นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
••• ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย •••
สนทนาธรรมที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ ๑๔ ก.ค. ๒๕๕๐
เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐ น.
๑. ปฐมสัทธัมมนิยามสูตร
ว่าด้วยธรรมผู้เข้าถึงกุศลและไม่เข้าถึงกุศล
๒. ทุติยสัมธัมมนิยามสูตร
ว่าด้วยธรรมของผู้เข้าถึงและไม่เข้าถึงกุศล
๓. ตติยสัทธัมมนิยามสูตร
ว่าด้วยธรรมของผู้เข้าถึงและไม่เข้าถึงกุศล
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 319
นำการสนทนาโดย ..
ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 319
จตุตถปัณณาสก์
สัทธัมมวรรคที่ ๑
๑. ปฐมสัทธัมมนิยามสูตร
ว่าด้วยธรรมผู้เข้าถึงกุศลและไม่เข้าถึงกุศล
[๑๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมพูดมาก ๑ พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูด แล้วมาก ๑ พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑ เป็นผู้มีจิตไม่ แน่วแน่มนสิการโดยอุบายไม่แยบคาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล แม้ฟังธรรมอยู่ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟัง สัทธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่พูดมาก ๑ ไม่พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูด แล้วมาก ๑ ไม่พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้ไม่มีจิตฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑ เป็น ผู้มีจิตแน่วแน่มนสิการโดยอุบายแยบคาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ก็เป็นผู้ควรหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม
จบ ปฐมสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๑
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 320
จตุตถปัณณาสก์
สัทธัมมวรรควรรณนาที่ ๑
อรรถกถาปฐมสัทธัมมนิยามสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๑ แห่งปัณณาสก์ที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อภพฺโพ นิยาม โอกฺกมิต กุสเลสุ ธมฺเมสุ สมฺมตฺต ความว่า ภิกษุไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่มรรคนิยามอันถูกต้อง ในกุศลธรรมทั้งหลาย
ในบทว่า กถ ปริโภติ เป็นต้น เมื่อกล่าวว่า เรื่องนี้ชื่อเรื่องอะไรดังนี้ ชื่อว่า ดูหมิ่นเรื่องที่แสดง เมื่อกล่าวว่า ผู้นั้นพูดเรื่องอะไร ผู้นี้จะรู้อะไร ดังนี้ ชื่อว่า ดูหมิ่นผู้แสดง เมื่อกล่าวว่า เราจะรู้กำลังที่จะฟังเรื่องนี้ของเราได้ แต่ไหน ดังนี้ ชื่อว่า ดูหมิ่นตน พึงทราบธรรมฝ่ายขาวโดยตรงกันข้าม
จบ อรรถกถาปฐมสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๑
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 321
๒. ทุติยสัมธัมมนิยามสูตร
ว่าด้วยธรรมของผู้เข้าถึงและไม่เข้าถึงกุศล
[๑๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมพูดมาก ๑ พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้ว มาก ๑ พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า ๑ เป็นผู้มีความถือตัวว่า เข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัท- ธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่พูดมาก ๑ ไม่พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้ว มาก ๑ ไม่พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เง่า ๑ ไม่เป็นผู้มีความถือ ตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย ธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม
จบทุติยสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๒
อรรถกถาทุติยสัทธัมมนิยามสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนญฺาเต อญฺาตมานี ได้แก่ เป็นผู้ไว้ตัวว่า เรารู้แล้วในข้อที่ยังไม่รู้
จบ อรรถกถาทุติยสัทธัมมนิยมสูตรที่ ๒
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 322
๓. ตติยสัทธัมมนิยามสูตร
ว่าด้วยธรรมของผู้เข้าถึงและไม่เข้าถึงกุศล
[๑๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม ๑ เป็นผู้ อันความลบหลู่ครอบงำ มีจิตแข่งดีฟังธรรม ๑ เป็นผู้แสวงโทษ มีจิตกระทบ ในผู้แสดงธรรม มีจิตกระด้าง ๑ เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า ๑ เป็นผู้มีความ ถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย ธรรม ๕ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่เป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม ๑ เป็นผู้อัน ความลบหลู่ไม่ครอบงำ ไม่มีจิตแข่งดีฟังธรรม ๑ เป็นผู้ไม่แสวงโทษ ไม่มี จิตกระทบในผู้แสดงธรรม ไม่มีจิตกระด้าง ๑ เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เง่า ๑ ไม่เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อ หยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม
จบตติยสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๓
อรรถกถาตติยสัทธัมมนิยามสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในตติยสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มกฺขี ธมฺม สุณาติ ได้แก่ เป็นผู้มักลบหลู่ฟังธรรมด้วยจิต ลบหลู่คุณท่าน
บทว่า สอุปารมฺภจิตฺโต คือ มีจิตยกขึ้นเพื่อข่ม
บทว่า รนฺธคเวสี คือ หาช่องจับผิด
จบ อรรถกถาตติยสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๓
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาครับ