ชื่อว่า โมหะ (ความหลง) ด้วยอำนาจแห่งความโง่

อวิชชา ชื่อว่า ปโมหะ (ความลุ่มหลง) ด้วยอำนาจความหลงทั่ว

อวิชชา ชื่อว่า สัมโมหะ (ความหลงไหล) ด้วยอำนาจความหลงพร้อม

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชา ด้วยอำนาจอรรถที่ว่า ย่อมไม่รู้สิ่งที่ควรรู้

อวิชชา ชื่อว่า อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา) เพราะให้จมลงในวัฏฏะ

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา) เพราะปะกอบไว้ไนวัฏฏะ

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชานุสัย (อนุลัยคืออวิชชา) ด้วยอำนาจการละยังไม่ได้ และเพราะเกิดขึ้นบ่อยๆ

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาปริยุฏฐาน (การกลุ้มรุมจิตคืออวิชชา) เพราะกลุ้มรุม จับ ปล้นกุศลจิต

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาลังคี (กลอนเหล็กคือลังคี) ย่อมตัดขาดการดำเนินไป คือ ญาณอันให้ถึงพระนิพพานอวิชชา ชื่อว่า อกุศลมูล เป็นมูลแห่งอกุศลทั้งหลาย คือ โมหะ



การทราบลักษณะของอวิชชา หรือ โมหะ ซึ่งเป็นมูลของอกุศลทั้งปวงรวม 25 ประการนิ้ อาจจะเกื้อกูลให้รู้ลักษณะของโมหะ และสภาพธรรมอื่นๆ มากขึ้นบ้าง



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 27 พ.ย. 2550
ขออนุโมทนา

ความคิดเห็น 2    โดย udomjit  วันที่ 27 พ.ย. 2550

อนุโมทนาค่ะ เคยได้อ่านไวพจน์ของคำว่า ปัญญา จาก web นี้มาครั้งหนึ่งแล้ว คราวนี้มีโอกาสได้รู้คำที่หมายถึงอวิชชา ไม่เคยได้รู้มาก่อนเลยว่ามีคำมากมายเพียงนี้

อนุโมทนาในความกรุณาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย orawan.c  วันที่ 30 พ.ย. 2550

ชื่อเยอะ ความหมายแยะ ตัวจริงร้ายกาจมากและรู้ยากมากทั้งๆ ที่มีเกือบตลอดเวลาที่ตื่น


ความคิดเห็น 7    โดย suwit02  วันที่ 26 พ.ค. 2551
สาธุ

ความคิดเห็น 8    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 28 พ.ค. 2551

อนุโมทนาคะ


ความคิดเห็น 9    โดย pornpaon  วันที่ 18 พ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 10    โดย วิริยะ  วันที่ 8 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 11    โดย ใหญ่ราชบุรี  วันที่ 3 พ.ค. 2557

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ


ความคิดเห็น 12    โดย orawan.c  วันที่ 9 มิ.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 13    โดย chatchai.k  วันที่ 10 ธ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


ความคิดเห็น 14    โดย ใจกลาง  วันที่ 21 มี.ค. 2564

นับยังไงก็ไม่ครบ 25 ครับ นับได้ 24


ความคิดเห็น 15    โดย chatchai.k  วันที่ 23 มี.ค. 2564

พระอภิธรรมปฎกวิภังคเลม ๒ ภาค ๑ - หนาที่ 461 - 466

อวิชชามีลักษณะ ๒๕

คือ ปญญา ชื่อวา ญาณ ปญญานั้น ยอมกระทําสัจจธรรม ๔ ซึ่งเปนผลและเปนผล ซึ่งเปนเหตุและเปนเหตุ ที่รูแลวใหปรากฏ แตอวิชชา นี้เกิดขึ้นแลว ยอมไมใหเพื่ออันกระทําสัจจธรรม ๔ นั้น ใหรู ใหปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงชื่อวา อัญญาณ (ความไมรู) เพราะเปนขาศึกตอญาณ. ปญญา ชื่อวา ทัสสนะ (ความเห็น) ก็มี ปญญาแมนั้นยอมเห็น ซึ่งอาการแหงสัจจธรรม ๔ ตามที่กลาวนั้น แตอวิชชาเกิดขึ้นแลวยอมไมให เพื่อเห็นสัจจธรรม ๔ นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อวา อทัสสนะ. ปญญา ชื่อวา อภิสมัย (ความตรัสรู) ก็มี ปญญานั้น ยอมตรัสรู อาการแหงสัจจธรรม ๔ ตามที่กลาวนั้น แตอวิชชาเกิดขึ้นแลวยอมไมใหเพื่อ ตรัสรูอริยสัจจะ ๔ นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อวา อนภิสมัย.

ปญญา ชื่อวา อนุโพธะ (ความตรัสรูตาม) สัมโพธะ (ความ ตรัสรูพรอม) ปฏิเวธะ (การแทงตลอด) ก็มี ปญญานั้น ยอมตรัสรูตาม ยอมตรัสรูพรอม ยอมแทงตลอดอาการแหงสัจจธรรม ตามที่กลาวแลวนั้น แตอวิชชาเกิดขึ้นแลวยอมไมใหเพื่อตรัสรูตาม เพื่อตรัสรูพรอม เพื่อแทงตลอด สัจจธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อวา อนนุโพธะ อสัมโพธะ และ อัปปฏิเวธะ

ปญญา ชื่อวา สังคาหณา (ความถือเอาถูก) ก็มี ปญญานั้น ถือเอาแลว ทดลองแลว ยอมถือเอาอาการนั้น แตอวิชาเกิดขึ้นแลว ยอมไมให เพื่อถือเอา ทดลองแลวถือเอาอาการนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อวา อสังคาหณา

ปญญา ชื่อวา ปริโยคาหณา (ความหยั่งโดยรอบ) ก็มี ปญญานั้น หยั่งลงแลว ชําแรกแลวซึ่งอาการนั้น ยอมถือเอา แตอวิชชาเกิดขึ้นแลว ไมไหเพื่อหยั่งลง ชําแรกแลวถือเอา เพราะฉะนั้น จึงชื่อวา อปริโยคาหณา

ปญญา ชื่อวา สมเปกขนา (ความพินิจ) ก็มี ปญญานั้น ยอม เพงอาการนั้นโดยสม่ําเสมอและโดยชอบ แตอวิชชาเกิดขึ้นแลว ยอมไมใหเพื่อ อันเพงอาการนั้นโดยสม่ําเสมอและโดยชอบ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อวา อสมเปกขนา.

ปญญา ชื่อวา ปจจเวกขณา (ความพิจารณา) ก็มี ปญญานั้น ยอมพิจารณาอาการนั้น แตอวิชชาเกิดขึ้นแลวยอมไมใหเพื่ออันพิจารณาอาการ นั้น เพราะฉะนั้น จึงถือวา อปจจเวกขณา

กรรม อยางใดอยางหนึ่ง อันประจักษ ยอมไมมีแกอวิชชานี้ และ กรรมที่ตัวเอง (คืออวิชชา) ไมพิจารณาแลวกระทํา มีอยู เพราะเหตุนั้น อวิชชานี้จึงชื่อวา อัปปจจักขกรรม (มีกรรมอันไมพิจารณากระทําให ประจักษ) .

อวิชชานี้ ชื่อวา ทุมมิชฌะ (ความทรามปญญา) เพราะความ โฉดเฉา

อวิชชานี้ ชื่อวา พาลยะ (ความโงเขลา) เพราะความเปนธรรมชาติ โงเขลา

ปญญา ชื่อวา สัมปชัญญะ (ความรูทั่วพรอม) ก็มี ปญญานั้น ยอมรูทั่วซึ่งสัจจธรรม ๔ เปนผลและเปนผล ที่เปนเหตุและเปนเหตุโดยชอบ แตอวิชชาเกิดขึ้นแลว ยอมไมใหเพื่ออันรูทั่วซึ่งอาการนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อวา อสัมปชัญญะ

อวิชชา ชื่อวา โมหะ (ความหลง) ดวยอํานาจแหงความโง.

อวิชชา ชื่อวา ปโมหะ (ความลุมหลง) ดวยอํานาจความหลงทั่ว.

อวิชชา ชื่อวา สัมโมหะ (ความหลงใหล) ดวยอํานาจความหลงพรอม.

อวิชชา ชื่อวา อวิชชา ดวยอํานาจอรรถมีอาทิวา ยอมรูสิ่งที่ไมควรรู.

อวิชชา ชื่อวา อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา) เพราะยอมนําลง คือ ใหจมลงในวัฏฏะ.

อวิชชา ชื่อวา อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา) เพราะประกอบ ไวในวัฏฏะ.

อวิชชา ชื่อวา อวิชชานุสัย (อนุสัยคืออวิชชา) ดวยอํานาจการละ ยังไมได และเพราะเกิดขึ้นบอยๆ

อวิชชา ชื่อวา อวิชชาปริยุฏฐาน (การกลุมรุมจิตคืออวิชชา) เพราะยอมกลุมรุม ยอมจับ ยอมปลนกุศลจิต เหมือนพวกโจรซุมในหนทาง ปลนคนเดินทางฉะนั้น.

อวิชชา ชื่อวา อวิชชาลังคี (กลอนเหล็กคืออวิชชา) เพราะอรรถวา เมื่อลิ้มคือกลอนเหล็กที่ประตูเมืองตกไปแลวยอมตัดขาดซึ่งการออกไปภายนอก เมือง ของพวกคนภายในเมืองบาง ซึ่งการเขาไปภายในเมืองของพวกคน ภายนอกเมืองบาง ฉันใด อวิชชานี้ตกไปในกายนครของตนแหงบุคคลใด ยอมตัดขาดการดําเนินไปคือ ญาณอันใหถึงพระนิพพานของบุคคลนั้นฉันนั้น.

อวิชชา ชื่อวา อกุศลมูล เพราะอรรถวา อกุศลนั้นเปนมูล หรือ เพราะอรรถวา อวิชชาเปนมูลแหงอกุศลทั้งหลาย. ก็อกุศลมูลนั้น มิใชอื่น ในที่นี้ทรงประสงคเอา โมหะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อวา อกุศลมูล คือ โมหะ.

บทวา อย วุจิจติ (นี้เรียกวา) ความวา พระผูมีพระภาคเจา ตรัสเรียกวา นี้ ชื่อวา อวิชชามีลักษณะอยางนี้

พึงทราบลักษณะอวิชชาดวยอํานาจบท ๒๕ ดวยประการฉะนี้ อนึ่ง อวิชชานี้มีลักษณะอยางนี้ แมตรัสวา ความไมรูในทุกข เปนตน ก็ยอมเปนสวนหนึ่งแหงทุกขสัจจะ เปนธรรมเกิดพรอมกัน ยอมกระทําทุกขสัจจะนั้นใหเปนอารมณ ยอมปกปดทุกขสัจจะนั้น. มิใชเปน สวนหนึ่งของสมุทยสัจจะ เปนธรรมเกิดพรอมกัน ยอมกระทําสมุทยสัจจะนั้น ใหเปนอารมณ ยอมปกปดสมุทยสัจจะนั้น. ไมเปนสวนหนึ่งของนิโรธสัจจะ ไมเกิดพรอมกัน ไมทํานิโรธสัจจะนั้นใหเปนอารมณ ยอมปกปดอยางเดียว. ไมเปนสวนหนึ่งแมแหงมรรคสัจจะ ไหเกิดพรอมกัน ไมทํามรรคสัจจะนั้น ใหเปนอารมณ ยอมปกปดอยางเดียว.

อวิชชายอมเกิดขึ้นเพราะความมีทุกขเปนอารมณ และยอมปกปดทุกข ที่เปนอารมณนั้น อวิชชายอมเกิดขึ้น เพราะความมีสมุทัยเปนอารมณ และ ยอมปกปดสมุทัยที่เปนอารมณนั้น อวิชชายอมไมเกิดขึ้นเพราะความมีนิโรธ เปนอารมณ และยอมปกปดนิโรธนั้น อวิชชายอมไมเกิดขึ้นเพราะความมีมรรค เปนอารมณ แตยอมปกปดมรรคนั้น.

สัจจะ ๒ ชื่อวา ลึกซึ้ง (คัมภีระ) เพราะเห็นไดโดยยาก สัจจะ ๒ ชื่อวา เห็นไดโดยยาก เพราะความเปนของลึกซึ้ง อีกอยางหนึ่ง อริยสัจคือ ทุกขนิโรธ เปนสภาพลึกซึ้งและเห็นไดโดยยาก.

บรรดาสัจจะเหลานั้น ขึ้น ชื่อวา ทุกข เปนสภาพปรากฏ แตที่ชื่อวา ลึกซึ้ง เพราะเปนลักษณะไดยาก. แมในสมุทัย ก็นัยนี้เหมือนกัน เปรียบเหมือนหนึ่ง ธรรมดาวา การกวน มหาสมุทรแลวนําเอาโอชะออกมาเปนภาระ (ของหนัก) ธรรมดาวา การขน ทรายจากเชิงเขาสิเนรุ ก็เปนภาระ ธรรมดาวา การบีบคั้นภูเขาแลวนํารสออกมา ก็เปนภาระ ฉันใด สัจจะทั้ง ๒ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชื่อวา เห็นไดยาก เพราะความเปนภาวะลึกซึ้งโดยแท แตนิโรธสัจจะทั้งลึกซึ้งอยางยิ่ง และเห็น ไดยากอยางยิ่ง เพราะฉะนั้น ความบอดคือโมหะซึ่งปกปดอริยสัจ ๔ ที่ชื่อวา ลึกซึ้ง เพราะเห็นไดยาก และชื่อวา เห็นไดยาก เพราะความลึกซึ้ง ดวยประการฉะนี้ จึงตรัสเรียกวา อวิชชา

บทวาดวยนิเทศอวิชชา จบ