* กิเลส คือ สภาพที่เศร้าหมอง ซึ่งเมื่อเกิดกับจิตขณะใด ก็จะปรุงแต่งให้จิตและเจตสิกที่เกิดร่วมกันในขณะนั้น เศร้าหมองเป็นอกุศลไปด้วย
* กิเลส มี 10 อย่าง คือ โมหะ (ความหลง ความไม่รู้) อหิริกะ (ความไม่ละอายที่จะเป็นอกุศล) อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงที่จะเป็นอกุศล) อุทธัจจะ (ความไม่สงบ) โลภะ (ความติดข้อง) มานะ (ความสำคัญตน) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) โทสะ (ความขุ่นเคือง) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัยในสภาพธรรม) และ ถีนะ (สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้หดหู่ ซบเซา)
* กิเลส เหล่านี้ เมื่อมีกำลังมากก็จะปรากฏอาการที่หลากหลายออกมาเป็น อุปกิเลส
* อุปกิเลส คือ กิเลสที่มีกำลังมาก ซึ่งแสดงอาการปรากฏออกมาอย่างชัดเจน เช่น ความลบหลู่คุณของท่านผู้มีคุณ ความแข่งดี ความโกรธ ความผูกโกรธ ความริษยา ความตระหนี่
* พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงถึง กิเลส และ อุปกิเลส เพื่อให้เห็นโทษของกิเลสทุกระดับ และเห็นถึงอาการของกิเลสที่มีกำลังเป็นอุปกิเลส ซึ่งมีโทษมาก
(สำหรับท่านที่สนใจรายละเอียด)
อุปกิเลสมี 16 อย่าง ได้แก่
- อภิชฌาวิสมโลภะ (โลภะที่มีกำลังกว่าปกติ คือความเพ่งเล็งสมบัติผู้อื่น) ถัมภะ (หัวดื้อ) สารัมภะ (แข่งดี) มานะ (ถือตัว) อติมานะ (ดูหมิ่นท่าน) มทะ (มัวเมา) ย่อมละได้ด้วยอรหัตตมรรค
- พยาปาทะ (ความพยาบาท) โกธะ (ความโกรธ) อุปนาหะ (ความผูกโกรธไว้) ปมาทะ (เลินเล่อ) ย่อมละด้วยอนาคามิมรรค
- มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ (ตีเสมอ) อิสสา (ความริษยา) มัจฉริยะ (ตระหนี่) มายา (มารยา, เจ้าเล่ห์) สาเถยยะ (โอ้อวด) ย่อมละด้วยโสดาปัตติมรรค
โดย อ.อรรณพ หอมจันทร์
อ่านหัวข้ออื่นๆ คลิกที่นี่ ... คติธรรม
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
กราบขอบพระคุณด้วยความเคารพค่ะ
สาธุ
ขอบพระคุณและกราบอนุโมทนาครับ