๕. สาวัชชสูตร ว่าด้วยบุคคล ๔ จําพวก
โดย บ้านธัมมะ  23 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 38927

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 352

ตติยปัณณาสก์

ปุคคลวรรคที่ ๔

๕. สาวัชชสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 352

๕. สาวัชชสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๑๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ

สาวชฺโช บุคคลมีโทษ

วชฺชพหุโล บุคคลมีโทษมาก

อปฺปวชฺโช บุคคลมีโทษน้อย

อนวชฺโช บุคคลไม่มีโทษ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 353

บุคคลมีโทษเป็นอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมอันมีโทษ วจีกรรมอันมีโทษ มโนกรรมอันมีโทษ อย่างนี้แล บุคคลมีโทษ

บุคคลมีโทษมากเป็นอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโทษเป็นส่วนมาก ที่ไม่มีโทษเป็นส่วนน้อย อย่างนี้แล บุคคลมีโทษมาก

บุคคลมีโทษน้อยเป็นอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันไม่มีโทษเป็นส่วนมาก ที่มีโทษเป็นส่วนน้อย อย่างนี้แล บุคคลมีโทษน้อย

บุคคลไม่มีโทษเป็นอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมอันไม่มีโทษ วจีกรรมอันไม่มีโทษ มโนกรรมอันไม่มีโทษ อย่างนี้แล บุคคลไม่มีโทษ.

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบสาวัชชสูตรที่ ๕

อรรถกถาสาวัชชสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสาวัชชสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

คนจำพวกที่หนึ่ง ได้แก่ ปุถุชนคนโง่เขลา จำพวกที่สอง ได้แก่ โลกิยปุถุชนผู้บำเพ็ญกุศลในระหว่างๆ จำพวกที่สาม ได้แก่ พระโสดาบัน ถึงพระสกทาคามีและอนาคามี ก็รวมกับคนจำพวกที่สามนั้นเหมือนกัน จำพวกที่สี่ ได้แก่พระขีณาสพ จริงอยู่ พระขีณาสพนั้น หาโทษมิได้โดยส่วนเดียว.

จบอรรถกถาสาวัชชสูตรที่ ๕