[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 362
สูตรที่ ๔
ว่าด้วยทักขิไณยบุคคล ๒ จําพวก
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 362
สูตรที่ ๔
ว่าด้วยทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวก
[๒๘๐] ๓๘. ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในโลกมีทักขิไณยบุคคลกี่จำพวก และควรให้ทานในเขตไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี ในโลกมีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวก คือ พระเสขะ ๑ พระอเสขะ ๑ ดูก่อนคฤหบดี ในโลกนี้มีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวกนี้แล และควรให้ทานในเขตนี้.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดาได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกในภายหลังว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 363
"ในโลกนี้ พระเสขะกับพระอเสขะเป็นผู้ควรแก่ทักษิณาของทายกผู้บูชาอยู่ พระเสขะและอเสขะเหล่านั้น เป็นผู้ตรงทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ นี้เป็นเขตบุญของทายกผู้บูชาอยู่ ทานที่ให้แล้วในเขตนี้มีผลมาก."
จบสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทกฺขิเณยฺยา ความว่า ทานท่านเรียกว่า ทักษิณา. ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีถามว่า บุคคลกี่เหล่าที่ควรรับทานนั้น. ด้วยบทว่า เสกฺโข นี้ ท่านแสดงพระเสขบุคคล ๗ จำพวก. แลในบทนี้ ท่านสงเคราะห์แม้ปุถุชนผู้มีศีลด้วยพระโสดาบันนั้นแล. บทว่า อาหุเนยฺยา ยชมานานํ โหนฺติ ความว่า เป็นผู้ควรแก่ของที่นำมาบูชาของผู้ถวายทาน คือ เป็นผู้รับทาน. บทว่า เขตฺตํ ได้แก่ เป็นพื้นที่ คือ ที่ตั้ง อธิบายว่า เป็นที่งอกงามแห่งบุญ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔