จากกระทู้ : ถอดคำบรรยายธรรม-- นิมิตของธรรมะ
//www.dhammahome.com/webboard/topic/23268
* * นิมิตตะ หมายถึง รูปร่างสัณฐานต่างๆ
* * อนุพยัญชนะ โดยศัพท์ ก็หมายถึง สิ่งที่เป็นเครื่องยังกิเลสให้เกิดขึ้น หรือว่า
เป็นเครื่องยังกิเลสให้ปรากฏ เวลาที่ติดข้องก็ติดข้องทั้งในนิมิตและก็ในอนุพยัญชนะ
...เนื่องจาก ไม่ได้อบรมปัญญา ที่ประจักษ์สภาพธรรม แต่ละอย่าง ตามความเป็นจริง
จริง จึงติดใน นิมิต คือ ส่วนหยาบ และ อนุพยัญชนะ คือ ส่วนละเอียด โดยข้ามการรู้
ตรง ลักษณะ สภาพธรรม แต่ละอย่าง
กราบเรียนถามว่า จาก "นิมิต คือ ส่วนหยาบ และ อนุพยัญชนะ คือ ส่วนละเอียด"
คำว่า ส่วนหยาบ และ ส่วนละเอียด หยาบ/ละเอียด อย่างไร รบกวนช่วยยกกรณี
ตัวอย่างหรือขยายความหน่อยได้มั๊ยคะ กราบขอบพระคุณค่ะ _/|_
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คำว่านิมิต,นิมิตฺต (การกำหนด , เครื่องหมาย) เครื่องหมายให้เกิดกิเลส หมายถึง
ส่วนหยาบที่เป็นรูปร่าง สัณฐาน ความหมายที่จิตคิดถึงสภาพธรรม ที่ปรากฏทางตา
ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เช่น เห็นเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายเป็น
โต๊ะ เก้าอี้ ได้ยินเสียงผู้หญิงหรือผู้ชาย ได้กลิ่นดอกไม้ ลิ้มรสเป็ดไก่ ถูกต้องสัมผัส
สำลี คิดนึกเรื่องราวต่างๆ ซึ่งเป็นไปด้วยอกุศลจิต เป็นการยึดนิมิต แต่ขณะที่รู้
รูปร่างสัณฐาน ความหมายต่างๆ ด้วยกุศลจิต ขณะนั้นไม่ใช่เป็นการยึดนิมิต แต่เป็น
บัญญัติอารมณ์ของกุศลจิตเท่านั้นครับ
ส่วนคำว่าอนุพยัญชนะ มาจากคำว่า อนุ (น้อย ,ภายหลัง ,ตาม) + พฺยญฺชน (แจ้ง , ปรากฏ) แปลได้ว่า ส่วนละเอียดที่ทำให้กิเลสปรากฏ หมายถึง ส่วนละเอียดของรูปร่างสัณฐาน หรือความหมาย ที่จิตคิดถึงจากสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่น ปาก คอ คิ้ว คาง ริ้วรอยของใบหน้า ที่เป็นส่วนละเอียดของร่างกาย หรือส่วนปลีกย่อยของวัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ทำให้กิเลสเกิดขึ้นในขณะนั้นเป็นการยึดอนุพยัญชนะแต่ในขณะที่พิจารณาส่วนละเอียดด้วยกุศลจิต ไม่เป็นการยึดอนุพยัญชนะ ยกตัวอย่างเช่น พิจารณาความเหี่ยวย่นของผิวพรรณ และรู้ถึงความไม่เที่ยงของร่างกายซึ่งเป็นรูปธรรม เป็นต้น
ดังนั้น คำว่า นิมิต ที่หมายถึง ส่วนหยาบ จึงหมายถึง การคิดนึกเป็นรูปร่าง สัณฐาน
แต่ เป็นส่วนที่ใหญ่ เช่น เป็นผู้ชาย ผู้หญิง ที่เป็นรูปร่างคน โดยรวม เห็นเป็นรถ
ที่เป็นรูปร่างรวมๆ ส่วนใหญ่ ที่เป็นส่วนหยาบ
ส่วน อนุพยัญชนะ ที่เป็น ส่วนละเอียด ก็หมายถึง การที่คิดนึกเป็นเรื่องราวเช่นกัน
แต่นึกคิดเป็นส่วนละเอียดของสิ่งนั้น เช่น ส่วนหยาบ มองเห็นเป็นคน แต่ส่วนละเอียด
เป็น คิ้ว เป็นปาก เป็นจมูก ที่เป็นส่วนย่อย ละเอียด ลงไปจากส่วนหยาบที่เห็นเป็นคน
ครับ และ ส่วนหยาบ ที่เห็น เป็นรถทั้งคัน ส่วนละเอียดที่เป็นอนุพยัญชนะ ก็เห็นเป็น
ส่วนละเอียด ที่ปัดน้ำฝน กระจกข้าง เป็นต้น ครับ ดังนั้น
ส่วนละเอียดที่เป็นอนุพยัญชนะ จึงเป็นส่วนย่อยละเอียดของส่วนหยาบ ที่เป็น นิมิต
แต่ทั้งนิมิต และ อนุพยัญชนะ ก็ล้วนแล้วแต่ เป็น บัญญัติเรื่องราวทั้งคู่ เพียงแต่จะ
เป็นส่วนใหญ่ หรือ ส่วนย่อยเท่านั้นเอง ครับ ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ต้องมีความเข้าใจอย่างมั่นคงจริงๆ ว่า อะไร คือ สิ่งที่มีจริง สิ่งที่มีจริงๆ นั้น
เป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่งๆ โดยไม่ปะปนกัน เห็นเป็นธรรม สีเป็นธรรม
ได้ยินเป็นธรรม เสียงเป็นธรรม เป็นต้น เพราะเป็นสิ่งที่มีจริงๆ ที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่
บุคคล ไม่ใช่ตัวตน นิมิต ก็คือการที่เห็นเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นคนนั้นคนนี้ เป็นโต๊ะทั้งตัว เก้าอี้ทั้งตัว
เป็นชาย เป็นหญิง เป็นต้น นี้เรียกว่าส่วนหยาบ คือ โดยรวม ส่วนอนุพยัญชนะเป็น
ส่วนละเอียดจากส่วนหยาบอีกที จริงๆ แล้ว นิมิต กับ อนุพยัญชนะ ก็คือบัญญัติ
เรื่องราวนั่นเอง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่มีจริงๆ แต่เพราะมีสภาพธรรมที่มีจริงๆ เกิดขึ้นเป็น
ไป จึงมีนิมิต อนุพยัญชนะ มีบัญญัติเรื่องราวต่างๆ ครับ
ข้อความบางตอนจากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ขณะใดที่"เห็น"แล้วสนใจ เพลิน ใน"นิมิต"คือ รูปร่าง สัณฐาน และ"อนุพยัญชนะ"
คือ ส่วนละเอียด ของสิ่งที่ปรากฏให้ทราบว่าขณะนั้น เพราะ"สี"ปรากฏจึงเป็น "เหตุ
ปัจจัย"ทำให้กิด "คิดนึก"เป็น รูปร่าง สัณฐาน และ ส่วนละเอียดของสิ่งต่างๆ ขึ้น
เมื่อใดที่ "สติ"เกิด ระลึกรู้และ"ปัญญา" เริ่มศึกษา พิจารณาก็จะเริ่มรู้ว่านิมิต และ
อนุพยัญชนะ ทั้งหลายซึ่งเป็น "สี" ต่างๆ ก็เป็นเพียง"สิ่งที่ปรากฏทางตา"เท่านั้น
นี้คือ "ปัญญา"ที่เริ่มเข้าถึง "ลักษณะของสภาพธรรม"ที่ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล
เมื่อ "สติ" เกิดระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เนืองๆ บ่อยๆ ก็จะเข้าใจ "อรรถ"
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ไม่ติด ในนิมิต อนุพยัญชนะ" (ด้วยการอบรมเจริญปัญญา
รู้สภาพธรรมที่ปรากฏตามความจริง) และเริ่ม ละคลาย "อัตตสัญญา"ในสิ่งที่ปรากฏ
ทางตา ทางหู ทางจมูกทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ตามระดับขั้นของ"ปัญญา"ที่ค่อยๆ
เจริญขึ้นจากการอบรม.
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
อนุพยัญชนะ
...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
นิมิต ส่วนหยาบ เช่น คน สัตว์ อนุพยัญชนะ ส่วนละเอียด เช่น ขนตา จมูก ค่ะ
ขอบพระคุณทุกๆ ท่านค่ะสำหรับคำตอบ ขออนุโมทนาค่ะ
รบกวนขอถามต่อนิดนึงนะคะ
คือถ้าป็นขณะที่ประกอบด้วยปัญญาจริงๆ พอสีมากระทบทางจักขุทวาร ปัญญารู้
แล้วว่าเป็นเพียงสีที่มากระทบแล้วดับไป หลังจากนั้นทางใจมีบัญญัติเป็นอารมณ์
คือ คิดเรื่องราวว่ารูปร่างแบบนี้เป็นเก้าอี้ ขณะที่กำลังคิดเรื่องราวว่าเก้าอี้ ปัญญา
จะทำหน้าที่รู้ว่ากำลังคิดถึงเรื่องราวว่าเก้าอี้แต่ความจริงแล้วไม่มีเก้าอี้
คือเข้าใจคร่าวๆ ว่าอย่างนี้ค่ะ แล้วก็ไม่ทราบด้วยว่าถูกต้องหรือเปล่า รายละเอียด
ความจริงต้องเป็นอย่างไรรบกวนช่วยชี้แนะด้วยค่ะ
กราบขอบพระคุณค่ะ
เรียนความเห็นที่ 4 ครับ
ปัญญาที่เกิดรู้ ที่เป็นการเจริญสติปัฏฐาน รู้ปรมัตถ คือ จิต เจตสิก รูป ขณะที่เห็น
สี ปัญญาเกิดรู้สี ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่มีสัตว์ บุคคล และเมื่อคิดนึก
หลังจากเห็นแล้ว เป็นเก้าอี้ เป็นคน สติปัญญา เกิดรู้จิตที่คิดนึกว่า
เป็นธรรม ไม่มีเราที่คิด จึงรู้ว่า ไม่มีสัตว์บุคคล มีแต่การคิดนึกเท่านั้น
แต่ปัญญาไม่ได้รู้ตัว บัญญติ เรื่องราวในขณะนั้น ครับ อนุโมทนา
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ