ที่กล่าวว่า ในการศึกษาธรรมะ ต้องเป็นผู้ที่ตรง หมายความว่าอย่างไรครับ
คำว่า ตรง หมายถึง ตรงต่อพระธรรมคำสอน ตรงต่อสภาพธรรม ไม่คด ไม่งอ ไม่บิดเบี้ยว ประพฤติตามพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นลักษณะของกุศลธรรม สมดังคำอธิบาย
ในอรรถกถาธัมมสังคณีว่า ภาวะแห่งความซื่อตรง ชื่อว่า อุชุตา คือ ความเป็นไปโดยอาการอันตรง
ภาวะแห่งขันธ์ ๓ อันตรงและวิญญาณขันธ์อันตรง เรียกว่า อุชุกตา. ความปฏิเสธแห่งความคดเหมือนมูตรโค ชื่อว่า อชิมหตา (ความคล่องแคล่ว) .
บทว่า อวงฺกตา ได้แก่ ปฏิเสธความโค้งเหมือนวงจันทร์.
บทว่า อกุฏิลตา ได้แก่ ปฏิเสธความคดเหมือนปลายงอนไถ.
จริงอยู่. บุคคลใดทำบาปแล้วกล่าวว่าเราไม่ได้กระทำ บุคคลนั้น ชื่อว่า เป็นผู้คด เหมือนมูตรโค (เยี่ยวโค) เพราะความไปวกวน ผู้ใดกำลังทำบาปแล้วพูดว่า เราไม่กลัวบาป ผู้นั้น ชื่อว่า คด เหมือนวงจันทร์ เพราะความคดมาก ผู้ใดกำลังทำบาป แต่กล่าวว่า ใครไม่กลัวบาปเล่า ผู้นั้นชื่อว่า คด เหมือนงอนไถ เพราะไม่คดมาก. อีกอย่างหนึ่ง กรรมทวาร ๓ ของบุคคลใดไม่บริสุทธิ์ บุคคลนั้นชื่อว่า เป็นผู้คด เหมือนน้ำมูตรโค. กรรมทวาร ๒ แม้อย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่แก่บุคคลใด ไม่บริสุทธิ์ บุคคลนั้น ชื่อว่า เป็นผู้คดเหมือนวงจันทร์. กรรมทวารหนึ่งอย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคลใดไม่บริสุทธิ์ บุคคลนั้น ชื่อว่า เป็นผู้คด เหมือนปลายงอนไถ.
ส่วนอาจารย์ผู้เรียนทีฆนิกาย กล่าวว่า ภิกษุบางรูปในวัยทั้งหมดย่อมประพฤติ อเนสนา ๒๑ และอโคจร ๖ ภิกษุนี้ชื่อว่า คดเหมือนน้ำมูตรโค. บางองค์ในปฐมวัยย่อมบำเพ็ญจตุปาริสุทธิศีล เป็นผู้ละอาย รังเกียจความชั่ว ใคร่การศึกษา ในมัชฌิมวัยและปัจฉิมวัยเป็นเช่นภิกษุองค์ก่อน ภิกษุนี้ ชื่อว่า เป็นผู้คดเหมือนวงจันทร์. บางองค์ในปฐมวัยก็ดี มัชฌิมวัยก็ดี ย่อมบำเพ็ญจตุปาริสุทธิศีล มีความละอาย มีความรังเกียจบาป ใคร่การศึกษา แต่ในปัจฉิมวัย เป็นเช่นภิกษุองค์ก่อน ภิกษุนี้ ชื่อว่า คดเหมือนปลายงอนไถ. ภาวะของบุคคลผู้คดอย่างนี้ด้วยอำนาจกิเลสนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ชิมหตา (ความคด) อวงฺกตา (ความโค้ง) อกุฏิลตา (ความงอ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความไม่คดเป็นต้น โดยปฏิเสธความคด เป็นต้นเหล่านั้น แล้วทรงแสดงโดยเป็นขันธาธิษฐาน
จริงอยู่ ความไม่คดเป็นต้นนี้ ย่อมมีแก่ขันธ์ทั้งหลาย หามีแก่บุคคลไม่ ด้วยบทเหล่านั้น แม้ทั้งหมดอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอาการ คือ ความตรง โดยนัยแรก ตรัสอาการ คือ ความตรงแห่งวิญญาณขันธ์ โดยนัยหลัง เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า พระองค์ทรงตรัสอาการ คือ ความตรงแห่งอรูปธรรมทั้งหลาย เพราะความไม่มีกิเลส.
จาก[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 393
เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ
ผู้ศึกษาธรรมะต้องเป็นคนตรง
ความเป็นผู้ซื่อตรง และ อ่อนโยน
ขออนุโมทนาครับ
ตรงต่อสภาพธรรมะที่มีจริงกำลังปรากฏในขณะนี้ สติเกิดก็รู้ว่าสติเกิด สติไม่เกิดก็รู้ว่า สติไม่เกิด ขณะที่กุศลจิตเกิดเป็นผู้ตรง ขณะที่อกุศลจิตเกิดชื่อว่าคด ชื่อว่าเน่าในค่ะ
สาธุ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
สาธุ