[เล่มที่ 4] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒
พระวินัยปิฎก เล่ม ๒
มหาวิภังค์ ทุติยภาค
ปาจิตติยภัณฑ์
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑
มุสาวาทวรรค
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องพระอนุรุทธเถระ 294/179
พระบัญญัติ 183
สิกขาบทวิภังค์ 295/183
บทภาชนีย์ 296/183
อนาปัตติวาร 297/184
มุสาวาทวรรค ทุติยสหเสยยสิกขาบทที่ ๖ 184
แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระอนุรุทธะ 184
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 4]
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 179
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องพระอนุรุทธเถระ
[๒๙๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน พระอนุรุทธะเดินทางไปพระนครสาวัตถีในโกศลชนบท ได้ไปถึงหมู่บ้าน แห่งหนึ่ง ณ เวลาเย็น ก็แลสมัยนั้น ในหมู่บ้านั้นมีสตรีผู้หนึ่ง จัดเรือนพัก สำหรับอาคันตุกะไว้ จึงท่านพระอนุรุทธะเข้าไปหาสตรีนั้น แล้วได้กล่าวคำนี้ กะสตรีนั้นว่า ดูก่อนน้องหญิง ถ้าเธอไม่หนักใจ อาตมาขอพักแรมในเรือนพัก สักคืนหนึ่ง.
สตรีนั้นเรียนว่า นิมนต์พักแรมเถิด เจ้าข้า.
พวกคนเดินทางแม้เหล่าอื่นก็เข้าไปหาสตรีนั้น แล้วได้กล่าวคำนี้กะ สตรีนั้นว่า คุณนายขอรับ ถ้าคุณนายไม่หนักใจ พวกข้าพเจ้าขอพักแรมใน เรือนพักสักคืนหนึ่ง.
นางกล่าวว่า พระคุณเจ้าสมณะนั่นเข้าไปพักแรมอยู่ก่อนแล้ว ถ้าท่าน อนุญาต ก็เชิญพักแรมได้.
จึงคนเดินทางพวกนั้น พากัน เข้าไปหาท่านอนุรุทธะแล้ว ได้กล่าว คำนี้กะท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านขอรับ ถ้าท่านไม่หนักใจ พวกกระผมขอ พักแรมคืน ในเรือนพักสักคืนหนึ่ง.
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า เชิญพักเถิดจ้ะ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 180
อันที่จริง สตรีนั้นได้มีจิตปฏิพัทธ์ในท่านพระอนุรุทธะพร้อมกับขณะ ที่ได้เห็น ดังนั้นนางจึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ท่าน เจ้าข้า พระคุณเจ้าปะปนกับคนพวกนี้จักพักผ่อนไม่สบาย ทางที่ดีดิฉันควรจัด เตียงที่มีอยู่ ข้างในถวายพระคุณเจ้า.
ท่านพระอนุรุทธะรับด้วยดุษณีภาพ.
ครั้งนั้น นางได้จัดเตียงที่มีอยู่ข้างในด้วยตนเองถวายท่านพระอนุรุทธะ แล้วประดับตกแต่งร่างกายมีกลิ่นแห่งเครื่องหอม เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ แล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านเจ้าข้า พระคุณเจ้ามีรูปงามนัก น่าดู น่าชม ส่วนดิฉันก็มีรูปงามยิ่ง น่าดู น่าชม ทางที่ดีดิฉัน ควรจะเป็น ภรรยาของพระคุณเจ้า.
เมื่อนางพูดอย่างนี้ ท่านพระอนุรุทธะได้นิ่งเสีย.
แม้ครั้งที่ ๒ ... (๑)
แม้ครั้งที่ ๓ นางก็ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านเจ้าข้า พระคุณเจ้ามีรูปงามนัก น่าดู น่าชม ส่วนดิฉันก็มีรูปงามยิ่ง น่าดู น่าชม ทางที่เหมาะขอพระคุณเจ้าจงรับปกครองดิฉันและทรัพย์สมบัติทั้งหมด.
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอนุรุทธะก็ได้นิ่งเสีย.
ลำดับนั้น นางได้เปลื้องผ้าออกแล้ว เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง เบื้องหน้าท่านพระอนุรุทธะ ฝ่ายท่านพระอนุรุทธะ สำรวมอินทรีย์ ไม่แลดู ไม่ปราศรัยกะนาง ดังนั้นนางจึงอุทานว่า น่าอัศจรรย์นัก พ่อเอ๋ย ไม่น่าจะมีเลยหนอ พ่อผู้จำเริญ คนเป็นอันมากยอมส่งทรัพย์มาให้เรา ๑๐๐ กษาปณ์บ้าง ๑,๐๐๐ กษาปณ์บ้าง ส่วนพระสมณะรูปนี้ เราวิงวอนด้วยตนเอง
(๑) หมายความว่านางได้กล่าวและท่านพระอนุรุทธะได้นิ่งเหมือนครั้งที่ ๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 181
ยังไม่ปรารถนาจะรับปกครองเราและสมบัติทั้งหมด ดังนี้แล้วจึงนุ่งผ้าซบศีรษะ ลงที่เท้าของท่านพระอนุรุทธะแล้วได้กล่าวคำขอขมาต่อท่านดังนี้ว่า ท่านเจ้าข้า โทษล่วงเกินได้เป็นไปล่วงดิฉัน ตามคนโง่ ตามคนหลง ตามคนไม่ฉลาด ดิฉัน ผู้ใดได้ทำความผิดเห็นปานนั้นไปแล้ว ขอพระคุณเจ้าโปรดรับโทษที่เป็น ไปล่วง โดยความเป็นโทษเป็นไปล่วงของดิฉันผู้นั้น เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด เจ้าข้า.
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า เชิญเถิดน้องหญิง โทษล่วงเกิน ได้เป็นไป ล่วงเธอ ตามคนโง่ ตามคนเขลา ตามคนไม่ฉลาด เธอได้ทำอย่างนี้แล้ว เพราะเล็งเห็นโทษที่เป็นไปล่วง โดยความเป็นโทษเป็นไปล่วงจริง แล้วทำคืน ตามธรรม เราขอรับโทษที่ล่วงเกินนั้นของเธอไว้ ดูก่อนน้องหญิง ข้อที่บุคคล เล็งเห็นโทษที่เป็นไปล่วง โดยความเป็นโทษเป็นไปล่วงจริง แล้วยอมคำคืน ตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป นี่แหละเป็นความเจริญในอริยวินัย.
ครั้นราตรีนั้นผ่านพ้นไป นางได้อังคาสท่านพระอนุรุทธะ ด้วย ขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตนจนให้ห้ามภัตแล้ว กราบไหว้ท่าน พระอนุรุทธะผู้ฉันเสร็จนำมือออกจากบาตรแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะได้ชี้แจงให้สตรีผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งนั้น ให้เห็นแจ้ง สมาทานอาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นแล้ว นางได้กล่าวคำนี้กะท่าน พระอนุรุทธะว่า ท่านเจ้าข้า ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ภาษิตของท่าน ไพเราะนัก พระคุณเจ้าอนุรุทธะได้ประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยประสงค์ว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ดิฉันนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 182
ขอพระคุณเจ้าจงจำดิฉันนี้ว่าเป็นอุบาสิกาผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้ เป็นต้นไป ต่อจากนั้น ท่านพระอนุรุทธะเดินทางไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ได้แจ้งความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาบท ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระอนุรุทธะจึงได้สำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคามเล่า ครั้นแล้วภิกษุ เหล่านั้นได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอนุรุทธะว่า ดูก่อนอนุรุทธะ ข่าวว่า เธอสำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคาม จริงหรือ.
ท่านพระอนุรุทธะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนอนุรุทธะ ไฉนเธอจึง ได้สำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคามเล่า การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใส แล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้
พระบัญญัติ
๕๕.๖. อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับ มาตุคาม เป็น ปาจิตตีย์
เรื่องพระอนุรุทธเถระ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 183
สิกขาบทวิภังค์
[๒๙๕] บทว่า อนึ่ง.. ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัว เมีย โดยที่สุดแม้เด็กหญิงที่เกิดในวันนั้น ไม่ต้องกล่าว ถึงสตรีผู้ใหญ่.
บทว่า ร่วม คือ ด้วยกัน.
ที่ชื่อว่า การนอน ได้แก่ ภูมิสถานเป็นที่นอน อันเขามุงทั้งหมด บังทั้งหมด มุงโดยมาก บังโดยมาก.
คำว่า สำเร็จการนอน ความว่า เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว มาตุคามนอนแล้ว ภิกษุนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ภิกษุนอนแล้ว มาตุคามนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
หรือนอนทั้งสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ลุกขึ้นแล้ว กลับนอนอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๙๖] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม สำเร็จการนอนร่วม ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
มาคุคาม ภิกษุสงสัย สำเร็จการนอนร่วม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามิใช่มาตุคาม สำเร็จการนอนร่วม ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 184
จตุกกทุกกฏ
ในสถานที่มุงกึ่ง บังกึ่ง ภิกษุสำเร็จการนอนร่วม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุสำเร็จการนอนร่วม กับหญิงยักษ์ก็ดี หญิงเปรตก็ดี บัณเฑาะก์ ก็ดี สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
มิใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม สำเร็จการนอนร่วม ต้อง อาบัติทุกกฏ.
มิใช่มาตุคาม ภิกษุสงสัย สำเร็จการนอนร่วม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
มิใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามิใช่มาตุคาม สำเร็จการนอนร่วม ไม่ ต้องอาบัติ
อานาปัตติวาร
[๒๙๗] ในสถานที่มุงทั้งหมด ไม่บังทั้งหมด ๑ ในสถานที่บังทั้งหมด ไม่มุงทั้งหมด ๑ ในสถานที่ ไม่มุงโดยมาก ไม่บังโดยมาก ๑ มาตุคามนอน ภิกษุนั่ง ๑ ภิกษุนอน มาตุคามนั่ง ๑ นั่งทั้งสอง ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่ ๖ จบ
มุสาวาทวรรค ทุติยสหเสยยสิกขาบทที่ ๖
พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยสหเสยยสิกขาบทดังต่อไปนี้
[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องท่านพระอนุรุทะ]
บทว่า อาวสถาคารํ ได้แก่ เรือนพักของพวกอาคันตุกะ.
สองบทว่า ปตฺตํ โหติ ได้แก่ เป็นสถานที่อันนางจัดสร้างไว้ เพราะความเป็นผู้ประสงค์บุญ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 185
ข้อว่า เยน สา อิตฺถี เตนุปสงฺกมิ มีความว่า ท่านพระอนุรุทธะ ฟังคำของพวกชาวบ้านว่า มีเรือนพักอันเขาจัดไว้ ณ ที่ชื่อโน้น ดังนี้ จึงเข้า ไปหา
บทว่า คนฺธคนฺธินี มีวิเคราะห์ว่า กลิ่นแห่งของหอม มีกฤษณา และกำยานเป็นต้น ชื่อว่า กลิ่นของหอม, กลิ่นของหอมนั้นมีแก่หญิงนั้น. เหตุนั้น หญิงนั้นจึงชื่อว่า คันธคันธินี ผู้มีกลิ่นเครื่องหอม.
สองบทว่า สาฏกํ นิกฺขิปิตฺวา มีความว่า หญิงนั้นติดว่า แม้ ไฉนหนอ. เมื่อพระผู้เป็นเจ้านั้น เห็นประการอันแปลกแม้นี้แล พึงเกิดความ กำหนัด ดังนี้ จึงได้กระทำอย่างนั้น.
บทว่า โอกฺขิปิตฺวา ได้แก่ ทอดลง (ซึ่งอินทรีย์)
ความผิดพลาด ชื่อว่า โทษล่วงเกิน.
สองบทว่า มํ อจฺจคฺคมา ได้แก่ เป็นไปล่วง คือ ครอบงำซึ่งดิฉัน. บทที่เหลือบัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในสิกขาบทก่อนนั่นแล. ก็ ความแปลกกัน มีเพียงอย่างนี้ คือ ในสิกขาบทก่อนเป็นอาบัติ ในวันที่ ๔, ในสิกขาบทนี้ เป็นอาบัติแม้ในวันแรก. เป็นทุกกฏ (แก่ภิกษุผู้สำเร็จการนอน ร่วมกัน) กับนางยักษ์และนางเปรตผู้มีรูปปรากฏ และสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เฉพาะที่เป็นวัตถุแห่งเมถุนธรรม. ก็แล สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียที่เหลือเป็นอนาบัติ. แม้สมุฎฐานเป็นต้น ก็เช่นเดียวกับสิกขาบทก่อนนั่นเอง ฉะนั้นแล.
ทุติยสหเสยยสิกขาบทที่ ๖ จบ