ในจิตตานุสติ สติปัฏฐาน
มีบางส่วนกล่าวไว้แบบนี้
"จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า"
อย่างนี้หมายความว่าอย่างไร
เรียนผู้รู้แจ้งแทงตลอด
ช่วยขยายความและยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
หรืออุปมาอุปมัยให้เข้าใจง่ายๆ ด้วยครับ
ในอรรถกถาท่านขยายความไว้ดังนี้ คือ
บทว่าสอุตฺตรํ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ได้แก่จิตที่เป็นกามาวจร. บทว่า อนุตฺตรํ จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ได้แก่จิตที่เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร. แม้ในจิตเหล่านั้นจิตที่ชื่อว่า สอุตตระ ได้แก่จิตเป็นรูปาวจร จิตชื่อว่า อนุตตระ ได้แก่ จิตที่เป็นอรูปาวจร. ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่ จิตตานุปัสสนา
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
"จิตเป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นมหรคต
จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่าจิตไม่เป็นมหรคต
จิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นสอุตตระ
จิตเป็นอนุตตระ ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นอนุตตระ"
ย่อโดยสั้นหมายถึง
จิตเป็นฌาน ก็ให้รู้ว่าจิตเป็นฌาน
จิตไม่เป็นฌาน ก็ให้รู้ว่าจิตไม่เป็นฌาน
จิตไม่เป็นอรูปฌาน ก็ให้รู้ว่าจิตไม่เป็นอรูปฌาน
จิตเป็นอรูปฌาน ก็ให้รู้ว่าจิตเป็นอรูปฌาน
อย่างนี้หรือเปล่าครับ?
สั้นกว่านั้นอีกก็คือ...
รู้จักจิตตามความเป็นจริงค่ะ
"จิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสอุตตระ
จิตเป็นอนุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นอนุตตระ"
ไม่ได้หมายถึง.....อรูปาวจรจิตอย่างเดียวค่ะ
แต่เป็นการเปรียบเทียบ....ภูมิของจิตซึ่งมีความหยาบและประณีตต่างๆ กันไป
ลองกลับไปอ่านข้อความในลิงค์ดูอีกครั้งค่ะ
^
^
คือผมเห็นว่าเนื่องจากในบทนั้นได้กล่าวถึง
"จิตเป็นมหัคคตะ (ได้แก่จิตที่เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร) ก็รู้
จิตไม่เป็นมหัคคตะ (ได้แก่จิตที่เป็นกามาวจร) ก็รู้"
ซึ่งได้กล่าวไว้แล้ว
ดังนั้นเมื่อตามด้วยบทนี้ต่อคือ..
"จิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นสอุตตระ
จิตเป็นอนุตตระ ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นอนุตตระ"
บทนี้พระพุทธองค์จึงไม่น่าจะทรงหมายความให้ซ้ำซ้อน
โดยการตีความว่านัยที่แรกว่า สอุตตระ หมายถึง กามาวจรจิต ให้ซ้ำซ้อนอีก
(เพราะเมื่อบทที่แล้วได้กล่าวแล้ว)
จึงน่าจะหมายถึง
จิตที่ว่านั้น (ที่เป็นมหัคคตะแล้วนั้น)
ถ้าเป็น รูปาวจรจิต ก็ให้รู้ หรือถ้าเป็น อรูปาวจรจิต ก็ให้รู้ด้วย
ผมเห็นดังนี้ครับ
เรียนความเห็นที่ ๗ ครับ
ตามนัยของอรรถกถากล่าวไว้ถูกต้องแล้ว ไม่ต้องตีความเพิ่มครับ
นโม พุทฺธสฺส
ท่านผู้ถาม ควรอ่าน ขันธวิภังค์, การแจกตรงนี้ ชัดเจนแล้วในขันธวิภังค์ แห่งคัมภีร์วิภังค์ เล่ม 77 วิภังค์แรก.
ในที่นั้นท่านแจกการพิจารณาทั้งจิต และขันธ์อื่นๆ ไว้ โดยนัยแห่งขันธ์ 11 กอง ซึ่งต้องมีการเปรียบระหว่าง ขันธ์อดีต ขันธ์อนาคต ขันธ์ปัจจุบัน ขันธ์ใน ขันธ์นอก ขันธ์หยาบ ขันธ์ละเอียด ขันธ์ทราม ขันธ์ประณีต ขันธ์ไกล และขันธ์ใกล้ ครับ.