ขอขอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความบางตอนจาก
ขัคควิสาณสูตร
พระเจ้ากรุงพาราณสี พระองค์หนึ่ง เสด็จเข้าที่บรรทม ในกลางวัน ในคิมหสมัย และในพระราชสำนักของพระองค์ นางวรรณทาสี กำลังบดจันทร์เหลืองอยู่ ในแขนข้างหนึ่งของนาง มีกำไลทอง หนึ่งวง ในแขนอีกข้างหนึ่ง มีกำไลทอง สองวง กระทบกัน กำไลทอง หนึ่งวง นอกนี้ ไม่กระทบ
พระราชาทรงเห็นเหตุนั้นแล้ว จึงทรงแลดูนางทาสีบ่อยๆ พลางทรงพระราชดำริว่า ในการอยู่เป็นหมู่ ย่อมมีการกระทบกัน ในการอยู่คนเดียว ย่อมไม่มีการกระทบ เหมือนอย่างนั้นแล
บุคคล แลดูกำไลทอง สองอัน งามผุดผ่อง ที่บุตรแห่งนายช่างทองให้สำเร็จด้วยดีแล้ว กระทบกันอยู่ ในข้อมือ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้. ฯลฯ (ในที่นี้ ท่านหมายถึง "พระปัจเจกพุทธเจ้า" ใช่ไหมคะ)
ได้มีโอกาสอ่านพระสูตรบทนี้ซ้ำๆ แล้ว ได้ข้อคิดดีๆ ที่เป็น "เครื่องเตือนสติ" (สำหรับข้าพเจ้าเอง เมื่อขาดความอดทน) เมื่อได้เข้าใจว่า การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นไม่ว่าจะอยู่ร่วมกัน โดยสถานภาพใดก็ตาม กับมนุษย์ด้วยกัน หรือแม้แต่สัตว์เดรัจฉาน ในโลกคนละใบๆ กับการสะสมที่ต่างกันหากแม้นว่า เราทุกคน สามารถที่จะอยู่ร่วมกัน ด้วยความปราถนาดี อย่างไม่มี "เงื่อนไข"
โลกนี้จะมีแต่ความสงบสุขสักแค่ไหน ซึ่ง เป็นไปไม่ได้เลย แต่สิ่งที่พอจะเป็นไปได้ก็มีแต่ ความเข้าใจในพระสัทธรรม เท่านั้นที่พอจะผ่อนหนักเป็นเบาได้ตามเหตุ ตามปัจจัย ตามกำลัง "ปัญญา" ของปุถุชน คนธรมดา
ขออนุโมทนา
ขัคควิสาณสูตร .. ข้อคิดจากกำไลมือ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ด้วยความปราถนาดี อย่างไม่มี "เงื่อนไข" ขออนุโมทนาครับ การอยู่ร่วมกันในโลก แม้มีเหตุให้ระลึกถึงคำที่ว่านี้อยู่บ่อยๆ แต่ได้เตือนตนเองว่า ทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นนี้ เป็นบททดสอบกาย วาจา ใจ ของเราเอง ว่าจากการที่ได้ศึกษาธรรม เรามีความมั่นคง หวั่นไหว หรือมีความเปลี่ยนแปลงของใจเราไปในทางที่ดีขึ้นไหม ประการใด คือพิจารณาตนเองว่า เป็นผู้ที่มีความจริงใจ เป็นมิตร ปรารถนาดี ให้อภัย ต่อผู้ที่คบหาสมาคมด้วย โดยปราศจากเงื่อนไข หรือว่า คอยแต่จ้องจับผิด นินทา ว่าร้าย ไม่จริงใจ มีมานะ ยกตน คบเขาเพราะต้องการได้ประโยชน์จากเขา ฯลฯ สมดังที่ท่านอาจารย์พร่ำเตือนอยู่บ่อยๆ ว่า ธรรมทั้งหลายที่ได้ยินได้ศึกษามา คือทุกๆ ขณะนี้เอง ฟังดูก็ธรรมดาๆ แต่ไม่ธรรมดาเลยครับ ขอขอบพระคุณในข้อความเตือนใจดีๆ ครับ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาคับ
ขออนุโมทนาครับ
จากพระสูตร ตีความเผินๆ เหมือนควรเลือกที่จะอยู่คนเดียวดีกว่าอยู่หลายคนเพราะอยู่คนเดียวไม่มีปัญหาหรือโอกาสที่จะทะเลาะกับใคร แต่ในความเป็นจริงเลือกไม่ได้
เพราะต้องอยู่ในสังคม เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องอยู่หลายคน
โอกาสที่จะกระทบกับคนอื่นจึงเป็นเรื่องธรรมดา ความทุกข์ใจมากหรือน้อยขึ้นกับระดับของกิเลส พระธรรมกล่าวว่ากิเลสเป็นเพื่อนสอง ตราบใดที่ยังมีกิเลสก็ไม่ถือว่าเป็นผู้อยู่คนเดียว
เชิญคลิกอ่าน....
เป็นผู้มีปกติอยู่คนเดียว
เชิญคลิกอ่าน...
ข้อความจากพระไตรปิฏก
การอยู่เป็นคณะจึงมีการกระทบกัน [พรรณนาสุวัณณวลยคาถา]
อนุโมทนาคะ
ขออนุโมทนาครับ