นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
พระสูตรที่จะนำมาสนทนาออนไลน์
วันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๔
คือ
ทุติยขตสูตร
...จาก...
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๘
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๘
ทุติยขตสูตร
(ว่าด้วยพาลและบัณฑิต)
[๔] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปฏิบัติผิดในสถาน ๔ เป็นคนพาล เป็นผู้โง่เขลา เป็นอสัตบุรุษ บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียนและได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย ในสถาน ๔ คืออะไร คือ
ในมารดา
ในบิดา
ในพระตถาคต
ในสาวกของพระตถาคต
บุคคลผู้ปฏิบัติผิดในสถาน ๔ นี้แล เป็นคนพาล เป็นผู้โง่เขลา เป็นอสัตบุรุษ บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียนและได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปฏิบัติชอบในสถาน ๔ เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และได้บุญมากด้วย ในสถาน ๔ คืออะไร คือ
ในมารดา
ในบิดา
ในพระตถาคต
ในสาวกของพระตถาคต
บุคคลผู้ปฏิบัติชอบในสถาน ๔ นี้แล เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และได้บุญมากด้วย
(พระคาถา)
คนใดปฏิบัติผิด ในมารดา และในบิดา ในพระตถาคตสัมพุทธเจ้า และในสาวกของพระตถาคต คนเช่นนั้น ย่อมได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมาก เพราะความประพฤติไม่เป็นธรรมในมารดาบิดาเป็นต้นนั้น ในโลกนี้ บัณฑิตทั้งหลายก็ติเตียนเขา เขาตายไปแล้วยังไปอบายด้วย
คนใดปฏิบัติชอบ ในมารดา ในบิดา ในพระตถาคตสัมพุทธเจ้า และในสาวก ของพระตถาคต คนเช่นนั้นย่อมได้บุญ มากแท้ เพราะความประพฤติเป็นธรรมในมารดาบิดาเป็นต้น นั้น ในโลกนี้ บัณฑิตทั้งหลายก็สรรเสริญเขา เขาละโลกนี้แล้วยังบันเทิงในสวรรค์
จบทุติยขตสูตรที่ ๔
อรรถกถาทุติยขตสูตรที่ ๔
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยขตสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า มาตริ ปิตริ จ เป็นต้น นายมิตตวินทุกะ ชื่อว่าปฏิบัติผิดในมารดา พระเจ้าอชาตศัตรู ชื่อว่าปฏิบัติผิดในบิดา พระเทวทัต ชื่อว่าปฏิบัติผิดในพระตถาคต พระโกกาลิกะ ชื่อว่าปฏิบัติผิดในพระสาวกของพระตถาคต
บทว่า พหุญฺจ แปลว่า มาก
บทว่า ปสวติ แปลว่า ย่อมได้
บทว่า ตาย [ตา -ยะ] ความว่า ด้วยความประพฤติอธรรม กล่าวคือความปฏิบัติผิดนั้น
บทว่า เปจฺจ คือ ไปจากโลกนี้
บทว่า อปายญฺจ คจฺฉติ คือ เขาจะต้องบังเกิดในนรกเป็นต้นแห่งใดแห่งหนึ่ง ส่วนในสุกกปักข์ (ธรรมฝ่ายดี) ก็นัยนี้เหมือนกัน
จบอรรถกถาทุติยขตสูตรที่ ๔
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความโดยสรุป
ทุติยขตสูตร
(ว่าด้วยพาลและบัณฑิต)
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ว่า ผู้ปฏิบัติผิด ในบุคคล ๔ จำพวก คือ ในมารดา ในบิดา ในพระตถาคต และในสาวกของพระตถาคต ย่อมเป็นคนพาล เป็นผู้โง่เขลา เป็นอสัตบุรุษ บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย
และ ทรงแสดงว่า ผู้ปฏิบัติชอบในบุคคล ๔ จำพวก คือ ในมารดา ในบิดา ในพระตถาคต และในสาวกของพระตถาคต เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และได้บุญมากด้วย
(ตามข้อความที่ปรากฏในพระสูตร)
ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ
พาล กับ มิใช่พาล
คนพาล
คบบัณฑิต
คบคนพาล ย่อมเป็นทางที่จะนำเราไปสู่ความเสื่อม
ตถาคต เพราะเสด็จมาแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างไร
ตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างไร
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...
กราบอนุโมทนาค่ะ
กราบสาธุค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
กราบขอบคุณและอนุโมทนายิ่งค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น