๒. สักกสูตร ว่าด้วยการสอนคนอื่น
โดย บ้านธัมมะ  30 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 36436

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 387

๒. สักกสูตร

ว่าด้วยการสอนคนอื่น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 387

๒. สักกสูตร

ว่าด้วยการสอนคนอื่น

[๘๐๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์.

[๘๐๕] ครั้นนั้นแล ยักษ์มีชื่อว่าสักกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้กราบทูลด้วยคาถาว่า


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 388

การสั่งสอนคนอื่นนั้น ไม่เหมาะแก่สมณะเช่นท่าน ผู้ละกิเลสได้ทั้งหมด ผู้พ้นจากไตรภพ.

[๘๐๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนสักกะ ธรรมเครื่องอยู่ร่วมกันย่อมเกิดด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คนมีปัญญาไม่ควรที่จะไหวตามเหตุนั้นด้วยใจ ถ้าคนมีใจผ่องใสแล้วสั่งสอนคนอื่น บุคคลนั้นย่อมไม่เป็นผู้พัวพันด้วยเหตุนั้น นอกจากจะอนุเคราะห์เอ็นดู.

อรรถกถาสักกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสักกสูตรที่ ๒ ต่อไปนี้ :-

บทว่า สกฺกนามโก คือ ยักษ์มีชื่ออย่างนี้. ได้ยินว่า ยักษ์นี้เป็นฝ่ายมาร. บทว่า วิปฺปมุตฺตสฺส ได้แก่ พ้นจากภพ ๓. บทว่า ยทฺํ ตัดบทว่า ยํ อญฺํ (อื่นใด). บท วณฺเณน คือเพราะเหตุ. บทว่า สํวาโส คืออยู่ด้วยกัน. อธิบายว่า เป็นสหายธรรม มิตรธรรม. บทว่า สปฺปญฺโ คือผู้มีปัญญา ผู้รอบรู้.

จบอรรถกถาสักกสูตรที่ ๒